รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความระบุึงผลต่อสุขภาพระยะยาวจากมลภาวะฝุ่น PM2.5 ว่ามีอะไรบ้าง ประกอบด้วย
โรคสมองเสื่อม
- ปริมาณความเข้มข้นของ PM2.5 โดยเฉลี่ยต่อปี ที่เพิ่มขึ้น"ทุกๆ 2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร" จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากขึ้น 4%
โรคหัวใจและหลอดเลือด
- การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น"ทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร" จะทำให้มีอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเพิ่มขึ้น 8% และมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 23% นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหัวใจและหลอดเลือด 14%
โรคหลอดเลือดสมอง
- การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น"ทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร" จะทำให้มีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันเพิ่มขึ้น 13% และความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 24%
มะเร็งปอด
- การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น"ทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร" จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 16%
ยังไม่นับสัจธรรมเรื่องการทำให้เกิดปัญหาระคายเคืองระบบทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการกำเริบของโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น หอบหืด และหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
หมอธีระ ยังมีข้อแนะนำสำหรับกรณีของประเทศไทยด้วยว่า นอกเหนือไปจากการที่รัฐบาลต้องจัดการแหล่งต้นตอของฝุ่น PM2.5 ทั้งในประเทศและนอกประเทศแล้ว ยังควรดำเนินการเรื่องสำคัญต่อไปนี้ด้วย
- การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการสัมผัส PM2.5 ในแต่ละช่วงเวลาของปีที่เกิดวิกฤติ ทั้งที่บ้าน ที่เรียน ที่ทำงาน ที่ค้าขาย