“หมอธีระวัฒน์”เผยผลวิจัยพบดื่มแอลกอฮอล์ลดความเสี่ยงสมองเสื่อม

19 มี.ค. 2566 | 16:26 น.
อัปเดตล่าสุด :19 มี.ค. 2566 | 16:26 น.
973

“หมอธีระวัฒน์" เผยผลศึกษาการดื่มแอลกอฮอล์ในคนเกาหลี พบช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อม ขณะที่การลดระดับจากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลางทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อม

ดื่มแอลกอฮอล์ใช่ว่าจะมีแต่โทษ หรือถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี

แต่การดื่มแอลกอฮอล์แบบถูกวิธี ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุก๊ส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)ระบุว่า รายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA network open) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ได้
สรุปผลการศึกษาการดื่มแอลกอฮอล์ในคนเกาหลี ทั้งกลุ่มคนที่ดื่ม และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต่างๆ พบว่า กลุ่มที่คงระดับของการดื่มอยู่บ้าง ถึงดื่มปานกลาง ช่วยลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมลง

ขณะที่การลดปริมาณจากดื่มแอลกอฮอล์หนักเป็นดื่มปานกลางจะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมเช่นกัน

ขณะที่กลุ่มไม่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นเริ่มดื่มบ้างในปริมาณน้อยจะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมด้วย

ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นการติดตามศึกษาในคนเกาหลีเป็นจำนวน 4 ล้านคน (3,933,382คน) โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2009 และในจำนวนนี้ตั้งแต่เริ่มต้น 54.8% ไม่ดื่มเลย 26.7% ดื่มบ้าง 11.0% เป็นพวกดื่มปานกลางและ 7.5% เป็นดื่มหนัก

โดยที่การจัดระดับของการดื่มบ้าง ปานกลาง และหนักนั้นดูจากปริมาณแอลกอฮอล์มาตรฐาน ดังนี้ 

  • หนึ่งดื่ม =14 กรัมของแอลกอฮอล์
  • ดื่มบ้าง หรือ mild drinker จะอยู่ที่น้อยกว่า 15 กรัมต่อวัน หรือประมาณ = หนึ่งดื่ม
  • ดื่มปานกลางจะอยู่ที่ 15 ถึง 29.9 กรัมต่อวัน หรือประมาณเท่ากับหนึ่งถึงสองดื่ม
  • ดื่มหนักจะอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กรัมต่อวัน นั่นก็คือมากกว่าหรือเท่ากับสามดื่ม

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างช่วงปี 2009 ถึง 2011 กลุ่มดื่มบ้าง 24.2% กลุ่มดื่มปานกลาง 8.4% และกลุ่มดื่มหนัก 7.6% เลิกดื่มไปหมด 

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นปรากฏว่า 13.9% ของกลุ่มไม่ดื่มเลย 16.1% ของกลุ่มที่ดื่มบ้าง

และ17.4% ของกลุ่มที่ดื่มปานกลางกลบั เพิ่มระดบั ปริมาณของการดื่มข้ึน

ในช่วงเวลาของการติดตามเฉลี่ย 6.3 ปีนั้น พบว่า มี 2.5% ที่เป็นสมองเสื่อม (100,282คน) โดยสามารถระบุได้ว่า 2% (79,982คน) เป็นโรคอัลไซเมอร์และ0.3% (11,085คน) เป็นโรคสมองเสื่อม ที่เกิดขึ้นจากเส้นเลือดฝอยตันพรุนในเนื้อสมอง (vascular dementia)

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่ไม่คาดคิดมาก่อนในการศึกษาคือเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยตลอดระยะเวลาที่เริ่มการศึกษากลับ พบว่า กลุ่มที่ดื่มบ้างและดื่มปานกลางกลับมีความเสี่ยงของสมองเสื่อมลดลง 21% (aHR, 0.79;95% CI, 0.77-0.81) และ 17% (aHR, 0.83; 95% CI, 0.79-0.88) ตามลำดับ

แต่ในกลุ่มที่ดื่มหนักนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 8% (aHR, 1.08; 95% CI, 1.03–1.12)

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับความเสี่ยงของสมองเสื่อมในลักษณะนี้เป็นแบบเดียวกัน ทั้งโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากเส้นเลือดอุดตัน 

การลดระดับปริมาณของ "แอลกอฮอล์" จากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลางทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมได้ทั้งสองแบบ เช่นเดียวกันเมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นจากระดบั ปานกลางไปเป็นหนักก็จะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทั้งสองแบบ
 

แต่ข้อมูลที่ดูประหลาดแต่เป็นไปแล้วนั้นก็คือในกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยและเริ่มต้นดื่มบ้างในระยะต่อมา พบว่า ความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมทั้งหมดลดลง 7% (aHR, 0.93; 95% CI, 0.90-0.96) และลดลง 8% ของสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (aHR, 0.92; 95% CI, 0.89-0.95) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ดื่มบ้างอยู่แล้วตั้งแต่ต้น

หมายความว่า เมื่อเริ่มดื่มบ้างแล้วจากไม่เคยดื่มเลยกลับทำให้ความเสี่ยงของสมองเสื่อมนั้นลดลง ซึ่งข้อมูลจากไม่ดื่มเลยเป็นดื่มบ้างกลับได้ประโยชน์ไม่เคยมีรายงานการศึกษาที่ใดมาก่อน 

และหัวหน้าคณะวิจัยได้กล่าวด้วยว่า ผลการศึกษาน้ีไม่ได้เป็นการชักชวนให้คนที่ไม่ดื่มเลยเริ่มต้นดื่ม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์มีความเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานี้หรือการศึกษาก่อนหน้า เมื่อเริ่มต้นดื่มไปแล้วและไม่สามารถหยุดยั้งตนเองกลายเป็นติดแอลกอฮอล์ จนใช้ปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมขึ้นเป็นสามเท่า

ในทางกลับกันผู้ที่ดื่มบ้างในปริมาณน้อยอยู่แล้วสามารถคงปริมาณในระดับนั้นได้โดยอาจไม่ต้องกังวล และอาจมีความดีใจแฝงอยู่นิดๆว่ายังคงมีสมองใสต่อไปได้

ท้ายสุด คณะผู้ศึกษาได้แจ้งข้อจำกัดของการศึกษานี้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แต่ละคนรายงานนั้น อาจเป็นไปได้ว่าน้อยกว่าสัดส่วนที่ดื่มจริงและขณะเดียวกันชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้มีการแยกแยะรายละเอียดในการศึกษานี้ว่า เป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเป็นเครื่องดื่มประเภทอื่น

อีกประเด็นหนึ่งก็คือผู้อยู่ในการศึกษานี้เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

หมอธีระวัฒน์ ระบุด้วยว่า ดังนั้นอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพค่อนข้างดีอยู่แล้วและมีการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีกว่าประชากรทั่วไปในเกาหลี

อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการศึกษานี้ไม่ได้มีการพิจารณาถึง ยีนที่ส่งเสริมที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ และประการสุดท้ายก็คือข้อมูลเหล่านี้จำกัดอยู่ที่คนเกาหลี ดังนั้น อาจจะพูดไม่ได้เต็มที่ว่า สามารถนำไปประยุกตกับคนเชื้อชาติอื่นได้หรือไม่ โดยที่อาจจะมีพันธุกรรมในด้านการขจัดแอลกอฮอล์ไม่เหมือนกัน (alcohol metabolism)

“ง่ายสุดที่เราทำได้คือไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องดื่ม หรือถ้าดื่มก็เป็นการดื่มเพื่อสุขภาพในปริมาณน้อย” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ให้ความเห็น