ย้อนเวลากลับไปในวันนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว คือ ในวันที่ 31 มกราคม 2563 ประเทศไทยเกิดความตื่นตระหนกครั้งใหญ่หลังกระทรวงสาธารณสุข รายงานยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" ซึ่งในช่วงเวลานั้น ยังเรียกกันว่าไวรัสโคโรนา หรือไวรัสอู่ฮั่น ที่กำลังระบาดกระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ผู้ป่วยรายแรกในประวัติศาสตร์ของไทยรายนี้ เป็นคนขับแท็กซี่รับจ้าง อายุประมาณ 50 ปี ซึ่งไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ แต่เชื่อว่าน่าจะสัมผัสเชื้อไวรัสมาจากนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาใช้บริการ
นับเป็นการติดเชื้อเป็นครั้งแรกในประเทศ หลังจากพบผู้ป่วยรายแรกของไทยเป็นหญิงชาวจีนที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ของประเทศจีน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563
จุดเริ่มต้นเหตุการณ์โควิด-19
ตามรายงานของคณะสอบสวนโรคขององค์การอนามัยโลก (WHO) อาการเจ็บป่วยที่ถือว่าเป็นโควิด-19 รายแรก คือ พนักงานสำนักงานคนหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น จังหวัดหูเป่ย ประเทศจีน ผู้ป่วยไม่มี ประวัติการเดินทาง เริ่มมีอาการเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2562 เป็นอาการปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ
ต่อมาได้แพร่ระบาด ไปยังเมืองสำคัญของประเทศจีน เช่น กรุงปักกิ่ง และ เซี่ยงไฮ้ และมีรายงานพบผู้ติดเชื้อในต่างประเทศในเดือนมกราคม 2563 จนต้องประกาศปิดเมืองอู่ฮั่น เที่ยวบินและการเดินทางหลายเส้นทางถูกยกเลิก เนื่องจากเมืองอู่ฮั่นเป็นศูนย์กลางการเดินทางทางอากาศ ระหว่างประเทศจำนวนมาก การแพร่เชื้อจึงเกิดขึ้นทั่วโลก อย่างรวดเร็ว
ทั่วโลกตื่นตระหนกยกเลิกเที่ยวบิน
หลังพบการระบาดกระจายไปทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ทางการจีนจะพยายามปิดเมืองอู่ฮั่น และเนรมิตโรงพยาบาลรักษาโรคขนาดใหญ่ขึ้นมาได้เพียงแค่ไม่กี่วัน แต่คนทั้งโลกต่างตื่นตระหนก หลังพบรายงานผู้เสียชีวิตนอกประเทศจีนรายแรก ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และเริ่มมีการตรวจสอบและกักตัวผู้เดินทางทางอากาศทั่วโลก
จนในที่สุด WHO ก็ได้ประกาศชื่อไวรัสร้ายนี้ออกมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าโรคโควิด-19 และถัดมาจากนั้นไม่นาน คือในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ประเทศไทยก็พบผู้เสียชีวิตรายแรก เป็นพนักงานขายของที่ระลึก เชื่อว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อมาจากนักท่องเที่ยวจากเมืองอู่ฮั่น และในเดือนถัดมา WHO ก็ได้ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาด (Pandemic)
ส่วนประเทศไทยเองนั้น หลังจากพบการระบาดคลัสเตอร์ใหญ่สนามมวยลุมพินีในเดือนมีนาคม รัฐบาลจึงมีคำสั่งปิดสถานที่มีคนมารวมตัวกันจำนวนมากทั้ง สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ต่อมามีคำสั่งให้ปิดสถาบันการศึกษา สถาบันกวดวิชา ร้านนวด ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
วัคซีนช่วยทำให้ฟื้นจากโควิด
เมื่อโลกทั้งโลกตกอยู่ในภาวะวิกฤตผู้คนติดเชื้อเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก แนวทางที่หลายประเทศร่วมมือกันทำในตอนนั้น คือการพัฒนาวัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรคออกมา
โดยมีรายงานว่า มีการคิดค้นวัคซีนและนำมาทดลองใช้กับคนครั้งแรกในเดือนเมษายน 2563 ก่อนจะมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นมาหลายรูปแบบ ทั้ง การใช้เชื้อเป็น การใช้เชื้อตาย การใช้ไวรัสเป็นพาหะ และการใช้สารพันธุกรรม จนในที่สุดสถานการณ์ก็เริ่มค่อย ๆ คลี่คลายลง แม้ว่าปัจจุบันการระบาดจะยังไม่สิ้นสุดก็ตาม
สถานการณ์การระบาดล่าสุด
ทั่วโลกยังพบรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ทุกวัน เพียงแต่ความรุนแรงของโรคเริ่มลดลงจนทำให้รัฐบาลลดระดับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคประจำถิ่น ขณะที่การใช้ชีวิตของคนก็เริ่มกลับเข้ามาใกล้เคียงกับวิถีปกติก่อนเกิดการระบาด ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 ของประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ 4 (22-28 มกราคม 2566) พบว่า
ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าว มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่ผู้เสียชีวิตทั้งหมดยังเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับเพียง 1 เข็ม ส่วนการเฝ้าระวังโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในสถานพยาบาลและสถานที่เสี่ยง
รวมทั้งเตรียมพร้อมรับผู้เดินทางจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น โดยประสานภาคการท่องเที่ยวให้มีการตรวจคัดกรองด้วย ATK ในกลุ่มผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเป็นประจำทุกสัปดาห์ และแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กรณีพบการระบาดในลักษณะคลัสเตอร์
ยอดสะสมโควิด-19 ของไทย
ยอดสะสมของโรคโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มการระบาดจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มกราคม 2566) มีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 4,726,984 คน เสียชีวิตสะสม 33,865 คน ได้รับวัคซีนสะสม 144,666,026 โดส แบ่งเป็น