จีนกำลังจะเปิดประเทศอย่างเป็นทางการวันที่ 8 ม.ค. 66 ทำให้หลายประเทศเริ่มวิตกกังวลว่าเชื้อโควิด19 จากนักท่องเที่ยวจีนจะเข้าไปแพร่ระบาด
ประเทศไทยเองถือเป้นหนึ่งในหมุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมเดินทางมา และล่าสุดยังไม่ได้มีการยกระดับมาตรการ
ล่าสุดน.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ล่าสุด !! ไวรัสโควิดในจีนไม่มีสายพันธุ์ใหม่ ยังคงเป็นไวรัสตัวเดิมที่ระบาดอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก
หลังจากที่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการจากประเทศจีนว่า นับตั้งแต่ 8 มกราคม 2566 จะเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆในการควบคุมโควิดลงอย่างจริงจัง
ในบรรดามาตรการทั้งหลาย หนึ่งในนั้นคือ การผ่อนมาตรการเรื่องการกักตัวของผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศ หรือเดินทางออกจากประเทศจีน
แม้มาตรการดังกล่าวจะไม่ใช่การยกเลิกการควบคุมโควิด 100% หรือเป็นการเปิดประเทศจีนแบบเต็มตัว
แต่เพียงแค่การผ่อนคลายมาตรการลงบางส่วนดังกล่าว ก็จะมีผลกับการเคลื่อนย้ายผู้คนนับสิบนับร้อยล้านคนทันที
เหตุเพราะจีนมีพลเมืองมากถึง 1,400 ล้านคน ถ้ามีประชาชนจีนตัดสินใจเดินทางเพียง 10% ก็จะมีมากถึง 140 ล้านคน เทียบเท่ากับประชากรของไทยถึงสองเท่าตัวทันที
ทำให้นานาประเทศ ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์โควิดของจีนอย่างใกล้ชิด
บางประเทศก็ยกระดับความเข้มข้นของมาตรการต่างๆขึ้นทันที
บางประเทศก็เตรียมมาตรการไว้ก่อน แต่รอประเมินและดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ปัจจัยที่จะทำให้แต่ละประเทศตัดสินใจไปในทิศทางใดนั้น เกิดมาจากปัจจัยย่อยหลายประการได้แก่
ถ้าสายพันธุ์ในประเทศของตนเองมีความรุนแรงมากกว่าในประเทศจีนอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกังวลมากนัก
เมื่อกล่าวถึงประเทศไทยแล้ว จะพบว่าปัจจัยในข้อ 1-2 มีแรงกดดันสูงต่อประเทศ
ส่วนปัจจัยในข้อ 3-4 ถือว่าของเราค่อนข้างดี ก็จะเหลือปัจจัยในข้อ 5 คือชนิดของสายพันธุ์ไวรัสว่า ของไทยเป็นอย่างไร และของจีนเป็นอย่างไร
ข้อมูลล่าสุดของไทยเรา ขณะนี้สายพันธุ์ย่อยหลักคือ BA.2.75 ในขณะที่ของประเทศจีนข้อมูลจากสองแหล่งมีดังนี้
นอกจากนั้น ข้อมูลล่าสุดของ GISAID ที่ทางการจีนได้เร่งทำการถอดรหัสพันธุกรรมเกือบ 1000 ตัวอย่างในเวลาเพียง 5 วัน ซึ่งประเทศอื่นๆมักจะทำในระดับหลักร้อยตัวอย่าง
พบว่าทั้งหมดเป็นสายพันธุ์หลัก
โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.5 , BF.7
ในขณะที่ประเทศต่างๆทั่วโลก ที่ได้ส่งข้อมูลเข้ามามากกว่า 14.4 ล้านตัวอย่าง
ก็เคยเป็น BA.5 และ BF.7 แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็น BA.2.75 BQ.1.1 และ XBB.1 ซึ่งมีความสามารถในการแพร่ระบาดและดื้อต่อวัคซีนมากกว่า BA.5 และ BF.7
ทางการประเทศจีนเองก็เร่งตรวจสายพันธุ์ไวรัสเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้ตรวจเพียง 25 ตัวอย่างต่อเดือน ในปัจจุบันนี้ตรวจถึง 1000 ตัวอย่างต่อ 5 วัน หรือ 6000 ตัวอย่างต่อเดือน
ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการควบคุมสถานการณ์ของประเทศจีนเอง และข้อมูลดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆ
โดยเฉพาะประเทศที่มีการไปมาหาสู่กัน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การศึกษา หรือการทำธุรกิจ
ทำให้ทราบว่าสายพันธุ์ของจีนเป็นสายพันธุ์ใด และสายพันธุ์ในประเทศตัวเองนั้นเป็นอย่างไร
องค์การอนามัยโลก ได้ขอให้ทางการจีนส่งข้อมูลให้รวดเร็วและมากขึ้น ทั้งรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่เกิดการติดเชื้อ จำนวนผู้ป่วยโควิดที่นอนโรงพยาบาล ผู้เสียชีวิต และจำนวนการฉีดวัคซีน
พอจะสรุปได้ว่า
สายพันธุ์หลักของไวรัสในประเทศไทย เป็น BA.2.75 ซึ่งมีความสามารถในการแพร่เชื้อและการดื้อต่อวัคซีนสูงกว่า BA.5 ซึ่งพบเป็นสายพันธุ์หลักในจีนอยู่ 63%
แล้วก็เก่งกว่า BF.7 ซึ่งก็เป็นสายพันธุ์หลักในจีนอีกเช่นกันอยู่ 9%
ดังนั้นไวรัส ณ ปัจจุบันในประเทศจีน ไม่ได้มีความรุนแรงไปกว่าไวรัสที่แพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทย และที่แพร่ระบาดทั่วโลก
การที่ประเทศ ไทยและอีกหลายประเทศ ตัดสินใจคงมาตรการเดิมไว้ก่อน ก็ด้วยเหตุผลหลายประการดังกล่าวข้างต้น
และประการสำคัญที่สุดคือ ไวรัสในจีนก็เป็นไวรัสที่เคยระบาดในประเทศต่างๆเหล่านี้มาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีไวรัสชนิดใหม่ใหม่เกิดขึ้นในจีน
แต่การเฝ้าติดตามว่า ไวรัสในจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่เราจะสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการของเราได้ในทันที