ยาต้านโควิดในปัจจุบันยังไม่มีชนิดใดที่ใช้รักษาได้โดยตรง แม้ว่าจะมีหลายบริษัทที่พยายามผลิตออกมา
แต่ยาที่ผลิตออกมาก็เป็นเพียงแค่บรรเทาอาการเท่านั้น
ล่าสุดศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า
โควิด19 Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) ผลการรักษา
โรคโควิด19 ระยะเวลาที่ผ่านมา มีความรุนแรงของโรคลดน้อยลง
การศึกษาผลของยาต้านไวรัส molnupiravir ในช่วงระยะเวลาสายพันธุ์เดลตา
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ลดการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิตลง รวมทั้งปริมาณไวรัสก็ลดลงด้วย
แต่เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง อัตราตายที่น้อยลง ความรุนแรงน้อยลง
การศึกษา molnupiravir ที่ใช้ข้อมูลจำนวนมาก จึงไม่เห็นความแตกต่าง
ในการลดอัตราการเสียชีวิตหรือความรุนแรงของโรคอย่างชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่โรคไม่รุนแรง
แต่ผลที่เห็นได้ชัดคือ อาการต่างๆดีขึ้นเร็วกว่า และการกำจัดไวรัสสามารถกำจัดได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เริ่มให้การรักษาระยะแรก
เมื่อพิจารณาลงไปอย่างลึกแล้ว molnupiravir ก็ยังมีประโยชน์
โดยเฉพาะถ้าให้เร็ว คงไม่ต่างกับ การให้ยาต้านไข้หวัดใหญ่ oseltamivir ในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ในภาพรวมทั่วโลก โรคโควิด19 มีความรุนแรงน้อยลง
และการแจ้งยอดเข้าสู่องค์การอนามัยโลกในทุกประเทศแจ้งตัวเลขที่ต่ำกว่าความเป็นจริงแบบมากๆ
อัตราตายในภาพรวมก็ลดลงอย่างมาก และในที่สุดเชื่อว่าจะไม่มีการแจ้งยอดเข้าสู่องค์การอนามัยโลก
เพราะส่วนใหญ่รักษากันเอง ยกเว้นผู้ป่วยหนัก