โควิด19 ยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และยังมีการแพร่ระบาดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
อาวุธสำคัญที่ใช้ในการป้องกันก็คือ วัคซีนต้านโควิด ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วโลกได้รับการฉีดไแล้วเป็นจำนวน
อย่างไรก็ดี คำถามที่นำคัญก็คือเมื่อฉีดแล้วสามารถป้องกันได้จริงหรือไม่ มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
ล่าสุดดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า
ไวรัสเปลี่ยนตัวเองจนแอนติบอดีจับแทบไม่ได้แล้ว แต่ทำไมฉีดวัคซีนแล้วยังป้องกันอาการหนักจากโควิดได้ดี
ถ้าพิจารณาแต่เฉพาะแอนติบอดีที่วัคซีนกระตุ้นขึ้นมา (ไม่รวมถึง T cell ที่อาจมีบทบาทร่วมด้วย)
เราสามารถแบ่งแอนติบอดีได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตัวที่จับกับโปรตีนสไปค์ได้และยับยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ได้ด้วย หรือ Neutralizing antibody (NAb)
แอนติบอดีเหล่านี้มีบทบาทสำคัญมากๆในการป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย เพราะหน้าที่คือดักจับไวรัสและป้องกันไม่ให้ติดเซลล์ได้ NAb
นี่แหละที่คนส่วนใหญ่สนใจ และใช้เป็นตัววัดการหนีภูมิของไวรัสแต่ละสายพันธุ์
ถ้า NAb จับไวรัสได้น้อยลง แน่นอนโอกาสที่คนจะติดเชื้อก็มีมากขึ้นไปด้วย
แอนติบอดีประเภทที่ 2 คือ แอนติบอดีที่จับโปรตีนสไปค์เหมือนกันแต่ไปจับตรงตำแหน่งอื่นๆที่ไม่ได้มีผลต่อการยับยั้งการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ของไวรัส
เมื่อยับยั้งไม่ได้ หลายคนก็มองว่าอาจจะไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรต่อการป้องกันโควิด
วันนี้มีบทความตีพิมพ์ในวารสาร nature reviews immunology ระบุว่า แอนติบอดีประเภทที่ 2 นี้แหล่ะที่เป็นตัวช่วยพยุงประสิทธิภาพของวัคซีนให้ยังคงสามารถป้องกันอาการป่วยหนัก หรือการเสียชีวิตในผู้ป่วยโควิด ในภาพแอนติบอดีกลุ่มนี้สีน้ำเงิน
เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจะมีการแสดงออกของโปรตีนสไปค์บนผิวเซลล์ แอนติบอดีเหล่านี้จะสามารถจับโปรตีนสไปค์บนเซลล์ติดเชื้อเหล่านั้น
และใช้หางของแอนติบอดี (เรียกว่า Fc) เป็นตัวส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราเข้าทำลายเซลล์ที่แสดงออกสไปค์นั้นได้หลายช่องทางซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่สามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของไวรัสไม่ให้เพิ่มได้ไว (เซลล์ที่เป็นโรงงานสร้างไวรัสถูกทำลายไปก่อนที่ปล่อยลูกหลานไปทำลายเซลล์ข้างเคียง)
ดังนั้น หลักการที่เชื่อว่าวัคซีนยังสามารถป้องกันอาการหนักได้อยู่คือ การทำแอนติบอดีประเภทนี้ให้สูงในระดับหนึ่ง
เพราะถ้าตกลงไปมากเกินไป กลไกส่วนนี้ก็อาจจะช่วยลดจำยนวนไวรัสในร่างกายได้ทัน ส่งผลให้ไวรัสเพิ่มจำนวนไปสร้างความเสียหายให้อวัยวะสำคัญได้
แอนติบอดีประเภทนี้ถ้ากระตุ้นด้วยวัคซีนแล้ว โดยเฉพาะหลายเข็มแล้ว ตกไม่ไวเท่า NAb
ที่ได้ยินว่า ภูมิตกไวหลังฉีดวัคซีนอันนั้นคือ NAb ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนทำให้ NAb อยู่สูงป้องกันการติดเชื้อได้