ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โพสต์ข้อความว่า
โรคโควิด 19 สถานการณ์ และกาลเวลาเปลี่ยน แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK ก็ควรมีการเปลี่ยนแปลง
เราต้องยอมรับว่า covid ไม่ได้หายจากเราไปเราจะต้องอยู่กับ covid-19
ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคลดลง ปัญหาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง โรคเรื้อรัง
แนวทางการปฏิบัติการตรวจ ATK จึงมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ในคนปกติทั่วไป ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่นนักเรียนจะไปโรงเรียน การเข้าร่วมประชุม
การตรวจ ATK ควรทำในผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือไปสัมผัสกับผู้ป่วย คือสัมผัสโรคมานั่นเอง
การปฏิบัติของโรงเรียนที่ให้นักเรียนตรวจทุกสัปดาห์ จึงไม่มีความจำเป็น
จะตรวจเฝ้าระวังเฉพาะผู้ที่มีอาการของโรค หรือผู้สัมผัสโรค หรือคิดว่า ตัวเองเสี่ยงในการเกิดโรค
และทุกคนจะต้องรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์
ผู้สัมผัสโรคจะตรวจเมื่อมีอาการ หรือตรวจในวันที่ 3 และ 5-7 ของสัมผัสโรค ถ้าให้ผลลบ ก็น่าจะปลอดภัยจากการติดโรค
ในผู้ที่ตรวจ ATK ได้ 2 ขีด ให้เข้ารับการรักษา ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจอีก ให้กักตัวเอง 5 วัน และเข้มงวดป้องกันเมื่อออกสู่สังคมอีก 5 วัน
ไม่ใช่ว่าตรวจ ATK แล้วพบว่าขีดเดียวแล้วจะทำอะไรก็ได้ ระยะลดการแพร่เชื้อ ควรจะเกิน 10 วันไปแล้ว
เมื่อตรวจ ATK เป็นบวกหรือ 2 ขีดไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำ RT PCR อีก
จะทำ RT PCR ในราย ที่สงสัยสัมผัสโรค หรือผู้ที่มีอาการต้องสงสัย และ ATK ให้ผลลบ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
การปฏิบัติตนต่างๆจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ทั้งนี้คำนึงถึงผลประโยชน์
และประสิทธิภาพสูงสุด ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในภาพรวม ตามสถานการณ์