เตือน! ติดเชื้อโควิด19 เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าฉีดวัคซีน 6 เท่า

06 ต.ค. 2565 | 09:59 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ต.ค. 2565 | 16:59 น.

เตือน! ติดเชื้อโควิด19 เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าฉีดวัคซีน 6 เท่า หมอธีระเผยข้อมูลวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Annals of Internal Medicine

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความ

 

อัพเดตความรู้โรคโควิด-19

 

อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ/เยื่อบุหัวใจอักเสบจากวัคซีนประเภท mRNA

 

งานวิจัยล่าสุดเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Annals of Internal Medicine วันนี้ 4 ตุลาคม 2565

 

ได้ทำการศึกษาอัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ/เยื่อบุหัวใจอักเสบ 
 

หลังฉีดวัคซีนประเภท mRNA ทั้งสองชนิดในประชากรอายุ 5-39 ปี พบว่า 

 

  • มีอัตราการเกิดภาวะดังกล่าวหลังฉีดเข็มแรก 1:200,000 

 

  • หลังเข็มที่สอง 1:30,000

 

  • หลังเข็มที่สาม (เข็มกระตุ้น) 1:50,000

 

ในขณะที่หากติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ/เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 

 

ติดเชื้อโควิด19เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าฉีดวัคซีน 6 เท่า

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้ชายที่ติดเชื้อ จะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวมากกว่าการฉีดวัคซีนถึง 6 เท่า

 

ดังนั้นการฉีดวัคซีนนั้นจึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

และน่าจะทำให้หลายท่านคลายกังวลไปได้ไม่มากก็น้อย

 

ย้ำอีกครั้งว่า ปัญหาระยะยาวอย่าง Long COVID นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ยิ่งมีจำนวนติดเชื้อมาก โอกาสเจอเคส Long COVID ยิ่งสูงเป็นเงาตามตัว

 

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด

 

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงาน 

 

และภาระค่าใช้จ่ายต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว