พรก.ฉุกเฉินล่าสุดยกเลิกหรือไม่ ศบค.ถูกยุบไหม เช็คเลยที่นี่

21 ส.ค. 2565 | 05:11 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ส.ค. 2565 | 05:21 น.
1.0 k

พรก.ฉุกเฉินล่าสุดยกเลิกหรือไม่ ศบค.ถูกยุบไหม เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยระบุโควิดยังเป็นโรคติดต่ออันตราย

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

ชัดเจนแล้วสำหรับโควิด !! ขณะนี้ทุกอย่างเหมือนเดิม ยังไม่มีการยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน รวมทั้งยังไม่ยกเลิก ศบค. และยังไม่ยกเลิกคำว่าโรคติดต่ออันตราย

 

ตามที่มีกระแสข่าวจากหลายแหล่ง ตลอดเมื่อวานนี้ว่า ในการประชุมศบค.อาจจะมีการพิจารณายกเลิกพรก.ฉุกเฉิน รวมถึงยกเลิกศบค. ตลอดจนยกเลิกคำว่าโรคติดต่ออันตราย โดยให้มีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นั้น

 

จากการตรวจสอบแหล่งข่าวต่างๆ แล้วนำมาประมวลกับระเบียบและกฎหมายของทางราชการ ฉบับต่างๆที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้

 

  • การประชุมศบค.ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีมติใดใดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

 

  • การจะยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 30 กันยายน 2565  สามารถทำได้โดย คณะรัฐมนตรีมีมติไม่ต่ออายุดังกล่าว


 

  • การยกเลิก ศบค.ทำได้โดยนายกรัฐมนตรีออกคำสั่ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน

 

  • โรคติดต่ออันตรายเอง ขณะนี้ยังใช้ชื่อเดิมไปก่อนสำหรับ โควิด-19 ถ้าสถานการณ์ของโรคดีขึ้นกว่าปัจจุบัน จนเป็นที่น่าพอใจและมีความเหมาะสม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังได้ ไม่มีการพูดถึงเรื่องโรคประจำถิ่น เพราะไม่ได้อยู่ในกฎหมายพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558

 

พรก.ฉุกเฉินล่าสุดยกเลิกหรือไม่ ศบค.ถูกยุบไหม

 

  • ถ้ามีการยกเลิกเรื่องดังกล่าวในอนาคต การดูแลโควิด-19 จะกระทำภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 ซึ่งจะเป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพหลัก แล้วต้องไปขอความร่วมมือกับกระทรวงทบวงกรมอื่นต่อไป

 

  • ณ ปัจจุบันพรก.ฉุกเฉิน ทำให้ทุกกระทรวงต้องทำงานร่วมกันโดยอัตโนมัติ รวมทั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติด้วย

โดยสรุป

 

  • ขณะนี้ทุกอย่างเหมือนเดิม ทั้งพรก.ฉุกเฉิน ศบค. และโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย
  • ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็สามารถดำเนินการได้ตามเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว
  • 1 ตุลาคม 2565 เป็นเพียงการคาดการณ์คร่าวๆ ไม่ใช่กำหนดวันเวลาที่แน่นอนแต่อย่างใด

 

การติดตามข่าวสารในเมืองไทยต้องถือว่ามีความยุ่งยาก และต้องคอยตรวจสอบรายละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแม่นยำ