เปิดคำแนะนำ"ป้องกันโควิด-19" เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่

30 มิ.ย. 2565 | 03:00 น.

กรมควบคุมโรค เผยคำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic สงสัยว่าเป็น "โควิด-19" ทำอย่างไร?

เพจเฟซบุ๊กกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  โพสต์คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic พร้อมอินโฟกราฟิก ข้อมูลว่า

 

สงสัยว่าเป็น "โควิด-19" ทำอย่างไร?

งดเข้าใกล้กลุ่มเสี่ยง 608 
 

ไม่มีอาการ/มีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ มีเสมหะ

 

  • ไม่ต้องแยกกัก เลี่ยงเดินทาง หากจำเป็น สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา 

มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้, ไอ, น้ำมูก, เจ็บคอ, มีเสมหะ, ปวดศีรษะ, อ่อนเพลีย 

 

ต้องตรวจ ATK ทันที

 

หาก ATK ผลเป็นบวก

 

  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

 

  • แยกของใช้ส่วนตัว

 

  • งดทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น

 

  • ล้างมือบ่อยๆ

 

มีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก 

 

รีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที

 

โควิด-19 ระบาดในพื้นที่ทำอย่างไร

 

กลุ่มผู้ติดเชื้อ

  • ปฏิบัติตามข้อแนะนำเมื่อมีอาการป่วย

 

กลุ่มผู้สัมผัส

  • สังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 5 วัน เมื่อมีอาการ ตรวจ ATK ทันที

 

ประชาชนในพื้นที่ระบาด

  • ป้องกันตนเองด้วยมาตรการ Universal Prevention ฉีดวัคซีนให้ครบตามที่ สธ. กำหนด

 

สถานประกอบการ

  • พิจารณาทำมาตรการ Work From Home/มาตรการ COVID Free Setting

 

เปิดคำแนะนำ\"ป้องกันโควิด-19\" เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่

 

คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic 

 

1.คนที่ฉีดวัคซีนครบแล้ว

 

  • ล้างมือบ่อยๆ
  • เดินทางได้ปกติ
  • ทำกิจกรรมรวมกลุ่มได้
  • ติดตามคำแนะนำของ สธ. สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

2.กลุ่มเสี่ยง 608 / ผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ

 

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ / เจลแอลกอฮอล์
  • สวมหน้ากากอนามัย ขณะทำกิจกรรมรวมกลุ่ม 
  • ใช้ช้อนส่วนตัว เมื่อกินอาหารในที่ทำงาน / โรงเรียน
  • ฉีดวัคซีนเข็มหลัก / เข็มกระตุ้น ตามที่ สธ.กำหนเด
  • สวมหน้ากากเมื่อขึ้นรถสาธาณะ / เข้าไปสถานที่เสี่ยง  เดินทางได้ตามปกติ เว้นระยะห่างเมื่ออยู่ในสถานที่เสี่ยง

 

เปิดคำแนะนำ\"ป้องกันโควิด-19\" เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่

ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข