สิทธิ์ประกันสังคม 750 บาท มากกว่าบัตรทอง "ปลัดแรงงาน" แย้มเพิ่มสิทธิปี 68

21 ก.พ. 2568 | 16:25 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.พ. 2568 | 16:35 น.
646

"สิทธิประกันสังคม" ครอบคลุม 7 ด้าน ดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย ขณะที่ สส. ตั้งคำถามทำไมไม่เท่าบัตรทอง ปลัดแรงงานแจกแจงชัด พร้อมแย้มเพิ่มสิทธิปี 2568!

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกสังคมออนไลน์พอสมควร  เมื่อฝ่ายการเมือง “รักชนก ศรีนอก” สส.พรรคประชาชน ออกมาประโคมข่าว ตั้งข้อสังเกตถึงสิทธิรักษาพยาบาลของ “ประกันสังคม” ไม่เท่า “สิทธิบัตรทอง” พร้อมกับตั้งคำถามมากมาย อาทิ  ทำไมสิทธิประกันสังคมด้อยกว่าสิทธิบัตรทอง ,เสียเงินสมทบทุกเดือน แต่ได้สิทธิไม่เท่าบัตรทอง , ยกเลิกประกันสังคมหรือไม่ ฯลฯ 

 

“บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม)

 

คำถามค้างคาใจเหล่านี้ ถูก “บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม)  แจกแจงให้ผู้ประกันตนและสังคมให้เห็นภาพ ชี้ว่า การรักษาพยาบาลเป็นเพียงทางหนึ่งของสิทธิประโยชน์ประกันสังคม จากทั้งหมด 7 กรณีที่ผู้ประกันตนจะได้รับ  เรียกว่าได้ให้ความคุ้มครอง-ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ไปจนถึงเชิงตะกอน

  1. คลอดบุตร
  2. สงเคราะห์บุตร
  3. เจ็บป่วย
  4. พิการ
  5. ว่างงาน
  6. เกษียณ
  7. เสียชีวิต  

 

“บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม)

 

ปลัดกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับ ไม่ได้น้อยหน้าไปกว่า "สิทธิบัตรทอง” ตามที่ฝ่ายการเมืองออกมาประโคมข่าว ลดความน่าเชื่อถือระบบประกันสังคม เพราะสิทธิบัตรทอง จะดูเรื่องรักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว

แต่สิทธิประกันสังคมให้มากกว่านั้น อาทิ ค่าลาป่วย , ค่าคลอดบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน โดยที่ผู้ประกันตนสามารถเลือกใช้บริการได้จากทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการมักมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย 

 

จากคำสัมภาษณ์ของ “บุญสงค์” สะท้อนให้เห็นว่า “ระบบประกันสังคม” เป็นกลไกสำคัญในการสร้างหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตของแรงงาน ช่วยลดความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระจากเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในยุคที่เต็มไปด้วยความผันผวน ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคม  เช่น การเจ็บป่วย การว่างงาน การเกษียณอายุ ผ่านการเฉลี่ยสิทธิประโยชน์ต่างๆ

 

รวมถึงให้ความสำคัญกับการจ่ายเงินสะสมในบั้นปลายชีวิต นั่นคือ บำเหน็จ-บำนาญ ในยุคที่เข้าสู่สังคมสูงวัย และยังไม่มีเงินกองทุนไหนมาเยียวยา มีเพียง “ประกันสังคม” กองทุนเดียวที่สามารถดูแลผู้ประกันตนได้ในช่วงบั้นปลายของชีวิต 

 

ที่น่าสนใจ ปลัดกระทรวงแรงงาน ย้ำว่า  “ปี 2568  ประกันสังคม กำลังเตรียมการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนในหลายๆ ด้าน