น้ำมูกไหล-ไอ-จาม แบบใดเป็น "ไข้หวัดใหญ่" หรือ "ไข้หวัดธรรมดา" 

17 ก.พ. 2568 | 13:55 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.พ. 2568 | 13:55 น.

เช็กอาการสำคัญ  "น้ำมูกไหล-ไอ-จาม" แบบไหนเป็น "ไข้หวัดใหญ่" หรือเป็นแค่ "ไข้หวัดธรรมดา" พร้อมเปิดสาเหตุ การแพร่ระบาดและแนวทางป้องกันโรคด้วยตัวเอง 

จากสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 - ปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 1 แสนรายแล้ว มีผู้เสียชีวิตแล้ว 9 ราย น่าห่วงเมื่อเทียบกับข้อมูลเดิมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2568 มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพียง 7.8 พันราย ทำให้ในช่วง 15 วันที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึงกว่า  9 หมื่นราย มีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2567 ตัวเลขผู้ป่วยยังสูงกว่าค่ากลางย้อนหลัง 5 ปีอีกด้วย 

อย่างไรก็ดี เชื่อว่า หลายคนยังสับสนว่า อาการแบบไหน เป็น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และ ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold) พาไปทบทวน พร้อมเช็กอาการ ความแตกต่างและความรุนแรงของโรคทั้งสองโรคนี้กัน   

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza): 

  • เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่มีแนวทางการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้มีการระบาดของสายพันธุ์ที่เข้มข้นและทำให้เกิดระบาดลดลงในบางปี

ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold): 

  • มีหลายชนิดของไวรัสที่สามารถทำให้เกิดโรคไข้หวัดธรรมดาเช่น ไวรัสโคโรน่า ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) และ ไวรัสโนโร (Norovirus) หรือโรคหวัดลงกระเพาะ

เปรียบเทียบอาการที่สำคัญ

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza):

  • มีอาการทั่วไปเหมือนไข้หวัดธรรมดาแต่มักมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย หนาวสั่น และมีโอกาสที่จะเกิดอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพ เช่น ปอดอักเสบ หรือการติดเชื้อในกระแสเลือด

ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold):

  • มีอาการน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้ต่ำ น้ำมูก เจ็บคอ และอาจมีอาการไอ มักมีอาการที่เล็กน้อยและไม่รุนแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรง

การแพร่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza):

  • มีแนวโน้มที่จะระบาดมากขึ้นในฤดูหนาวและสามารถระบาดในระดับโลกได้

ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold):

  • มักมีการแพร่ระบาดตลอดทั้งปีและมีความเจ็บป่วยน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่

การป้องกัน

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza):

  • มีวัคซีนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคนี้ และเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค

ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold):

  • ไม่มีวัคซีนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับไข้หวัดธรรมดา การล้างมือบ่อย ๆ และการรักษาความสะอาดส่วนตัวเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกัน

การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่และการปฏิบัติตนที่ดีเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดส่วนตัวจะช่วยลดความเสี่ยงทั้งสองโรคนี้ได้ รวมถึงการรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง "ไข้หวัดใหญ่" และ "ไข้หวัดธรรมดา" จะช่วยให้เข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญของการป้องกันและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อลดโอกาสที่จะติดเชื้อได้มากยิ่งขึ้น

การรักษา

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza):

  • ต้องได้รับการรักษาที่รักษาอาการและลดความรุนแรงของโรค มียาเพื่อลดอาการไข่หวัดใหญ่โดยเฉพาะ หากได้รับการรักษาที่รวดเร็วอาการเจ็บป่วยจะลดลงอย่างลดเร็ว

ไข้หวัดธรรมดา (Common Cold):

  • ไม่ต้องรับการรักษาเฉพาะเจาะจง เน้นการพักผ่อน การดื่มน้ำมากๆและการใช้ยาลดอาการเจ็บคอหรือลดไข้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับไวรัสได้ดีขึ้น

ที่มา โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต