ติดโควิดกินยาอะไรบ้าง แนวทางการพิจารณาเป็นอย่างไร เช็คเลย

03 ส.ค. 2565 | 09:54 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ส.ค. 2565 | 16:54 น.
3.1 k

ติดโควิดกินยาอะไรบ้าง แนวทางการพิจารณาเป็นอย่างไร เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมออนุตตรแจกแจงแนวทางเวชปฏิบัติการรักษา COVID-19

ติดโควิดกินยาอะไรบ้าง เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่ปัจจุบันเริ่มมีประเด็นเรื่องของการกินยาจนหาย แต่ผลตรวจกลับมาติดเชื้ออีกในรอบ 10 วัน เช่น กรณีของ "โจ ไบเดน" ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

 

พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana)  โดยมีข้อความว่า

 

แนวทางเวชปฏิบัติการรักษา COVID-19 (โควิด-19) ที่ออกมาเมื่อ 11 ก.ค.65  มีข้อบ่งชื้ในการใช้ยาต้านไวรัสชัดเจน และมีลำดับการใช้ยาชัดเจน น่าจะบริหารจัดการให้ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ได้รับยาตามแนวทางเวชปฏิบัติที่เขียนไว้อย่างทั่วถึง 

 

โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่ 3 ที่แนวทางนี้บอกว่ามีปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อเดียวก็น่าจะได้รับยาต้านไวรัสแล้ว โดยเรียงลำดับให้ Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) เป็นอันดับแรก  ซึ่งจะช่วยลดการนอนโรงพยาบาลและอาการหนัก ถ้าได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็ว ช่วยลดปัญหาเรื่องเตียง COVID-19 ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ด้วย

แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 11 กรกฎาคม 2565

 

การรักษา COVID-19 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

 

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19) ไม่ให้ยาต้านไวรัส อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสาคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease) อาจพิจารณาให้ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์

 

ติดโควิดกินยาอะไรบ้าง แนวทางการพิจารณาเป็นอย่างไร

 

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen
   

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

  • อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
  • โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่กาเนิด
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  • ภาวะอ้วน (น้าหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.)         ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
  • ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบาบัดหรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent to prednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วัน ขึ้นไป)
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี ให้ยาตาม

 

*ลำดับการให้ยากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ ดังนี้

  • Molnupiravir
  • Remdesevir
  • Nirmaltrevir/ritonavir
  • Favipiravir

 

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤94% ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen แนะนำให้ remdesivir โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วัน