ผงะ! ปลูกฝียังไม่ปลอดภัยจาก "ฝีดาษลิง" เพราะอะไร อ่านเลย

02 ส.ค. 2565 | 04:11 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ส.ค. 2565 | 07:02 น.
1.4 k

ผงะ! ปลูกฝียังไม่ปลอดภัยจาก "ฝีดาษลิง" เพราะอะไร อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ดร.อนันต์แนะดูข้อมูล และใช้วิทยาศาสตร์ช่วยในการเฝ้าระวังความเสี่ยงดีกว่า

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า 

 

ผู้ป่วยฝีดาษลิงช่วงอายุ 41-60 ปี มีมากกว่า 35% ของผู้ป่วยทั้งหมดในข้อมูลชุดนี้ 

 

ถ้าคิดเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงพบว่ามากกว่า 45% เป็นคนกลุ่มอายุมากกว่า 41 ปี 

 

คำถามที่น่าสนใจคือ ถ้าคนที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนฝีดาษมาเมื่อสมัยที่มีการรณรงค์ให้ฉีดกันทุกคน 

 

ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนดังกล่าว ณ ตอนนี้ ผ่านไปกว่า 40 ปีแล้ว คงไม่สามารถป้องกันได้ 85% เหมือนที่ใช้อ้างอิงกัน
 

คนที่เชื่อว่า เด็กๆเคยปลูกฝีมาแล้วจะปลอดภัยจากการติดฝีดาษลิง 
ขอให้ดูข้อมูล และ ใช้วิทยาศาสตร์ช่วยในการเฝ้าระวังความเสี่ยงดีกว่า 
อย่าหลงและยึดติดกับตัวเลข 85% ที่พูดต่อๆกันมา 

 

"ฝีดาษลิง" วันนี้แตกต่างจากฝีดาษลิงเมื่อหลายสิบปีก่อนที่ทำการศึกษาแล้วได้ชุดตัวเลขนี้มา

 

"ฐานเศรษฐกิจ" สืบค้นข้อมูลพบว่า

 

ปลูกฝียังไม่ปลอดภัยจากฝีดาษลิง  เพราะอะไร

 

การปลูกฝี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vaccination คือ การฉีดวัคซีนอย่างหนึ่ง โดยจะนำเอาเชื้อไวรัสในหนองฝี เข้าไปอยู่ในชั้นผิวหนังบริเวณต้นแขนของผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรค เพื่อให้เชื้อเพิ่มจำนวนต่อไปและช่วยกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค

 

ซึ่งกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดตุ่มหนองเฉพาะที่ขึ้นมา และเมื่อภูมิคุ้มกันเอาชนะเชื้อไวรัสได้ ตุ่มหนองนั้นก็จะค่อย ๆ แห้งและตกสะเก็ดเป็นแผลเป็นบนร่างกายนั่นเอง

ทั้งนี้ ประเทศไทยเริ่มปลูกฝีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 เพื่อป้องกันโรคไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ ก่อนที่จะเลิกการปลูกฝีในเด็กแรกเกิดมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา เนื่องจากโรคฝีดาษจะถูกกวาดล้างไปแล้ว หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2523 ทาง WHO ได้ประกาศว่าสามารถระงับการระบาดของโรคฝีดาษได้แล้ว ทั่วโลกจึงยกเลิกการปลูกฝีตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา ทำให้เด็กส่วนใหญ่ที่เกิดหลังปี 2523 แทบไม่ได้ปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษอีก

 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เด็กแรกเกิดยังคงมีการปลูกฝี หรือการฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันวัณโรคที่บริเวณไหล่ซ้าย ซึ่งจะฉีดลงใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทิ้งรอยแผลเป็นไว้คล้าย ๆ กับการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ

 

ที่มา : สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย