18 กลโกง 'มิจฉาชีพ' หลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์

24 ก.ค. 2565 | 12:32 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ค. 2565 | 19:41 น.
5.7 k

ตำรวจ อัพเดท กลโกง คอลเซ็นเตอร์ - มิจฉาชีพ 18 รูปแบบ ที่มักใช้หลอกเหยื่อ โอนเงิน บนโลกออนไลน์ ทั้งหลอกขายสินค้า ,หลอกให้รัก ,เงินกู้ออนไลน์ ,ชวนไปทำงานต่างประเทศ ลงทุนและแชร์ลูกโซ่ ทราบแล้ว อย่าหลงเป็นเหยื่อเด็ดขาด!

24 กรกฎาคม 2565 - แม้ทุกวันนี้จะมีข่าวนำเสนอรายวัน ถึงกรณีเหยื่อในโลกออนไลน์ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือ มิจฉาชีพ ล่อลวงให้เสียทรัพย์ โอนเงินจนหมดตัว แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อย ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ตกเป็นเหยื่อที่ว่า เนื่องจากกลุ่มคนร้าย เปลี่ยนกลวิธี และ รูปแบบการหลอกลวงไปเรื่อย 

 

ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย เพจ PCT Police ได้อัพเดทข้อมูล ถึง 18 ข้อ กลโกง 'มิจฉาชีพ' ที่มักใช้ในการหลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์ เพื่อจะได้รับเท่าทัน และป้องกันตัวเองได้อย่างดี ดังนี้ 

18 กลโกงมิจฉาชีพ 

  • หลอกขายสินค้าออนไลน์ 

ไม่ได้รับสินค้า /ได้รับสินค้าไม่ตรงตามโฆษณา

  • หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ 

ชวนทำงานออนไลน์ที่ไม่มีอยู่จริง อ้างแพลตฟอร์มน่าเชื่อถือ เช่น Tiktok ,Youtube ,Lazada หลอกลวงให้ กดไลค์ กดแชร์ เพิ่มยอดวิว รับออเดอร์ ทำสต็อกสินค้า สุดท้ายหลอกเอาเงินที่อ้างว่าเป็นเงินประกันจากเหยื่อ

  • เงินกู้ออนไลน์ 

(เงินกู้ทิพย์) ไม่ได้จริง หลอกเอาข้อมูล ,เงินค้ำประกันค่าธรรมเนียม ,บัญชีธนาคารจากเหยื่อ  // (ดอกเบี้ยโหด) ชวนเชื่อ กู้โดยไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน หลอกให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในโทรศัพท์ของเหยื่อเพือให้โทรตามทวงหนี้จากคนใกล้ชิด ,เรียกดอกเบี้ยโหดใช้หนี้ไม่มีหมด 

18 กลโกง \'มิจฉาชีพ\' หลอกเหยื่อ บนโลกออนไลน์

  • ข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัว ( Call Center)

โทรศัพท์เป้าหาเหยื่อ แจ้งว่าเกี่ยวข้องกับการส่งพัสดุผิดกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมาย หรือโดนอายัดบัญชีธมาคาร แล้วจะอ้างเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ข่มขู่เรื่องกฎหมาย ฟอกเงิน ให้เหยื่อโอนเงินเพื่อตรวจสอบ

  • หลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่างๆ

อ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ชักชวนลงทุมในธุรกิจที่ไม่มีจริง ให้ผลตอบแทนสูง สร้างภาพความน่าเชื่อถือ เช่น ลงทุนในธุรกิจน้ำมัน , พลังงาน, ทองคำ, เงินดิจิทัล Forex ,ตลาดหลักทรัพย์ต่างชาติ  เกมออนไลน์ เป็นต้น

  • หลอกให้รักแล้วลงทุน

ปลอมโปรไฟล์บุคคลหน้าตาดี เข้ามาดีสนิทจากแอปหาคู่หรือบัญชีออนไลน์ สอนลงทุน แล้วหลอกให้ลงทุนในแอป หรือโปรแกรมลงทุนปลอม เช่น เทรดหุ้น , เงินดิจิทัล
สกุลเงิน , ทองคำ

  • หลอกให้รักแล้วโอนเงิน / ยืมเงิน

ปลอมโปรไฟล์บุคคลหน้าตาดี ทำความรู้กผ่านบัญชีออนไลน์ ดีสนิทหลอกให้รัก ทำทีจะส่งทรัพย์สินมาให้จากต่างประเทศ สุดท้ายลวงเอาเงินค่าธรรรมเนียมต่างๆ หรือ หลอกโอนเงิน โดยอ้างว่าจะคืนหลายเท่าตัว

 

  • แชร์ลูกโซ่

หลอกลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง โดยเน้นให้หาเครือข่าย สร้างรายได้จากการเพิ่มสมาชิก

  • การพนันออนไลน์

โฆษณาชวนเชื่อ , หว่านล้อมด้วยวิธีการต่างๆ , ให้ค่าน้ำคืนผู้เล่น , แจกสูตรการันตีผลตอบแทน

  • หลอกให้โหลดโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ทางไกล ( เพื่อขโมยข้อมูล)

จ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหลอกให้ใหลดโปรแกรมควมคุมทางไกล เพื่อถอนเงินจากบัญชี

  • ส่ง QR Code หลอกให้โอนเงิน

คนร้ายจ้างว่าจะคืนคำสินค้าให้เหยื่อสแกน QR Code ซึ่งเป็นการโอนเงินให้แก่คนร้าย บางกรณี จะเป็นการให้กรอกข้อบูลบัญชีธนาคารและรหัสผ่านเพื่อขโมยเงินเหยื่อ

  • ฉ้อโกงรูปแบบอื่นๆ

หลอกลวงด้วยเรื่องราวต่างๆให้โอนเงินให้คนร้าย เช่น เป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล ได้ซื้อสินค้าราคาพิเศษ ได้โรงแรมที่พักฟรี หรือได้สิทธิ์พิเศษต่างๆ แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียม
หลอกอ้างเป็นหน่วยงามต่างๆ เช่น ธนาคาร ส่งสิงก์ปลอมหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว หรือ
ขโมยบัญชีธนาคาร

  • โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศ

หลอกให้หลบหนีออกนอกประเทศ บังคับกักขังให้ทำงานผิดกฎหมาย ใช้แรงงานเป็นทาส

  • หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป๊เปลือย

เพื่อใช้ข่มขู่เรียกเงินจากเหยื่อ

  • ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร ( บัญชีม้า )

ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน , ฟอกเงิน

  • ข่าวปลอม ( Fake news )

แชร์ข่าวจากแหล่งข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น ข้อความที่ส่งต่อกันทางไลน์

  • เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ ( Ransomware)

ล็อครหัส , โฟล์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เรียกเงินจากเหยื่อ

 

ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ