ย้อนรอยมติครม. "แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม." ยังใช้อยู่ไหม?

21 ก.ค. 2565 | 18:26 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ย. 2565 | 23:06 น.
1.9 k

ย้อนรอยมติครม. 28 ก.ค. 2558 "แผนรับมือฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม." แบ่งงาน กทม. ตำรวจ ทหาร การไฟฟ้า กระทรวงศึกษา ปภ.ต้องช่วยกันยังไงบ้าง ทวนความจำกันที่นี่ 

"ฝนตกหนัก" ต้นเหตุน้ำท่วมรอระบาย หรือ น้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นคำถามที่ชวนคิดว่า เราต้องชินชากับเหตุการณ์แบบนี้ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ฝนตกอีกก็เกิดขึ้นอีกอย่างนั้นหรือ 

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

เพราะสิ่งที่ตามมานอกจากการท่วมขัง คือ ปัญหาการจราจร ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ที่อาจจะรุนแรงได้ถึงกับบาดเจ็บเสียชีวิต ไหนจะเป็นเรื่องของการเสียโอกาสที่พลาดนัดหมายสำคัญ รวมทั้งบั่นทอนความเจริญของมหานครที่ตั้งเป้าไกล ที่นานาชาติอาจจะลังเลในการเข้ามาท่องเที่ยว ลงทุน ฯ แต่ไฉนมหานครตายน้ำตื้นกับการรอระบาย

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

ปัญหาเหล่านี้เคยหยิบยกเข้าไปคุยกันในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2558 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ขณะนั้นเป็นประธานการประชุม และอยู่ในยุคที่ผู้ว่ากทม.ชื่อ "คุณชายหมู-มรว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร"

 

วันนั้นมีมติสำคัญเกี่ยวกับการแบ่งงานแต่ละหน่วยงานเป็นแผนเผชิญเหตุรับมือเหตุฝนตกหนัก น้ำท่วมขังในพื้นที่ครม. 

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?
ชื่อวาระอย่างเป็นทางการคือ "การเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

 

ซึ่งครม.มีมติรับทราบ ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ  ซึ่งเป็นการแบ่งภารกิจการทำหน้าที่เมื่อมีฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ไว้อย่างน่าสนใจ 

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

กรุงเทพมหานคร มี 5 ภารกิจที่ต้องรับผิดชอบคือ

  1. รับผิดชอบเรื่องการระบายน้ำ การกําจัดขยะ การประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. เฝ้าระวังและเตรียมการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เสี่ยงเดิม 22จุด และ สําหรับพื้นที่เสี่ยงใหม่ 5 จุด เพิ่มเติม ได้แก่ อโศกมนตรี ถนนสุขุมวิท บริเวณซอยแบริ่ง ถนนรามคําแหง ซอย 1-3 และถนนพหลโยธิน ช่วงทางไปลําลูกกา ได้เตรียมการแก้ไขปัญหาและประสานการปฏิบัติกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
  3. ดําเนินการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพิ่มกําลัง เจ้าหน้าที่จัดการขยะ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงการประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไข ปัญหาด้วยแล้ว
  4. ตั้งกลุ่ม LINE ร่วมกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นช่องทางแจ้งเตือนก่อนเกิดฝนตก
  5. ประสานการปฏิบัติร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง ในการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับ โดยเฉพาะจุดที่ส่งผลกระทบต่อเครื่องสูบน้ำ และกองบังคับการตํารวจจราจรในการแก้ไขปัญหาการจราจรตลอด 24 ชั่วโม

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ(สตช.) มี 2 ภารกิจ คือ

  1. เพิ่มกําลังใน 22 จุดเสี่ยงเดิม และจุดเสี่ยงเพิ่มเติม ตลอด 24  ชั่วโมง
  2. เสนอข้อมูลจุดเสี่ยงอื่นเพื่อการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ได้แก่ บริเวณต่านเพลินจิต แยก อ.ส.ม.ท. หน้าโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี บริเวณหน้าปั้ม ป.ต.ท. สี่แยกบางนา และ อุโมงค์ดินแดง

 

ซึ่งในมติครม.ระบุจุดเสี่ยงว่า ในส่วนของเขตรอยต่อระหว่างเขตปริมณฑล และกรุงเทพมหานคร ดังนี้

  • เขตรอยต่อจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • ถนนงามวงศ์วาน บริเวณใต้ทางด่วน - ถนนรัตนาธิเบศร์ - ถนนแจ้งวัฒนะ เช่น บริเวณหน้าเซนทรัลแจ้งวัฒนะ
  • เขตรอยต่อจังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • บริเวณอนุสรณ์สถาน แยกทางเข้าลําลูกกา - ตลาดสี่มุมเมือง - เมืองเอก - หน้ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ  
  • เขตรอยต่อจังหวัดสมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • ตลาดสําโรง แยกปู่เจ้าสมิงพราย

 

กองทัพบก มี 4 ภารกิจ คือ

  1. ทุกเหล่าทัพแบ่งกำลังรับผิดชอบในทุกเขต โดยในส่วนของกองทัพบก เช่น กองพลที่1 รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และกองพลทหารราบที่ 4 รับผิดชอบเขต กรุงเทพมหานคร กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ รับผิดชอบ เขตสมุทรปราการ กองพลทหารปืนใหญ่ ต่อสู้อากาศยาน รับผิดชอบเขตนนทบุรี และปทุมธานี เป็นต้น
  2. ภารกิจที่มอบหมาย ได้แก่ การช่วยอํานวยความสะดวกการจราจร การเข็น รถเสียออกจากผิวจราจร การจัดชุดซ่อม สนับสนุนเครื่องสูบน้ำในบางจุด เป็นต้น
  3. การปฏิบัติงานร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.02) โดยการเสริม กำลังสารวัตรทหารปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  4. การออกปฏิบัติการ เมื่อตรวจสอบจากเรดาร์ของสำนักการระบายน้ำ และกรมอุตุนิยมวิทยา หากพบฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิน 40 มิลลิเมตร ขึ้นไปจะออกปฏิบัติการทันที

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 3 ภารกิจ

  1. สถานศึกษาในสังกัด จํานวน 21แห่ง ในกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมภารกิจ
  2. สถาบันในเขตปริมณฑล ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้พื้นที่รอยต่อกับกรุงเทพมหานครเข้าร่วมภารกิจด้วย และในอนาคตสถาบันอาชีวะในทุกจังหวัด จะประสานการปฏิบัติในภารกิจนี้ร่วมกับจังหวัดผ่านทางสํานักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
  3. นักศึกษาที่เข้าร่วมภารกิจจะเตรียมการอยู่ ณ ที่ตั้ง แห่งละ 20-30 คน และจะออกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตพื้นที่จุดเสี่ยงใกล้เคียงกับพื้นที่ของสถาบัน คือการซ่อมรถจักรยานยนต์/รถยนต์เบื้องต้น ให้สามารถใช้ต่อได้ และการเข็นรถออกไม่ให้กีดขวางการจราจร

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) มี 4 ภารกิจ

  1. ประสานการปฏิบัติโดยตรงระหว่างกรุงเทพมหานคร และการไฟฟ้า นครหลวงเขต ตั้งแต่การเฝ้าระวังสถานการณ์ การแจ้งเตือน และการเตรียมการแก้ไขปัญหา
  2. จัดชุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในจุดเสี่ยงสำคัญ โดยการจัดรถพร้อม เจ้าหน้าที่ขุดบำรุงรักษา ประจำใกล้ ๆ จุดเสี่ยงสำคัญ โดยเฉพาะบริเวณสถานีสูบน้ำ เป็นต้น
  3. ให้ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณที่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายไฟฟ้าให้เรียบร้อย
  4. ในจุดเสี่ยงสำคัญที่ห้ามไฟดับโดยเด็ดขาด ได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำรอง (Generator) และช่างซ่อมไฟฟ้าประจำไว้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการสูบน้ำของกรุงเทพมหานคร

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย(ปภ.) มี 4 ภารกิจ

  1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนกรณีน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการประสานการปฏิบัติในภารกิจต่าง ๆ สนับสนุนการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดชุดปฏิบัติการสนับสนุนกรณีรถเสียกีดขวางการจราจรช่วงน้ำท่วม ตลอดจน ความเดือดร้อนอื่น ๆ ของประชาชน
  3. สรุปการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้ผู้บริหารระดับสูงทราบอย่างต่อเนื่อง
  4. ประสานการแจ้งเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทาง กรณีพื้นที่การจราจร ติดขัดในช่วงฝนตกหนัก ร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.02) โดยเพิ่มช่องทางในการสื่อสารถึง ประชาชนให้มากขึ้น

ย้อนรอยมติครม. \"แผนเผชิญเหตุฝนตกหนัก-น้ำท่วมกทม.\" ยังใช้อยู่ไหม?

แต่วันเวลาผ่านไป 2558 -2565 จากยุคผู้ว่ากทม. ชื่อ "สุขุมพันธุ์ บริพัตร" จากนั้นเป็น "อัศวิน ขวัญเมือง" และปัจจุบันคือ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ไม่รู้ว่า มติครม.นี้ ยังใช้งานได้จริงอยู่อีกหรือไม่

 

ที่มาข้อมูล สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี