ชัชชาติ​ ปักธง​ "Pride Month 2022"หนุนกลุ่มLGBTQI+

04 มิ.ย. 2565 | 12:26 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มิ.ย. 2565 | 19:39 น.
2.6 k

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ​ ปักธง​ Pride Month 2022 สนับสนุนกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แตกต่าง หรือ LGBTQI+ แต่เดินร่วมกันได้ ทั้งกทม.ยังให้ความสำคัญใน 5 เรื่อง ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ที่สามารถริเริ่มได้

วันนี้(วันที่ 4 มิ.ย. 65) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดงาน Pride Month 2022 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจ สนับสนุนความเท่าเทียม และยอมรับความหลากหลายทางเพศ ของหน่วยงาน กทม. สนับสนุนกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQI+ 

สำหรับกิจกรรม Pride Month 2022 ในวันนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปักธงสีรุ้งร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ประกาศเจตนารมณ์ให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งความแตกต่างหลากหลาย พร้อมเปิดนโยบายสนับสนุนความเท่าเทียม​

 

ชัชชาติ​ ปักธง​ \"Pride Month 2022\"หนุนกลุ่มLGBTQI+

 

โดยมี​นายศานนท์​ หวังสร้างบุญ​ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ นายต่อศักดิ์​ โชติมงคล​ ประธานที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ นายภิมุข​ สิมะโรจน์​ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ นายสมบูรณ์​ หอมนาน​ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม​ กีฬา​ และการท่องเที่ยว​ พร้อมคณะผู้บริหาร​ เครือข่ายภาคประชาชนที่สนใจและสนับสนุนด้านสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ​ ร่วมปักธงและเฉลิมฉลอง

ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ กล่าวว่า​ Pride Month คือการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ เพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมและสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) รวมถึงเป็นการรำลึกถึงคนในคอมมูนิตี้ที่เสียชีวิตด้วยโรค HIV/AIDS สาเหตุที่เลือกฉลองในเดือนมิถุนายน 

 

เพราะเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ Stonewalls ในปี 1969 การเฉลิมฉลอง Pride Month ไม่อยากให้มองว่าเป็นเรื่องของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศเท่านั้น 

 

ชัชชาติ​ ปักธง​ \"Pride Month 2022\"หนุนกลุ่มLGBTQI+

 

อยากชวนให้มอง Pride Month เป็นกิจกรรมที่สะท้อนวาระทางสังคม สังคมที่อยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลาย ความเข้าใจ การยอมรับ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นรากฐานที่จะทำให้ทุกคนมีตัวตน มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางอัตลักษณ์ ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและเข้าถึงสวัสดิการอย่างเท่าเทียม 

 

" Pride Month​ ไม่ใช่แค่เพียงความแตกต่างทางเพศเท่านั้น​ มันรวมถึง​ความแตกต่างทางความคิด​ การเมือง​ ความคิดเห็น​ เราแตกต่างกันได้แต่อย่าทะเลาะ​ อย่าเกลียดชัง​ เข้าใจซึ่งกันและกัน​ ร่วมมือ​ แล้วเราจะเดินร่วมกันได้​ อย่าลืมว่าสังคมเราไม่ได้มีแค่ 0 กับ 1 (ไบนารี)

 

ชัชชาติ​ ปักธง​ \"Pride Month 2022\"หนุนกลุ่มLGBTQI+

 

Pride  หมายถึง ความภาคภูมิใจความหลากหลายของสังคมประชาธิปไตย​ เพราะฉะนั้น กทม. จะดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน​ตาม​หลักของประชาธิปไตย​ โดยไม่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง​" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร​ กล่าว

 

นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า กทม. เองจะผลักดันนโยบายเพื่อสนับสนุนความหลากหลายทางเพศและสร้างความเท่าเทียม ทั้งในเชิงสัญลักษณ์ สวัสดิการ และการบริการ เพื่อให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน สิ่งที่ กทม. จะทำทันที คือ Pride Month 

 

โดยอยู่ใน 1 ใน 12 เทศกาล นำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย ให้คำปรึกษา ให้การศึกษาเรื่องความหลากหลายทางเพศผ่านเรื่องพลเมืองโลกโดยเริ่มต้นในโรงเรียนสังกัด กทม. 

 

ชัชชาติ​ ปักธง​ \"Pride Month 2022\"หนุนกลุ่มLGBTQI+

 

นอกจากการสนับสนุนนโยบายต่างๆ แล้ว กทม. ยังตั้งมั่นที่จะเป็นองค์กรภาครัฐ ที่ขับเคลื่อนเชิงสัญลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายประชาชน ภาคธุรกิจ ในการรณรงค์สิทธิของประชาชน เป็นพลังในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวบนพื้นฐานด้านสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน 


ทั้งนี้นโยบายด้าน LGBTQ+ ใน กทม. หรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นส่วนหนึ่งในนโยบาย 214 ข้อ โดยได้รับการยอมรับผ่านความเข้าใจจาก กทม. ในฐานะหน่วยงานรัฐ ประชาชนได้รับการบริการอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยความเข้าใจในความอ่อนไหวทางเพศ (gender sensitivity) และความเท่าเทียมทางเพศ การยอมรับความหลากหลายทางเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศในสังคมไทยยังคงมีเงื่อนไข

 

ในฐานะหน่วยงานรัฐของประชาชนและนายจ้างของข้าราชการ กทม. การยอมรับและเข้าใจถึงความหลากหลายเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับภาครัฐไทยให้ทัดเทียมกับภาคเอกชนหรือเครือข่ายต่าง ๆ นอกจากเรื่องความหลากหลายทางเพศวิถีแล้วยังมีเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่หน่วยงาน กทม. ต้องให้ความสำคัญ สามารถริเริ่มได้โดย 

 

1. กำหนดหลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานใน กทม. ให้การยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขในสังคมและสนับสนุนความเท่าเทียม 

 

2. อบรมให้เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของ กทม. ปฏิบัติต่อเจ้าหน้าที่และประชาชน โดยเฉพาะผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเท่าเทียม เน้นการยอมรับและความเข้าใจ 

 

3. สามารถร้องทุกข์เรื่องการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมได้ 

 

4. สนับสนุนการแสดงออกที่หลากหลาย โดยไม่บังคับแต่งชุดเครื่องแบบข้าราชการตามเพศกำเนิด สามารถใส่ตามที่สะดวกใจได้ 

 

5. มีกฎเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในหน่วยงาน กทม. และยังนำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย ซึ่งปัจจุบันคลินิกสาธารณสุขเฉพาะทางด้านสุขภาพของกลุ่ม LGBTQI+ ในโรงพยาบาลของรัฐมีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือคลินิกสุขภาพเพศของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี 

 

ดังนั้น กทม. จะนำร่องเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ในประเด็นจำเพาะ เช่น บริการจิตวิทยาการปรึกษา การใช้ยา-ฮอร์โมน และการผ่าตัดแปลงเพศของกลุ่มคนข้ามเพศในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หรือโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์

 

ชัชชาติ กล่าวทิ้งท้ายเรื่องความเป็นห่วงด้านสาธารณสุขจากโควิด-19 และโรคฝีดาษลิงจากการร่วมงานเทศกาลPride Month​ ว่า​ กทม.ได้มอบหมายให้สำนักอนามัยประสานงานกับผู้จัดงานเพื่อดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้น​ เคร่งครัด​ และเหมาะสม​ ตามมาตราการที่ภาครัฐกำหนดไว้​ เพื่อสร้างความมั่นใจและไว้ใจให้ประชาชน​ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดงานเทศกาลต่างๆ อีกด้วย