อาหารที่ห้ามกินตอนเป็นโควิดมีอะไรบ้าง เพราะอะไร อันตรายอย่างไร อ่านเลย

03 เม.ย. 2565 | 08:30 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2565 | 15:30 น.
203.3 k

อาหารที่ห้ามกินตอนเป็นโควิดมีอะไรบ้าง เพราะอะไร อันตรายอย่างไร อ่านเลยที่นี่ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแตกต่างกัน

อาหารที่ห้ามกินตอนเป็นโควิด เป็นคำถามที่กำลังได้ความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่อยู่ในระดับสูง ล่าสุด (3 เม.ย.) ยังพบผู้ติดเชื้อ 26,840 ราย  จากรายงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค.

 

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ดำเนินการสืบค้นข้อมูล เพื่อหาคำตอบเรื่องดังกล่าวพบว่า 

 

เนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลม และปอด ซึ่งอาการแสดงที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น

  • กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีเสมหะ หอบเหนื่อย
  • กลุ่มที่ 2 มีอาการผะอืดผะอม อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ มีลมในกระเพาะ หรือถ่ายเหลว
  • กลุ่มที่ 3 มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย

เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาตามอาการป่วยของตนเอง และควรเลือกกินอาหารให้เหมาะสม โดยควรเลือกอาหารที่

 

  • ไม่ทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง
  • ต้องเป็นอาหารที่ไม่เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ
  • ต้องไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • กลุ่มอาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลง

 

อาหารที่ห้ามกินตอนเป็นโควิดมีอะไรบ้า

 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอ คัดจมูก คันคอ มีเสมหะ​ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง ดังนี้

 

  • เครื่องดื่มแช่เย็น  เครื่องดื่มปั่นต่าง ๆ ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม เบียร์ แอลกอฮอล์ ชานมไข่มุก ชา กาแฟใส่นม เครื่องดื่มที่มีน้ำเชื่อม น้ำตาล นมข้นหวาน เนื่องจากการทานเครื่องดื่มที่มีความเย็นและมีความหวาน จะทำให้อาการที่เป็นอยู่เป็นมากขึ้น เช่น มีน้ำมูก คันคอ ไอ หรือมีเสมหะมากขึ้น
  • อาหารรสจัด อาหารมันจัด หวานจัด เผ็ด มีเครื่องเทศ เครื่องแกง
  • อาหารที่มีน้ำมันเยอะ ของทอดต่าง ๆ  อาหารฟาสต์ฟู้ด
  • อาหารกินเล่น หรือขนมคบเคี้ยว ขนมถุงต่าง ๆ ขนมที่มีชีส นม หรือเนย เช่น ขนมปังอบเนย
     

ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการย่อยยาก​ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง หรือผะอืดผะอมมากขึ้น ดังนี้

 

  • เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เป็นต้น
  • เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ
  • อาหารปิ้งย่าง
  • มะพร้าว


ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง

 

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  • งดอาหารประเภทนม โยเกิร์ต ชีส ผลไม้สด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารประเภททอด
  • หากไม่สามารถรับประทานอาหารในปริมาณต่อมื้อตามปกติได้หมด ให้แบ่งรับประทานอาหารออกเป็นหลายมื้อในช่วงวัน

 

กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

  • อาหารหมักดอง ปูเค็ม ปลาร้า
  • อาหารปิ้งย่าง
  • เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ
  • อาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก
  • อาหารที่ปรุงไม่สะอาด ปนเปื้อนฝุ่น มลภาวะต่าง ๆ
  • กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินอาหารที่กระตุ้นให้เกิดยูริคในร่างกายสูง เช่น ยอดผัก เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก

 

ทานอาหารไม่สุก หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารค้างคืน หรืออาหารที่ต้องอุ่นไมโครเวฟ

 

อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้

 

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ

 

ที่มา : โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม