ไทยมีเวลาแค่ไหนในการรับมือ"โอมิครอน" ก่อนวิกฤติ เช็กเลย

07 ธ.ค. 2564 | 13:01 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2564 | 23:53 น.

ไทยมีเวลาแค่ไหนในการรับมือโอมิครอนก่อนวิกฤติ เช็กเลย อ.นิด้าใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณย้อนอดีตของแอฟริกาใต้ ชี้ไทยยังไม่มีสัญญาณผิดปกติ

นายสันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว (Sunt Srianthumrong) โดยมีข้อความว่า
Covid-19: Omicron Wave Day#0 เรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่? จาก Patient Zero ก่อนที่จะวิกฤต มาลองใช้คณิตศาสตร์คำนวณกันครับ 
ผลจะทำการคำนวณย้อนอดีตของ South Africa ไปหา Patient Zero ว่าน่าจะเริ่มจากวันไหน จากนั้นเราเอาอดีตของ S. Africa ลากมาถึงปัจจุบันว่าใช้เวลากี่วันกว่าจะเดินมาถึงจุดที่ Daily New Case โผล่พ้นน้ำให้เห็น และขยายเข้าสู่วิกฤตในที่สุด 
ข้อมูลจาก Real World: 
1.%Increase ของ Omicron (โอมิครอน) ภายใต้การควบคุมที่เอา Delta (เดลตา) อยู่คือ 27%
2. คนไข้คนแรกที่ตรวจพบสายพันธุ์นี้คือเมื่อวันที่ 9 Nov 2021 
3.WHO ได้รับรายงานสายพันธุ์ใหม่ 24 Nov 2021

4.Daily New Case ของ S. Africa เพิ่มจาก 300 มาเป็น 2,465 คนต่อวันในวันที่ 25 Nov 2021 ตัวเลขระดับ 2000 นี้ถ้าเกิดในประเทศไทยเราจะเห็นแน่นอน
5.Daily New Case ของ S. Africa เพิ่มมาเป็น 11,535 คนต่อวันในวันที่ 2 Dec 2021 ตัวเลขระดับนี้เข้าวิกฤตแน่นอน
6. กราฟ %Increase ของ S.Africa มีความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วันที่ 16 Nov 2021 นั่นคือ S. Africa ค้นพบช้าเกินไปและแจ้ง WHO ได้ช้าเกินไป
7.S. Africa มีประชากร 60 ล้าน แต่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มไปแค่ 24% 
คำนวณย้อนอดีตหา Patient Zero:
เมื่อ %Increase มีค่าคงที่กราฟ Total Case จะเป็นเส้นตรงใน Log Scale 
ผมลากเส้นตรงนั้นย้อนอดีตไปหาวันที่ Total Case เป็น 0 จะได้ว่า Patient Zero ตัวจริงจะอยู่ที่วันที่ 18 Oct 2021

มองอนาคต Timeline สำคัญจาก Patient Zero:
1.คนไข้ที่ตรวจพบคนแรก อาจไม่ใช่ Patient Zero ในกรณี S.Africa น่าจะพบช้าไป 22 วัน
2.จาก Patient Zero ไป Daily New Case ระดับ 2,000 ใช้เวลา 38 วัน
3.จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 2,000 ใช้เวลา 16 วัน
4.จาก Patient Zero ไป Daily New Case ระดับ 10,000 ใช้เวลา 45 วัน
5.จากการตรวจพบครั้งแรก ไป Daily New Case ระดับ 10,000 ใช้เวลา 23 วัน
ประเทศไทยมีเวลาเหลือเท่าไหร่:
1.ขึ้นอยู่กับว่าที่ค้นพบวันนี้ทำให้ระบาดในชุมชนหรือยัง และเป็น Patient Zero แท้ๆหรือว่า แค่คนที่ตรวจพบคนแรก

ไทยมีเวลาแค่ไหนในการรับมือโอไมครอน
2.ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปมากกว่า S.Africa มาก อาจชะลอได้มากกว่า
3.กรณีเลวร้าย อีก 2 สัปดาห์ เราอาจจะเห็นตัวเลข Wave#5 ที่แยกเพิ่มออกมาวันละ 2,000 ตอนนั้นเราจะรู้จากข้อมูลต่างประเทศแล้วว่า อัตราการตายจาก Omicron น่ากลัวหรือไม่ 
4.กรณีเลวร้าย อีก 3 สัปดาห์ เราอาจจะเห็นตัวเลข Wave#5 ที่แยกเพิ่มออกมาวันละ 10,000 และเราจะตัดสินใจได้ว่าจะสู้แบบไหน เพราะข้อมูลครบแล้ว
5.กรณีโชคดี อาจจะยังไม่ระบาดในชุมชน หรือถ้าแย่หน่อยเพิ่งเริ่มระบาด ก็จะมีเวลาอีกราวๆ 6-7 สัปดาห์กว่าจะวิกฤต 
6.จากวันที่กราฟเริ่มผิดปกติจนถึงวันที่วิกฤต จะมีเวลา 2 สัปดาห์ เราตั้งหลักทันแน่นอน
7.เราน่าจะยังมีเวลามากพอที่จะฉีดวัคซีนไปให้ถึง 80% ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน  
ณ จุดนี้ ผมคิดว่ายังไม่ควรจะต้อง Panic กราฟประเทศไทยยังไม่มีสัญญาณความผิดปกติ เพียงแต่ต้องจับตาดูอย่างละเอียดทุกวัน ข้อมูลใหม่ยังมีเข้ามาเรื่อยๆ และเราจะสามารถมีข้อมูลครบถ้วนได้ก่อนที่จะเข้าสู่วิกฤตของ Wave#5 Omicron อย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือ เร่งฉีดวัคซีนให้ถึง 80% - 90% แล้วประเทศไทยจะพร้อมรับมือกับ Omicron ในทุกสถานการณ์
สำหรับสถานการรืการติดเชื้อโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทยวันที่ 7 ธันวาคม 2564 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 3,525 ราย  
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,119,903 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 31 ราย หายป่วยเพิ่ม 6,109 ราย กำลังรักษา 66,395 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 2,033,948 ราย