ศบค.เผยผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าไทย 1-27 พ.ย. 1,007 คน ไม่พบผู้ติดโควิด

29 พ.ย. 2564 | 15:22 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ย. 2564 | 23:26 น.
569

ศบค.เผยผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าไทย 12 ประเทศ ช่วง 1-27 พ.ย.64 รวม 1,007 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ชี้หลายประเทศปรับระดับมาตรการเข้าประเทศของผู้เดินทางมาจากแอฟริกาใต้

วันที่ 29 พ.ย.64 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค.แถลงสถานการณ์ประจำวันช่วงหนึ่งวถึงกรณีโควิดโอไมครอนว่า ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อใน อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เบลเยียม เช็ก และเดนมาร์ก

ศบค.เผยผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าไทย 1-27 พ.ย. 1,007 คน ไม่พบผู้ติดโควิด

ส่วนในเอเชียพบในฮ่องกง อิสราเอล รวมทั้งพบผู้ติดเชื้อในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมีประวัติเดินทางมาจากทวีปแอฟริกาใต้ ทำให้หลายประเทศปรับระดับมาตรการเข้าประเทศของผู้เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ รวมถึงประเทศไทย ส่วนประเทศอิสราเอลประกาศปิดประเทศแล้ว

ศบค.เผยผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าไทย 1-27 พ.ย. 1,007 คน ไม่พบผู้ติดโควิด


         

สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เปิดประเทศ 1-27 พ.ย.64 มีผู้เดินทางมาจาก 12 ประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้จำนวน 1,007 คน ทั้งหมดเข้ามาในระบบกักกันแบบ Sandbox ซึ่งผลตรวจไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

ศบค.เผยผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าไทย 1-27 พ.ย. 1,007 คน ไม่พบผู้ติดโควิด

 อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ศปก.สธ.) ได้ปรับมาตรการเร่งด่วนป้องกันควบคุมโรคผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรจากทวีปแอฟริกาให้สอดคล้องกับมาตรการหลายประเทศ โดยห้ามผู้เดินทางจาก 8 ประเทศที่มีการพบและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ดังกล่าวเดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว ได้แก่

 

บอตสวานา เอสวาตีนี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย ซิมบับเว แอฟริกาใต้ เนื่องจากมีข้อกังวลว่าโอไมครอนแพร่กระจายเร็วกว่าเดลตา แม้ไม่มีรายงานความรุนแรง แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่าผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงสูง โดยปัจจัยสำคัญเชื้อกลายพันธุ์คือประเทศที่ประชากรรับวัคซีนต่ำ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมเพื่อไม่ให้พบการกลายพันธุ์ในประเทศไทย
         

ส่วนกรณีที่ ศบค.ชุดใหญ่ ทบทวนมาตรการตรวจหาเชื้อผู้เดินทางเข้าประเทศในระบบ Test&Go โดยให้ตรวจด้วยชุด ATK แทนการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.64 แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดขอให้ติดตามความคืบหน้าจาก ศบค.ว่ามาตรการตรวจด้วย RT-PCR อาจยังคงไว้ต่อไป