ฐานเศรษฐกิจ เกาะติด มาตรการคลายล็อกดาวน์ เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์รองรับการเปิดประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ล่าสุด ซึ่งเป็น 1 ในพื้นที่สีฟ้า หรือ พื้นที่นำร่องเพื่อการท่องเที่ยว
ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2564 พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะมีประกาศใหม่ ระบุว่า
หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2564 มีมติผ่อนคลายมาตรการต่างๆในพื้นที่เขตกทม. โดยมีใจความว่า เพื่อให้การดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่แบบบูรณาการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นการผ่อนคลายให้บางสถานที่สามารถเปิดตำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้
ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เพื่อการดำเนินการขับเคลื่อน ด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่แบบบูรณาการ กทม. จึงมีมาตรการดังนี้
1. ให้ปิดสถานที่ดังต่อไปนี้
- สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
- สถานประกอบกิจการอาบอบนวด ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ที่ได้ผ่อนคลายให้เปิดหรือดำเนินการได้ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ ๔๕) และ (ฉบับที่ ๔๖)
2. กรณีร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม
- สามารถเปิดให้บริการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านได้ ตามเวลาปกติ
- โดยอนุญาตให้มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety & Health Administration)ในระตับ SHA ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) หรือตามมาตรฐาน ความปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid Plus) ของกรมอนามัย ไม่เกินเวลา 23.00 น.
3. สถานที่อื่นนอกจากข้อ 2 ที่ได้เคยมีคำสั่งให้ปิดสถานที่และได้รับการผ่อนคลายจากประกาศนี้
- ให้เปิดคำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด เช่น มาตรการ DMHTTA มาตรการป้องกันการติตเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting)
- รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะโดยเคร่งครัด และได้รับอนุญาตให้คำเนินกิจการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘