เปรียบเทียบความเสี่ยงน้ำท่วมในกทม.หลังหลายคนกังวลจะซ้ำรอยเหมือนปี54

30 ก.ย. 2564 | 15:45 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ย. 2564 | 23:08 น.

ผู้ว่ากรุงเทพมหานครยกข้อมูลสถานการณ์น้ำในปี54 เปรียบเทียบปี63และปี64 กับความเสี่ยงน้ำท่วมในกทม. หลังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเขื่อนทั้ง 2 แห่งมีการระบายน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน กทม. หลายคนกังวลจะเกิดน้ำท่วม กทม. เหมือนปี 2554

นายอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่ากทม. ตั้งอยู่ตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสายมารวมกัน ในช่วงหน้าฝนเมื่อเกิดฝนตกสะสมทางตอนบนของประเทศ ปริมาณน้ำที่ไหลมาตามแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน จะเพิ่มมากขึ้น และเมื่อไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น

 

ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะถูกควบคุมการระบายน้ำโดยเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท หากปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมีมาก การระบายน้ำก็จะเพิ่มสูงขึ้น

แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ก็เป็นเส้นทางน้ำที่ไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ จ.อยุธยา โดยมีเขื่อนพระราม 6 ควบคุมการระบายน้ำ

 

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเขื่อนทั้ง 2 แห่งมีการระบายน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน กทม. หลายคนกังวลจะเกิดน้ำท่วม กทม. เหมือนปี 2554

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในปี 2554 นั้น เกิดจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องจากอิทธิพลของพายุที่เข้ามาในประเทศไทยหลายลูก มีปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักสูงกว่าในตอนนี้มากพอสมควร เมื่อเทียบปริมาณน้ำในปีนี้แล้วใกล้เคียงกับปี 2563 ซึ่งใน กทม.ก็ไม่มีน้ำท่วมตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา

 

เปรียบเทียบความเสี่ยงน้ำท่วมในกทม.หลังหลายคนกังวลจะซ้ำรอยเหมือนปี54

และจากน้ำท่วมปี 2554 กทม.ได้เสริมคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้สูงขึ้น เพื่อรองรับปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น แต่ยังมีจุดที่อาจจะเกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ได้ ที่เป็นชุมชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ซึ่ง

 

กทม.ได้วางกระสอบทรายเป็นคันกั้นน้ำ และเตรียมเครื่องสูบน้ำไว้พร้อมแล้ว กทม.เตรียมพร้อมรับมือปริมาณน้ำให้แม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีสถานีวัดระดับน้ำตลอดแนวแม่น้ำ เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตลอด 24 ชั่วโมง หากเพิ่มสูงขึ้นจนมีความเสี่ยง กทม.จะแจ้งให้ประชาชนที่อยู่ในจุดเสี่ยงทันที