อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

23 ม.ค. 2565 | 21:20 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ม.ค. 2565 | 04:37 น.
245.8 k

ตรวจสอบ ประกาศ-คำสั่งศบค.ล่าสุด ที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา มาตรการคลายล็อกดาวน์ ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 24 มกราคม 2565 มีอะไรบ้าง อ่านรายละเอียดให้ที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ เกาะติด มาตรการคลายล็อกดาวน์รอบล่าสุด เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ราชกิจจานุเบกษา มีการเผยแพร่ ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 42) ลงนามโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ซึ่งจะมีผลบังคัชใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

 

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง นั้น
โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมครอน (Omicron) สามารถแพร่ได้เร็วและมีโอกาสทําให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

 

และประเทศไทย ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวกระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของภาคประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติ หน้าที่อย่างจริงจังขันแข็งของพนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง ได้ช่วยให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 อยู่ภายใต้การควบคุม

 

อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเพิ่มการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการระบาดในบางพื้นที่เสี่ยงที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในชุมชนหรือสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมกลุ่มของบุคคล

 

จึงสมควรปรับปรุงมาตรการการควบคุมแบบบูรณาการ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถ ดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุข

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์และการกําหนดพื้นที่นําร่อง ด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคําสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ และกําหนดพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่ง เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจ

 

โดยให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กําหนดไว้สําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการ ควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ รวมทั้ง มาตรการเตรียมความพร้อมตาม ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564

 

ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคล ที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจําแนกตามพื้นที่สถานการณ์ และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกําหนดขึ้นภายใต้ข้อกําหนด ดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป

 

ข้อ 3 การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว สําหรับพื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวให้ดําเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ เพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสําหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จําแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 3 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565  โดยให้ปรับมาตรการควบคุม ดังนี้

 

  • การบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ นําร่องด้านการท่องเที่ยว จะเปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ในระดับ SHA PLUS ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือผ่านการ ตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID - 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่ (Thai Stop Covid 2 Plus) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยแล้วเท่านั้น
  • และให้บริการบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา 23.00 น. 
  • ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณากําหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่

 

ข้อ 4 มาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค การให้บริการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มในพื้นที่ เฝ้าระวังสูงที่ได้ผ่อนคลายให้ดําเนินการได้ตามข้อกําหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กําหนดไว้ ในข้อ 3 ด้วย
สําหรับสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกันทั่วราชอาณาจักรยังคงจําเป็นต้องปิดดําเนินการ ไว้ก่อน

 

แต่หากประสงค์ ปรับรูปแบบของสถานที่เพื่อการให้บริการในลักษณะที่เป็นร้านจําหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสามารถขออนุญาตดําเนินการได้โดยปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ใน ข้อ 4 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 41) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2565 

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๒)

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๒)

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๒)


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 ซึ่งมีการประชุมศบค.ชุดใหญ่ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงมติศบค. ดังนี้ 

 

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉิน-ปรับโซนสีโควิด

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุม  ศบค.เห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 2 เดือน ระหว่าง 1 ก.พ.-31 มี.ค. 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

พร้อมกันนี้ยังเห็นชอบปรับโซนสีโควิดล่าสุด ด้วยการระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 ม.ค. นับตั้งแต่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้แก่

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่  

  • พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จากเดิม 69 จังหวัด เหลือ 44 จังหวัด 
  • พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด (สีเหลือง) 25 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ชัยภูมิ นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส บึงกาฬ ปัตตานี พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ ยะลา ลำปาง ลำพูน เลย สกลนคร สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี 
  • พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) ยังคงไว้ 8 จังหวัดเท่าเดิม ได้แก่ กทม. กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต และบางอำเภอใน 18 จังหวัด 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมและกิจการที่มีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่สีส้มและสีเหลือง อาทิ พื้นที่สีส้ม ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 500 คน ส่วนพื้นที่สีเหลืองห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 1,000 คน ขณะที่การรับประทานอาหารในร้านอาหาร พื้นที่สีส้มสามารถบริโภคในร้านได้ตามปกติ แต่ห้ามบริโภคสุราและเครื่องแอลกอฮอล์ ส่วนพื้นที่สีเหลือง เปิดบริโภคในร้านได้ตามปกติ โดยไม่ห้ามบริโภคสุราและเครื่องแอลกอฮอล์ในร้าน 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

นอกจากนี้ ยังมีการปรับเวลาเปิดให้บริโภคแอลกอฮอล์ภายในร้านอาหารในพื้นที่สีฟ้าและสีเหลือง จากเดิมถึงเวลา 21.000 น. เป็นถึงเวลา 23.00 น. เฉพาะร้านที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ หรือ Thailand Stop Covid 2 Plus และมีมาตรการ Covid Free setting โดยในส่วนนี้ฝ่ายความมั่นคงที่จะลงพื้นที่ตรวจต้องมีความเคร่งครัด 

 

หากร้านไหนไม่สามารถดำเนินการได้จำเป็นต้องสั่งปิดก็ให้ปิด หากไม่สามารถทำได้ ผอ.ศบค.ระบุว่าต้องพิจารณาบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือย่อหย่อนในการรับผิดชอบนั้นๆ ซึ่งผอ.ศบค.เน้นถึงในเรื่องนี้ถึง 2-3 รอบ ในส่วนผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่จะดำเนินการปรับรูปแบบให้เป็นร้านอาหารที่ต้องมีการขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จากเดิมกำหนดระยะเวลาขออนุญาตภายในวันที่ 15 ม.ค. เป็นไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่ขอให้รักษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด

 

มาตรการ Work from Home 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขณะที่มาตรการ Work from home ไม่ขยายระยะเวลาเพิ่ม แต่ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและการพิจารณาของแต่ละหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ออกมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกิจกรรมและกิจการ 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

มาตรการการเปิดเรียน

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า แต่อีกประเด็นหนึ่งที่มีนักวิชาการถามถึงคือเรื่องของสถานศึกษาที่ปัจจุบันมี 3 หมื่นกว่าแห่ง แต่มีการเปิดเรียนเปิดสอนในพื้นที่เพียง 1.7 หมื่นกว่าแห่ง นายกฯได้มอบหมายให้ ผอ.ศปก.ศบค.หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรให้นักเรียนได้กลับมาเรียนในโรงเรียนหรือไม่ อย่างไร และควรมีมาตรการอย่างไร หากสามารถกลับมาเรียนในพื้นที่ได้แล้ว การสวมหน้ากาก รวมถึงการตรวจ ATK ตามความเหมาะสมจะเป็นสิ่งจำเป็น

 

มาตรการเดินทางเข้าประเทศ Test & Go

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการเดินทางเข้าประเทศด้วยรูปแบบ Test & Go ผู้ที่เดินทางเข้ามาในรูปแบบดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศได้ประโยชน์ เพราะมีการเข้ามาลงทุน ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเปิดรับการลงทะเบียนแบบเทสต์แอนด์โกอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. โดยไม่จำกัดประเทศ 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

ผู้ที่เข้ามาต้องมีการจองโรงแรมสำหรับวันที่ 1 และ 5 ที่อยู่เมืองไทย เพื่อทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จะต้องมีการซื้อประกันที่ครอบคลุม รวมถึงลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่นหมอชนะทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้ นายกฯเน้นย้ำว่าต้องมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับในนักท่องเที่ยวทุกคนที่เข้ามา 

อัพเดท มาตรการคลายล็อกดาวน์ รอบล่าสุด เริ่ม 24 ม.ค.65 อ่านรายละเอียดที่นี่

ขณะที่พื้นที่ Sandbox  มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติมในพื้นที่ อ.บางละมุง เมืองพัทยา อ.ศรีราชา อ.เกาะสีชัง อ.สัตหีบ เฉพาะ ต.นาจอมเทียนและ ต.บางเสร่ ของจ.ชลบุรี รวมถึง จ.ตราด เฉพาะเกาะช้าง

 

 

 

อ่านรายละเอียดที่นี่ : ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔๒)