ผู้ประกันตนมาตรา 40 "29 จังหวัดสีแดงเข้ม" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

13 ส.ค. 2564 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ส.ค. 2564 | 20:06 น.
18.4 k

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม รีบสำรวจด่วน สมัครพร้อมเพย์แล้วหรือยัง หรือมีแล้วได้ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน แล้วหรือยัง ถ้ายังรีบดำเนินการด่วน สำนักงานประกันสังคมย้ำ เพื่อรับเงินเยียวยา ให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนเท่านั้น

คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 10 ส.ค.64 อนุมัติโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัดสีแดงเข้ม กรอบวงเงินจำนวน 33,471.0050 ล้านบาท 

ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน โพสต์ข้อความว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อรับเงินเยียวยา ให้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนเท่านั้น

ผู้ประกันตนมาตรา 40 \"29 จังหวัดสีแดงเข้ม\" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รีบสำรวจด่วนว่า มีบัญชีพร้อมเพย์แล้วหรือยังและได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนแล้วหรือยัง

ผู้ประกันตนมาตรา 40 \"29 จังหวัดสีแดงเข้ม\" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

เพจเฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand โพสต์ความว่า สมัคร“พร้อมเพย์”สุดง่าย ใช้งานสะดวก เพียงแค่มีบัญชีเงินฝาก แล้วผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ ปลอดภัย ไม่ต้องออกไปสาขา ดูข้อมูลการสมัครเพิ่มเติม(คลิกที่นี่)

ผู้ประกันตนมาตรา 40 \"29 จังหวัดสีแดงเข้ม\" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

พร้อมเพย์ (PromptPay) คืออะไร

พร้อมเพย์ คือ บริการโอนเงินและรับเงินที่จะทำให้ธุรกรรมทางการเงินสะดวกและง่ายขึ้น เพียงผูกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ท่านมีกับหมายเลขอ้างอิง (proxy ID) เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ดังนั้นแค่รู้หมายเลขบัตรประชาชน หรือจำหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนได้ ก็สามารถทำธุรกรรมได้เลย ไม่จำเป็นต้องจำหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคาร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 \"29 จังหวัดสีแดงเข้ม\" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

ที่ผ่านมา พร้อมเพย์มีบริการต่อยอดอื่น ๆ ออกมาเป็นระยะ เช่น พร้อมเพย์ e-Wallet ซึ่งเป็นการผูกพร้อมเพย์กับเลขบัญชี e-Wallet ที่ช่วยให้การโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารและบัญชี e-Wallet ของผู้ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ทำได้สะดวกขึ้น หรือ Thai QR Payment บริการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการจ่ายเงินมากขึ้น โดยท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพร้อมเพย์ได้ที่นี่

ประโยชน์ของพร้อมเพย์คืออะไร

  • สะดวก รวดเร็ว สามารถทำธุรกรรมโอน-รับ-จ่ายเงิน ได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ พร้อมเพย์ยังเป็นช่องทางสำคัญในการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐ รวมถึงการรับคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (กรณีขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขทะเบียนนิติบุคคล) ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับเงินจากภาครัฐอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
  • ปลอดภัย ในแง่ของการลดการใช้เงินสด ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องพกเงินจำนวนมากติดตัว อีกทั้งระบบกลางพร้อมเพย์ยังมีความมั่นคงปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับ

อยากลงทะเบียนพร้อมเพย์ ต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะลงทะเบียนพร้อมเพย์ได้จะต้องมีบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่งก่อน หลังจากนั้นจึงลงทะเบียนผูกบัญชีธนาคารเข้ากับพร้อมเพย์ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขอ้างอิงใด เช่น หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ในกรณีที่ต้องการรับเงินสวัสดิการต่าง ๆ จากภาครัฐจะต้องผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน ในขณะที่หากต้องการความสะดวกในการรับโอนเงินจากผู้อื่นได้ง่าย ๆ ไม่ต้องจดจำเลขบัญชีธนาคารอาจเลือกผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ

การลงทะเบียนพร้อมเพย์นั้นสามารถดำเนินการได้ที่ธนาคารทุกสาขา โดยมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ธนาคารส่วนใหญ่ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาธนาคารด้วย เช่น ลงทะเบียนผ่าน mobile banking, internet banking, ตู้ ATM หรือ call center ซึ่งท่านสามารถศึกษาวิธีการและช่องทางการลงทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

ขั้นตอนและช่องทางการลงทะเบียนพร้อมเพย์ของแต่ละธนาคาร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 \"29 จังหวัดสีแดงเข้ม\" รีบผูกพร้อมเพย์ รับเงินเยียวยา

ธนาคารกรุงเทพ(คลิกที่นี่)

ธนาคารกรุงไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารกสิกรไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย(คลิกที่นี่)

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(คลิกที่นี่)

ธนาคารทิสโก้(คลิกที่นี่)

ธนาคารไทยเครดิต(คลิกที่นี่)

ธนาคารไทยพาณิชย์(คลิกที่นี่)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(คลิกที่นี่)

ธนาคารยูโอบี(คลิกที่นี่)

ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(คลิกที่นี่)

ธนาคารออมสิน(คลิกที่นี่)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(คลิกที่นี่)

ธนาคารอิสลาม(คลิกที่นี่)

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย , สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน