ยูโอบี แนะธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งสู้ดิจิทัล ฝ่าคลื่นวิกฤตโควิด

07 ก.ค. 2564 | 15:59 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ค. 2564 | 23:30 น.

ธนาคารยูโอบี แนะปรับเปลี่ยนธุรกิจเอสเอ็มอีสู่ดิจิทัล เพื่อเป็นกุญแจสำคัญสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง่วิกฤตโควิด-19 พร้อมเผยเคล็ดลับ 6 ขั้นตอนบันไดเริ่มต้นนำดิจิทัลเสริมเขี้ยวเล็บ

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน  เอสเอ็มอี จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัลอย่างเป็นการเร่งด่วน (Digital Transformation - DX)

 

 

นอกเหนือจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีแล้ว เอสเอ็มอี ต้องแน่ใจว่าฟังก์ชันทางธุรกิจทั้งหมดพร้อมแล้วสำหรับกระบวนการปรับสู่ดิจิทัล  ทั้งนี้ตามรายงาน Digital Transformation: Reshaping The Way  We Work  โดยธนาคารยูโอบี  ร่วมกับ Digital Reality บริษัทให้คำปรึกษาและบริหารจัดการธุรกิจดิจิทัล ได้แนะนำเอสเอ็มอีในการเริ่มต้นเส้นทางธุรกิจดิจิทัลด้วยกรอบแนวคิด 'ASSESS' ซึ่งประกอบด้วย

1. Ascertain the problem(s): ตรวจสอบปัญหา อันดับแรก เอสเอ็มอีจะต้องระบุปัญหา/ความท้าทายที่สำคัญที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ และวิเคราะห์ว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการไหนบ้างที่พนักงานใช้เวลามากเกินไปในดำเนินการ

 

2.Set goals:  กำหนดเป้าหมาย จากนั้น เอสเอ็มอีจะต้องกำหนดเป้าหมายและระบุส่วนงาน / กระบวนการที่ต้องการปรับปรุงเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ดิจิทัล  เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอียังคงขีดความสามารถด้านการแข่งขันในตลาดได้อย่างเหมาะสม

 

3. Select partners : ค้นหาพันธมิตรทางธุรกิจ หลังจากที่กำหนดเป้าหมายแล้ว เอสเอ็มอีจะต้องเลือกพันธมิตรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล ซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่ม ขึ้นอยู่กับขอบเขตการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรที่เป็นบริษัทผู้จัดหาเทคโนโลยีหรือดิจิทัลโซลูชันโดยตรง นอกจากนี้การเป็นพันธมิตรกับ อาทิ ธนาคาร อาจช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงไปถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ / เงินช่วยเหลือจากภาครัฐเพราะการเลือกพันธมิตรที่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐ จะยิ่งเป็นโอกาสที่ดีในการได้รับการสนับสนุนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

4. Empower employees: เสริมสร้างขีดความสามารถให้กับพนักงานเมื่อ เอสเอ็มอี จะปรับตัว ฟันเฟืองขับเคลื่อนองค์กรชิ้นสำคัญอย่างพนักงานจึงต้องมีความพร้อมในการก้าวสู่ดิจิทัลด้วยเช่นกัน เอสเอ็มอีจึงต้องจัดฝึกอบรม ให้ความรู้ให้แก่พนักงาน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างทักษะ เพื่อเตรียมพร้อมและให้เห็นประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลที่จะช่วยให้ชีวิตการทำงานของพวกเขาดีขึ้น

 

5. Streamline processes เพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการทำงาน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเอสเอ็มอีสู่ดิจิทัลอาจสร้างแรงกดดันให้กับพนักงานที่ไม่คุ้นเคยกับความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรรวมพนักงาน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำโซลูชัน หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาทดลองใช้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่องค์กรนำเข้ามาใช้ จะช่วยแก้ปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่อย่างไร นอกจากจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ก็จะเห็นถึงประโยชน์และยอมรับได้ง่ายขึ้น เพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการทำงาน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเอสเอ็มอีสู่ดิจิทัลอาจสร้างแรงกดดันให้กับพนักงานที่ไม่คุ้นเคยกับความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรรวมพนักงาน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการนำโซลูชัน หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาทดลองใช้ เพื่อชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่องค์กรนำเข้ามาใช้ จะช่วยแก้ปัญหาที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่อย่างไร นอกจากจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าพวกเขาอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ก็จะเห็นถึงประโยชน์และยอมรับได้ง่ายขึ้น

 

6. Support forward-thinking ideas: สนับสนุนไอเดียที่ก้าวล้ำ: เอสเอ็มอีจำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างยอมรับนวัตกรรมและไอเดียใหม่ๆ  สภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการคิดค้นและเสนอแนะสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้เอสเอ็มอีประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัล

 

 

 

 

 

ยูโอบี แนะธุรกิจเอสเอ็มอีมุ่งสู้ดิจิทัล ฝ่าคลื่นวิกฤตโควิด

 

สำหรับเอสเอ็มอีที่สนใจปรับเปลี่ยนสู่ธุรกิจดิจิทัล หรือกำลังปรับเปลี่ยน  สามารถเยี่ยมชมรายละเอียดโครงการ SBTP หรือลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://thefinlab.com/thailand/