เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

02 ก.ค. 2564 | 14:27 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.ค. 2564 | 22:32 น.
1.1 k

ศบค.รายงานพบ 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด ปริมณฑลและต่างจังหวัดพบ 7 แห่ง กทม.เพิ่มอีก 2 แห่ง "แคมป์ก่อสร้าง-โรงงานผลิตกระสอบพลาสติก " และมีต้องเฝ้าระวัง 113 แห่ง

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้(2 ก.ค.64)ช่วงหนึ่งว่า กรุงเทพมหานคร(กทม.) สำหรับคลัสเตอร์ใหม่ที่พบในวันนี้อยู่ในกทม. 2 แห่ง เป็นแคมป์ก่อสร้าง ซอยสุขุมวิท 50 เขตคลองเตย พบผู้ติดเชื้อ 43 ราย และโรงงาน เขตหนองแขม พบผู้ติดเชื้อ 70 รายจากการคัดกรองพนักงาน 1,300 คน และมีคลัสเตอร์โควิดต้องเฝ้าระวัง 113 แห่ง 

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง
 

ปริมณฑลและต่างจังหวัดพบ 7 คลัสเตอร์ใหม่ใน 5 จังหวัด

  • สมุทรปราการ อ.เมืองสมุทรปราการ โรงงานเฟอร์นิเจอร์ พบติดเชื้อแล้ว 22 ราย
  • นนทบุรี อ.ปากเกร็ด ตลาดเทศบาล พบติดเชื้อแล้ว 43 ราย ,อ.ปากเกร็ด ตลาดพิชัย พบติดเชื้อแล้ว 75 ราย
  • สมุทรสาคร อ.เมืองสมุทรสาคร บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก พบติดเชื้อแล้ว 12 ราย ,อ.กระทุ่มแบน โรงงานลูกชิ้น พบติดเชื้อแล้ว 11 ราย

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

  • สุราษฎร์ธานี อ.พุนพิน แคมป์ก่อสร้าง พบติดเชื้อแล้ว 11 ราย
  • ขอนแก่น อ.สีชมพู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบติดเชื้อแล้ว 45 ราย

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

เปิด 9 คลัสเตอร์ใหม่ กระจายใน 6 จังหวัด กทม.เฝ้าระวัง 113 แห่ง

 

นายกฯห่วงผู้ป่วยที่ต้องรอเตียงที่บ้าน

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงผู้ป่วยที่ต้องรอเตียงที่บ้าน และเกรงว่าจะเกิดภาวะอาการรุนแรง จึงได้สั่งการให้ทุกพื้นที่ ให้ศบค.กระทรวงสาธารณสุข กทม.ให้มีการหารือจัดการผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างเร่งด่วน โดยในสัปดาห์นี้จะมีมาตรการแยกกักกันในชุมชน โดยให้มีการจัดเตรียมสถานที่แยกกักในชุมชน (Community Isolation) หลังจากทราบผลว่าติดเชื้อแล้ว และอยู่ระหว่างการรอเตียง ซึ่งทางกทม.จะเร่งรัดจัดการให้เร็วที่สุด และทางผู้ว่ากทม.จะมีการหารือในวันนี้และมีการกำหนดมาตรการดูแลตัวเองในชุมชน รวมถึงมาตรการกักกันในชุมชนไม่นำไปสู่การแพร่ระบาดของบุคคลที่ใกล้ชิด

นอกจากนี้ ในที่ประชุม EOC ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึง ศักยภาพในการเพิ่มเตียงทั้งสีเขียว สีเหลืองและสีแดง โดยเริ่มได้ที่โรงพยาบาลบุษราคัมได้ทันที

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ทางกทม.มีบริการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ ให้กับผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ผู้มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้พิการ โดยในส่วนของผู้สูงอายุและผู้ดูแลใน Nursing home เป้าหมาย 4,615 คน เป็นผู้สูงอายุ 2,846 คน และผู้ดูแลในNursing home 1,769 คน และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ดูแล ใน 50 เขต เป็นผู้สูงอายุ 1,470 คน และผู้ดูแล 306 คน จะมีการดำเนินการฉีดวัคซีนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

ทั้งนี้ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุม EOC ยังได้หารือถึงตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ค่อนข้างสูงในสัปดาห์นี้ เป็นผู้ที่ติดเชื้อมาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และเริ่มมีอาการแย่ลงและเสียชีวิตในสัปดาห์นี้ ซึ่งหากระดมฉีดวัคซีนจะมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับผู้สูงอายุ และมีผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และ 2 กลุ่มนี้เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนจะลดอาการป่วยหนักและการเสียชีวิต

"เมื่อเริ่มฉีดประมาณ 7 มิถุนายน ต้องรอผลประมาณอย่างน้อยๆ 1-2 เดือน จึงจะเห็นว่า หลังฉีดวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลังจากฉีด 2 สัปดาห์ครบแล้ว จะทำให้ภาพรวมของประเทศมีแนวโน้มเป็นไปได้ว่า อัตราป่วยหนักและอัตราตายจะน้อยลง"พญ.อภิสมัย กล่าว

รองโฆษก ศบค. กล่าวถึง โควิดสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ติดเชื้อได้ง่าย แพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่จะเกิดความรุนแรงกับผู้สูงอายุ หรือโรคประจำตัว 7 โรค จึงได้มีการเน้นย้ำไปยังกลุ่มเสี่ยงให้มีการเพิ่มความระวัดระวังตัวด้วย