คัด"Erythro-Sed" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง"STARTUP Thailand League"

27 มิ.ย. 2564 | 18:18 น.

NIA ประกาศทีม"Erythro-Sed"สาขาการแพทย์ คว้ารางวัลสุดยอดสตาร์ทอัพลีกภาคเหนือ เป็นตัวแทนเข้าแข่ง“STARTUP Thailand League 2021 ที่ต้องชิงชัยกับตัวแทนภาคใต้จากเวทีเมืองหาดใหญ่และภาคกลางที่กรุงเทพฯ เดือนสิงหาคมนี้  

NIA ประกาศทีมErythro-Sed สาขาการแพทย์ คว้ารางวัลสุดยอดสตาร์ทอัพลีกภาคเหนือ เป็นตัวแทนเข้าแข่ง“STARTUP Thailand League 2021 ที่ต้องชิงชัยกับตัวแทนภาคใต้จากเวทีเมืองหาดใหญ่และภาคกลางที่กรุงเทพฯ เดือนสิงหาคมนี้   


 วันที่ 27 มิถุนายน 2564 ที่โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) (NIA) ได้เปิดเวทีใหญ่จัดกิจกรรม Startup Thailand League ปีที่ 5  โดยกิจกรรมที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหาสุดยอดสตาร์ทอัพระดับมหาวิทยาลัยตัวแทนภาคเหนือ เพื่อไปร่วมกิจกรรมระดับประเทศเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพระดับประเทศต่อไป     
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)         
นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA)  กล่าวว่า จากการเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ นำเสนอแผนงานธุรกิจในรอบสุดท้ายของภาคเหนือ จาก 70 ทีม ทีมชนะเลิศรางวัล Pitching Startup Thailand League ระดับอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Erythro-Sed ​​​จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม ​The Balance ​​จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม SK1 Film​​ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม Jellyfighter​​ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร​
    

โดยทีม Erythro-Sed ทีมชนะเลิศประจำภูมิภาคนี้ จะได้เข้าร่วมแข่งขันรอบสุดท้าย ชิงแชมป์สุดยอด Startup Thailand League ระดับประเทศ ประจำปี 2564 ในงาน STARTUP Thailand League: DEMO Day 2021 พร้อมโอกาสต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ ที่จะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้   
    

นายปริวรรต กล่าวย้ำว่า เวทีการแข่งขัน STARTUP Thailand League ระดับมหาวิทยาลัย คือพื้นที่จุดประกายและส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ทอัพ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพในการเติบโต  ตอบโจทย์ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้กลุ่มสตาร์ทอัพสามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน  เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมหลักของประเทศด้วย ซึ่งจะส่งผลโดยรวมต่อการยกระดับอุตสาหกรรมของไทยทั้งระบบ และส่งเสริมการสร้างรายได้ และการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย
    

สำหรับรางวัลชนะเลิศ  ทีม Erythro-Sed  สาขาการแพทย์และสาธารณสุข (MedTech/ Health Tech) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอผลงานผลิตภัณฑ์ควบคุมคุณภาพของเครื่องตรวจวัดอัตราการตกตะกอนเม็ดเลือดแดง (ESR) และการตรวจประเมินความชำนาญทางผู้ปฏิบัติการในการตรวจ ESR
    

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ทีม The Balance สาขาเกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทีมได้พัฒนาช้อนรักษ์โลกทานได้ ซึ่งทำมาจากของเหลือทางการเกษตรที่ไม่มีใครตีมูลค่า แต่กำลังถูกผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ผสมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือสหกรณ์เกษตรกร และแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่ต้นตอ
คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"     

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม SK1 Film สาขาเกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน ฟิล์มบริโภคได้ (edible film) ที่มีลักษณะเป็นวัสดุแผ่นบางที่สามารถบริโภคได้ จากพอลิเมอร์ชีวภาพ (biopolymer) หลายแหล่งที่ได้จากธรรมชาติ มีความปลอดภัยสามารถนำมาบริโภคได้ ได้แก่ เซลลูโลส แป้ง ไคโตซาน โปรตีนจากถั่วเหลือง โปรตีนจากนม โปรตีนจากข้าวโพด เจลาติน และ ไขผึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิล์มบริโภคจัดเป็นประเภทของฟิล์มที่สามารถนำมาสร้างนวัตกรรม ตอบโจทย์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันแบบใหม่ (new normal) ลดความเสี่ยงในการสัมผัสบรรจุภัณฑ์โดยตรง ในช่วงสถานการณ์ระบาดของโควิดข19 เนื่องจากฟิล์มบริโภคได้มีความสะดวกในการใช้งาน ละลายน้ำได้ดี
    

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Jellyfighter สาขาเกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เสนอผลงาน Coconut oil Gummies เป็นเยลลี่ที่ทำมาจากน้ำมันมะพร้าวซึ่งผ่านกระบวนหมักด้วยจุลินทรีย์ ที่่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพแล้วว่า มีความสามารถในการหมักน้ำมันมะพร้าวให้มีกลิ่นเหม็นหืนน้อยลง และคงคุณค่าของน้ำมันมะพร้าวให้มีกรดไขมันเป็น Medium-chain Triglyceride (MCT) เหมาะสำหรับคนที่ควบคุมน้ำหนักและอาหาร แต่มีเวลาออกกำลังกายน้อย และเลือกที่จะควบคุมปริมาณอาหารแทน
   คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"  

คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"

ปีนี้ NIA เปิดรอบคัดเลือกใน 4 ภูมิภาค นอกจากกิจกรรมที่เชียงใหม่แล้ว จะดำเนินการที่อุดรธานี สงขลา และกรุงเทพฯ  เพื่อคัดตัวแทนสตาร์ทอัพตัวแทนภาค ไปเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพระดับประเทศต่อไป 
    

นายปริวรรต กล่าวด้วยว่า การแข่งขัน Startup Thailand League 2021 เป็นเวทีแห่งโอกาสให้กับนักเรียนนักศึกษา ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาธุรกิจแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม และส่งเสริมให้กลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ หันมาสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นระบบ มีนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีช่วยขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แล้ว  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยังมุ่งหวังให้กลุ่มสตาร์ทอัพเหล่านี้ สามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มีศักยภาพ และเป็นกำลังสำคัญที่สามารถสนับสนุนการพัฒนา ยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมหลักของประเทศอีกด้วย 
    

กิจกรรมการแข่งขันธุรกิจในกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นฐานในการสร้างธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง มีโมเดลทางธุรกิจที่น่าลงทุน ผ่านเวที pitching ระดับประเทศ โดย Pitching Startup Thailand League: U-league  2021 เปิดเวทีแห่งโอกาสให้นักเรียนนักศึกษา ได้นำเสนอโมเดลธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของตน ให้กับกลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน ลูกค้า กลุ่มเป้าหมาย เพื่อต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป 
    

การแข่งขันระดับประเทศ  สุดยอด STARTUP Thailand League ประจำปี 2021 ของนิสิต นักศึกษา ทั่วประเทศ ที่จะนำเสนอแผนงานธุรกิจนวัตกรรมต่อคณะกรรมการ  ทีมที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแผนงาน จะได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ซึ่งจะนำไปจัดแสดงในงาน Startup Thailand League: Demo Day 2021 ที่จะจัดในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นลำดับต่อไป
    

ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ตามที่รัฐบาลมีนโยบายปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศ และวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรีที่ต้องการพัฒนา “วิสาหกิจเริ่มต้น เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Warrior: NEW) และกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เปิดสำหรับการเติบโตของอาเซียน” 
    

โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจ ที่สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค รวมทั้งก่อให้เกิดอุตสาหกรรม การสร้างความตระหนักและความตื่นตัว (Awareness) จิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial mindset) สู่กระบวนการบ่มเพาะและการพัฒนาผู้ประกอบการ (Incubation) ตลอดจนการการเร่งรัดธุรกิจสู่ตลาดสากล (Acceleration) ก่อให้เกิดการลงทุน (Investment) ทั้งจากการลงทุนร่วมทุน (Venture Capital) นักลงทุนบุคคล (Angel) และนักลงทุนบริษัทขนาดใหญ่ (Corporate Venture Capital) ในวิสาหกิจเริ่มต้น สนับสนุนการเร่งพัฒนาประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและสังคมฐานความรู้ 
  คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"    

คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"

โดยให้ความสำคัญแก่การเป็นพื้นที่เปิด 4 ประการได้แก่
    1) ผู้ที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent)
    2) เร่งการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Business Growth)
    3) สนับสนุนการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Investment)
    4) การสร้างและพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น (Ecosystem)
    

ในการนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee) ได้พัฒนาแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ของประเทศไทย (พ.ศ. 2559 - 2564) ซึ่งได้กำหนดแนวทางส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ของไทย โดยเร่งดำเนินการให้มีการเพิ่มบทบาทของสถาบันการศึกษา ในการสร้างความตระหนัก สร้างความตื่นตัว การบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น การบริหารจัดการนวัตกรรม ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ผลักดันให้สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งสร้างสรรค์ความคิดและนวัตกรรม ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ 
    

การพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้นนั้นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับการพัฒนารูปแบบธุรกิจนวัตกรรม (Business Model Innovation) แต่ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาจะเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี แต่ขาดองค์ความรู้ทางด้านการดำเนินธุรกิจ การออกแบบ และการตลาด ตลอดจนขาดความชำนาญในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น ด้านบัญชี ด้านนิติกรรม ด้านบุคคล     NIA จึงตั้งโปรแกรมเพื่อบ่มเพาะและเร่งสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น (Accelerator Program) เพื่อสร้างให้เกิดมาตรฐาน ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างมาตรฐานในการคัดเลือกวิสาหกิจเริ่มต้น ในระยะ Pre-Seed เพื่อพิจารณาขอรับสิทธิประโยชน์หรือเงินทุนให้เปล่า (Grants) ซึ่งจะช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข้มแข็ง และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว 
  คัด\"Erythro-Sed\" ตัวแทนภาคเหนือ เข้าชิง\"STARTUP Thailand League\"  
   ข่าวที่เกี่ยวข้อง