24 ชั่วโมง รวมพลัง"คณะแพทย์-วิศวฯ" มช. สร้างห้องความดันลบ

27 เม.ย. 2564 | 16:58 น.
865

คณะแพทย์-วิศวฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) ทุ่มแรงใจ ใส่แรงกาย สร้างห้องความดันลบ เสร็จใน 24 ชั่วโมง สยบภัย Covid-19 เพื่อรักษาผู้ป่วยเพิ่ม

คณะแพทย์-วิศวฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) ทุ่มแรงใจ ใส่แรงกาย สร้างห้องความดันลบ สยบภัย Covid-19 เพื่อรักษาผู้ป่วยเพิ่ม

24 ชั่วโมง รวมพลัง\"คณะแพทย์-วิศวฯ\" มช. สร้างห้องความดันลบ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) และมูลนิธินักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มช. สร้างห้องความดันลบ รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ระดับปานกลาง อันได้รับความเมตตาเห็นชอบเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และพระมหาเถรานุเถระ ปรับหอผู้ป่วยโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้องดังกล่าว สร้างเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง 

ห้องแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบเกิดจากเห็นชอบของพระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และ พระมหาเถรานุเถระ  ในการปรับหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. ให้เป็นวอร์ด Cohort Intermediated รองรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID -19 ระดับปานกลางที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น จำนวน 24 เตียง เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 หลังจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศ รวมถึงจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มขึ้นในวงกว้าง จำนวนผู้ป่วยในขณะนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 

การก่อสร้างเริ่มจากคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ  โลจนาภิวัฒน์ กราบมนัสการชี้แจงข้อมูล และขออนุญาต พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ และพระมหาเถรานุเถระ ขอปรับหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสงฆ์แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  ให้เป็นวอร์ด โควิด-19 ระดับปานกลาง ซึ่งได้รับความเห็นชอบ พร้อมอนุญาตให้ดำเนินการได้ทันที ด้วยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ มีอาการไข้ ปอดอักเสบ จำนวนมากกว่าที่คาดไว้อย่างยิ่ง และกำลังรอการรักษา จึงจำต้องขยายเตียงรับผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนขึ้นให้แล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับผู้ป่วยที่จะเข้ามารับการรักษา 

โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมสมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธินักศึกษาเก่าคณะวิศกรรมศาสตร์  ร่วมปรับเปลี่ยนหอผู้ป่วย ชั้น 3 ของรพ.สงฆ์แห่งรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เป็นห้อง Negative Pressure Room หรือ ห้องผู้ป่วยความดันลบ สามารถบำบัดอากาศและฆ่าเชื้อโรค ก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ แต่ละห้องมีความดันเป็นลบทำให้อากาศจากภายในห้องไม่ไหลย้อนออกภายนอก ลดการแพร่กระจายเชื้อ ก่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย รวมถึงและบุคลากรทางการแพทย์

 การปรับหอผู้ป่วย รพ.สงฆ์ฯ ให้เป็นวอร์ด Cohort Intermediated ณ ชั้น 3  รพ.สงฆ์แห่งรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เตรียมรองรับผู้ป่วยติดเชื้อCOVID-19 ที่มีอาการปอดอักเสบและไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างซับซ้อน โดยการสร้างห้องดังกล่าวประกอบด้วย การจัดทำชุดปรับระบบอากาศห้องความดันลบ ติดตั้งกล้องวงจรปิด หาครุภัณฑ์ เตรียมแนวทางการทำงาน จัดหาอัตรากำลัง ซึ่งเป็นภารกิจที่ต้องแข่งกับเวลา เบื้องต้นมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาแล้ว จำนวน 8 ราย และทยอยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นอีก ส่วนของพระสงฆ์อาพาธที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ขณะนี้ได้นิมนต์ย้ายไปยังหอผู้ป่วยชั้น 4 ในอาคารเดียวกัน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดแด่พระสงฆ์อาพาธทุกรูป และบุคลากรการแพทย์ของโรงพยาบาลฯ โดยจัดช่องทางห่างจากหอผู้ป่วยดังกล่าวด้วย

24 ชั่วโมง รวมพลัง\"คณะแพทย์-วิศวฯ\" มช. สร้างห้องความดันลบ

24 ชั่วโมง รวมพลัง\"คณะแพทย์-วิศวฯ\" มช. สร้างห้องความดันลบ

ทีมงานหลักส่วนใหญ่มาจากงานสร้างห้องฉุกเฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงดันลบ (Negative Pressure Room for Emergency Department) หรือ Emergency Room for COVID: ERC ณ บริเวณชั้น 1 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลมหาราช อาธิ ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สมาคมนักศึกษาเก่าคณะวิศกรรมศาสตร์  มช. นำโดย คุณวิวรรธน์ พงษ์เรืองเกียรติ (Gear 11) คุณธนวัช โพคะรัตน์ศิริ (Gear 27) และทีมงาน กลุ่มวิศวกรอาสาพหุภาคี คณาจารย์ นักศึกษาเก่าที่เป็นวิศวกรวิชาชีพ (สามารถติดตามรายละเอียดจากข่าวเดิมที่ https://eng.cmu.ac.th/?p=22971)

 นอกจากนี้ ยังคงใช้งานนวัตกรรมจากปีที่แล้ว คือ “หุ่นยนต์ขนส่งในอาคารผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ: CMU Aiyara Robot” ซึ่งประดิษฐ์และพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระพงษ์ ว่องรัตนะไพศาล พร้อมทีมวิจัย สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อลดการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำแนกการดูแลรักษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดเชื้อ และกลุ่มเสี่ยงที่ต้องสังเกตอาการ หุ่นยนต์ประเภทแรกใช้กับกลุ่มเสี่ยง หน้าที่หลัก คือ ส่งอาหาร ยา แก่ผู้ป่วย ตรวจวัดอุณหภูมิ และอาการ นอกจากนี้ยังเก็บภาชนะเดิม รวมถึงเสื้อผ้าใช้แล้ว หรือขยะออกจากห้องผู้ป่วย หุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 3 – 4 กม./ ชม. ใช้รีโมทควบคุม พร้อมจอมอนิเตอร์ เพื่อสื่อสารโดยเห็นหน้ากันได้ระหว่างผู้ป่วยกับทีมแพทย์ และพยาบาลผ่านอินเตอร์คอม ถือได้ว่าห้องความดันลบ รองรับผู้ป่วยโควิด-19 แห่งนี้เป็นห้องที่สร้างขึ้นเสร็จใน 24 ชั่วโมง ทั้งยังเกิดการบูรณาการนวัตกรรมที่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์อย่างแท้จริง

24 ชั่วโมง รวมพลัง\"คณะแพทย์-วิศวฯ\" มช. สร้างห้องความดันลบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง