เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน

26 ธ.ค. 2563 | 08:26 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ธ.ค. 2563 | 14:45 น.

ผู้บริหารซี.พี.แลนด์ลงพื้นที่อุดรธานี หาข้อมูลเตรียมแผนลงทุนศูนย์ประชุมรองรับการเติบโตภาคธุรกิจ รับเมกะโปรเจ็กโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่กำลังเดินหน้า เสริมโครงการซีพี ทาวเวอร์ สำนักงานให้เช่า และคอนโดมิเนียม

ผู้บริหารซี.พี.แลนด์ลงพื้นที่อุดรธานี หาข้อมูลเตรียมแผนลงทุนศูนย์ประชุมรองรับการเติบโตภาคธุรกิจ รับเมกะโปรเจ็กโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่กำลังเดินหน้า เสริมโครงการซีพี ทาวเวอร์ สำนักงานให้เช่า และคอนโดมิเนียม  

 

แม้สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 คลี่คลายลง จากการทะยอยกลับมาเดินหน้ากิจการ แต่ความไม่แน่นอนยังคงกดดันการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจต่างๆ กึงกระนั้นผู้ประกอบการยังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจในอนาคตไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวหลังการระบาดและโอกาสการเติบโตจากโครงข่ายคมนาคมที่ภาครัฐเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง   
เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน  

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารบริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) นำคณะเข้าพบ นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย  ประธานคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวโน้มการเติบโตของจังหวัด และทิศทางเศรษฐกิจธุรกิจของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นได้ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลจุดต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในอนาคต เพิ่มเติมจากที่ได้ลงทุนโครงการซี.พี.ทาวเวอร์ อุดรธานี และโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และโครงข่ายธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ของ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) ในส่วนภูมิภาค 
 

นายชัยวัฒน์ เอมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายงานบริหารอาคาร บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน)(บมจ.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การเดินทางลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยทีมงานสำรวจรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ ในครั้งนี้ ทาง บมจ. ซี.พี.แลนด์  ให้ความสำคัญการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในส่วนภูมิภาค โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้น้ำหนัก 3 จังหวัดคือ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุดรธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในหลายด้าน อาทิ ด้านโลจิสติกส์ เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของอนุลุ่มน้ำโขง (GMS) 
 
เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน

เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท  ในส่วนอาคารสำนักงานให้เช่าจะเป็นในอาคารที่ทันสมัย (Modern Tower) สามารถตอบสนองทุกความต้องการของธุรกิจ  พร้อมด้วยสิ่งสาธารณูปโภคครบถ้วน เช่น การรักษาความปลอดภัย พื้นที่จอดรถ พื้นที่ส่วนกลาง ระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีอยู่ 13 อาคาร ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค 7 จังหวัด คือ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา พิษณุโลก หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกรุงเทพฯ นอกจากนี้มีพัฒนาคอนโดมีเนียม และลงทุนพัฒนาศูนย์ประชุม(KICE) ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ของภาคอีสาน เปิดบริการมาได้ 3 ปีแล้ว ให้บริการจัดงานอีเว้นท์ต่างๆ ได้ทุกขนาด ทุกชนิด สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้โดยตรง 
 

ในด้านโลจิสติกส์และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง  จากโครงข่ายคมนาคมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย และรถไฟทางคู่ ทางบริษัทฯมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่อยู่แล้ว คือ คอนโดมีเนียม 2 แห่ง และอาคาร ซี.พีทางเออร์ 1 แห่งอยู่ จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายในการขยายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เบื้่องต้นมีแนวความคิดลงทุนก่อสร้างศูนย์ประชุม (KICE) ส่วนจะมีธุรกิจรูปแบบอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่นั้น ขอรอผลการศึกษาความเป็นไปได้ออกมาก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกไม่นาน แล้วจะเปิดเผยในรายละเอียดต่อไป 
 

ทั้งนี้ เป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ บมจ.ซี.พี.แลนด์  คือมุ่งขยายสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า เนื่องจากส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯเป็นหลัก มีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์และพัฒนาร่วมกันของนักธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน จากที่ยังใช้อาคารพาณิชย์หรือห้องประชุม ในการพบปะพูดคุยเจรจาธุรกิจ ให้หันมาใช้พื้นที่ของอาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งจะมีบรรยากาศที่สะดวกสบาย สวยงาม รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน เพราะเจ้าของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบให้กับลูกค้าเอง 
เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน  

เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน

ด้านนายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย เปิดเผยว่า เหตุที่จังหวัดอุดรธานีได้รับความสนใจด้านการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลังสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิค 19  เนื่องจากว่าที่ผ่านมาอุดรธานีสามารถควบคุมสภานการณ์ได้ดี จากการได้รับความร่วมมือในการช่วยกันรักษาและปฏิบัติตามมาตรการด้านต่างๆ ของจังหวัด จนมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์ดังกล่าวกว่า 50% ในทุกด้านทุกระดับ ภาคเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว การบริการ หันมาดำเนินการด้วยมาตรการ “ชีวิตวิถีใหม่ New Mormal” ด้วยมาตรการการรักษาความปลอดภัย ทั้งผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ 
 

พร้อมกันนี้จังหวัดอุดรธานีมีการปรับกายภาพของเมือง ให้มีความสอดรับในทุกด้านทุกมิติ ทำให้มองเห็นภาพของเมืองได้ชัดเจน สามารถให้ทุกภาคส่วนที่ต้องการเข้ามาติดต่อทำธุรกิจ การค้า การลงทุน ทำการประเมินเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เป็นเรื่องของการทำการบ้านเพื่อการเตรียมความพร้อม  ทำให้อุดรธานีมีจุดแข็งและมีศักยภาพพร้อมในการต้อนรับนักลงทุน 
 “เมืองอุดรธานีมีการเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจและอื่นๆ มานานแล้ว ยิ่งนับต่อจากนี้หลังจากที่โควิค-19 คลี่คลายไป การทำธุรกิจก็จะเปลี่ยนแปลงไป จะมีแต่สิ่งใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบการทำธุรกิจ  กลยุทธ์ของการทำธุรกิจ พฤติกรรมของการทำธุรกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งอย่างของการทำธุรกิจก็จะเปลี่ยนไป ทุกส่วนก็จะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว” นายสวาทฯกล่าว

เล็งปักหมุด“ศูนย์ประชุม”อุดรฯ ซี.พี.แลนด์รับอนาคตแนวไฮสปีดไทยจีน

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 17 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,639 วันที่ 27-29 ธันวาคม พ.ศ.2563 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอกชน‘อุดรฯ’เร่ง ปรับโครงสร้าง รองรับแรงงานคืนถิ่น2แสนราย

นับหนึ่งถนนสายใหม่อุดรฯ-บึงกาฬ

นิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกแดนอีสานสร้างเม็ดเงินกว่า 2.2 หมื่นล้าน