"อิตัลไทย"ปักธงเชียงใหม่รับเมกะโปรเจ็กภาคเหนือ

10 ธ.ค. 2563 | 13:38 น.
561

“อิตัลไทย” ทุ่ม 35 ล้านเปิด“อิตัลไทย เซ็นเตอร์ เชียงใหม่” ศูนย์จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแบบครบวงจร หวังเป็นฮับภาคเหนือ ตั้งเป้ายอดขายปีละ 200 ล้านบาท

อิตัลไทย” ทุ่มงบ 35 ล้านเดินหน้า“อิตัลไทย เซ็นเตอร์ เชียงใหม่เปิดศูนย์จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแบบครบวงจร หวังเป็นฮับภาคเหนือ ตั้งเป้ายอดขายประมาณ 200 ล้านบาท/ปี

อิตัลไทยอุตสาหกรรม เปิด “อิตัลไทย เซ็นเตอร์ เชียงใหม่” ศูนย์จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแบบครบวงจรแห่งล่าสุดที่อำเภอสารภี รับผิดชอบดูแลลูกค้า 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน เพื่อรองรับโอกาสจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะงานก่อสร้างถนนและสะพานที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง    
\"อิตัลไทย\"ปักธงเชียงใหม่รับเมกะโปรเจ็กภาคเหนือ     

นายยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม จำกัด หรือ (ITI)ผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรกลหนักแบรนด์ชั้นนำระดับโลก อาทิ วอลโว่  ทาดาโน  เอสดีแอลจี  ยูตง  มาเอดะ พาวเวอร์ เคิร์บเบอร์ แอนด์ พาวเวอร์ เพฟเวอร์ และ อัลมิกซ์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เปิด"อิตัลไทย เซ็นเตอร์ เชียงใหม่" ศูนย์จัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขายเครื่องจักรกลหนักแห่งล่าสุด ที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบดูแลลูกค้าในพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรองรับโอกาสเติบโต ของตลาดเครื่องจักรกลหนักทางภาคเหนือ ที่ยังคงเปิดกว้างจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ อาทิ งานก่อสร้างถนน สะพาน ระบบราง รวมถึงโครงการมอเตอร์เวย์ที่อยู่ระหว่างการศึกษา  เป็นต้น
    

อิตัลไทย เซ็นเตอร์ เชียงใหม่ เป็นศูนย์บริการแบบ 3S (Sell – Service – Spare part) ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทั้งกลุ่มงานก่อสร้าง กลุ่มงานถนน กลุ่มงานเหมืองและโรงโม่ รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ได้แบบครบวงจร              ตั้งแต่ 1.งานขายเครื่องจักรกลหนัก (Sell) อาทิ รถขุด รถเครน รถตักล้อยาง รถบรรทุก รถปูคอนกรีตแพลนท์ยางมะตอย ฯลฯ 2.งานบริการ (Service) มีทีมซ่อมบำรุงและโรงซ่อมมาตรฐานสากลพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง และ 3.งานขายอะไหล่ (Spare part) มีอะไหล่คงคลังให้บริการได้รวดเร็วทันใจ โดยเป็นศูนย์บริการแห่งที่ 3ในภาคเหนือต่อจากที่ลำปาง พิษณุโลก และเป็นสาขาล่าสุดจากทั้งหมด 15 สาขา ที่ตั้งกระจายบนพื้นที่สำคัญทั่วประเทศไทย รวมถึง ในสปป.ลาว 
    
“การจัดตั้งศูนย์อิตัลไทย ที่เชียงใหม่ครั้งนี้ เชื่อว่าจะช่วยย้ำความเชื่อมั่นต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงความพร้อมของงานบริการหลังการขาย ที่สามารถให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั้น ๆ      ในฐานะที่เป็นคู่คิดทางธุรกิจ แก่ลูกค้าในพื้นที่ภาคเหนือได้รวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น” นายยุทธชัย กล่าว
     \"อิตัลไทย\"ปักธงเชียงใหม่รับเมกะโปรเจ็กภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุยสร้างแทรมเชียงใหม่ ค่าโดยสาร 14บาท

จับตา เมกะโปรเจ็กต์ 2.4แสนล. ขยายลงทุนทางอากาศ

 

\"อิตัลไทย\"ปักธงเชียงใหม่รับเมกะโปรเจ็กภาคเหนือ

นายยุทธชัย กล่าวอีกว่า อิตัลไทยมาเปิดสาขาที่เชียงใหม่ เนื่องจากมีพันธมิตรคือ บริษัท อุดมศักดิ์ เชียงใหม่ สนับสนุนอิตัลไทยตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยสาขาเชียงใหม่มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ใช้งบลงทุน 35 ล้านบาท เพื่อให้เป็นฮับของภาคเหนือ ตั้งบนถนนเส้นหลักเข้าเชียงใหม่ และเป็นไปตามแผนขยายสาขาปีละ 2-3 สาขา โดยถัดจากเชียงใหม่จะเป็นนครราชสีมา และปีถัดไปที่เชียงราย "เราสนับสนุนคนในพื้นที่ เด็กที่จบด้านวิศวะและเครื่องกล ให้เขาได้มีที่ฝึกงาน และสร้างให้เป็นวิศวกร เป็นนักขายเครื่องจักรกลหนักได้ในพื้นที่เอง แทนที่จะเอาคนจากต่างที่มาทำงาน" 
    

เป้าหมายยอดขายแต่ละสาขาอยู่ที่ 20-25 ยูนิตต่อปี งานบริการตั้งเป้าเติบโต 5-6 % ที่เชียงใหม่ตั้งเป้าปีละ 200 ล้านบาท  แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณรถในแต่ละจังหวัด เฉพาะของบริษัท อุดมศักดิ์ เชียงใหม่ เป็นกลุ่มใหญ่ที่เราต้องดูแล ช่วง 3 ปีแรกเครื่องจักรยังใหม่ไม่ต้องดูแลเยอะ แต่หลังจากนั้นต้องใกล้ชิดเพราะถึงอายุที่ต้องซ่อมบำรุงในแต่ละส่วน ซึ่งสาขาเชียงใหม่พร้อมทั้งสต็อกอะไหล่และช่างประจำ เป็นงานระยะยาว และสัมพันธ์กับงานภาครัฐในพื้นที่ด้วย เช่น งานกรมชลประทาน งานกรมทางฯ โดยงบก่อสร้างภาคเหนือจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นโอกาสผลักดันยอดขายเครื่องจักรกลหนักได้มากขึ้น 
    

นายพิสิษฐ ตระการศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดมศักดิ์ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ต่อจากนี้เชียงใหม่จะมีงานคั่งค้างเยอะมาก อาทิ ถนนเลี่ยงเมืองของทช. วงแแหวนอีก 2 วง คือ วงแหวนแม่ริม กับวงแหวนสันกำแพง วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท เฉพาะปี 2564 งบประมาณ 2,000 ล้านบาท ไม่รวมงานที่เชียงราย และจังหวัดภาคเหนืออื่น ๆ อีก 
    

การมีศูนย์บริการในพื้นที่เป็นข้อได้เปรียบ เพราะถ้าเครื่องจักรกลหนักกำลังทำงานแล้วต้องซ่อม ศูนย์สามารถจัดหาอะไหล่และช่างมาซ่อมได้ทันที ทำให้งานไม่สะดุด ต่างจากเดิมที่ต้องพึ่งศูนย์ต่างพื้นที่ หรือจากกรุงเทพฯ ทำให้เสียเวลา งานก่อสร้างก็สะดุด เกิดความเสียหาย รวมทั้งการใช้เครื่องจักรกลหนักยังลดการใช้แรงงานคนที่หายากมากขึ้นทุกที หรือติดโควิด-19 แรงงานต่างด้าวเข้ามาไม่ได้ ทำให้งานก่อสร้างได้รับผลกระทบ เดิมงานปูนต้องใช้แรงงานเป็น 100 คน พอเปลี่ยนเป็นรถปูนคอนกรีตใช้คนแค่ 10 คน 

\"อิตัลไทย\"ปักธงเชียงใหม่รับเมกะโปรเจ็กภาคเหนือ

 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้า 11 ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,634 วันที่  10-12 ธันวาคม พ.ศ.2563