แจงกติกาใหม่ส่งแรงงานทักษะไทยไปญี่ปุ่น

26 มิ.ย. 2563 | 13:55 น.
978

    กรมการจัดหางาน เตรียมขยายตลาดแรงงานไทยในญี่ปุ่น จัดส่งแรงงานไทยที่มีทักษะเฉพาะไปทำงานใน 14 สาขาอาชีพ

 

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เชิญองค์กรผู้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ภายใต้โครงการฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 51 องค์กร ชี้แจงแนวทางการจัดส่งแรงงานไทยที่มีทักษะเฉพาะไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นใน 14 สาขาอาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่แรงงานไทยมีโอกาสในญี่ปุ่น และนับเป็นการขยายตลาดแรงงานไทย 

    

วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เมื่อเวลา 10.00 น. นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิด     การประชุม “ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงาน กรณีการจ้างแรงงานที่มีทักษะเฉพาะไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น” แก่องค์กรผู้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ภายใต้โครงการฝึกปฏิบัติงานเทคนิคไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 51 องค์กร  โดยมีนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวรายงาน และนายสายชล อกนิษฐวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านแรงงาน ณ กรุงโตเกียว ร่วมชี้แจงให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องอบรมคนหางานก่อนไปทำงานต่างประเทศ ชั้น 11 อาคารสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 กระทรวงแรงงาน
แจงกติกาใหม่ส่งแรงงานทักษะไทยไปญี่ปุ่น     

นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การจัดส่งแรงงานไทยไปประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานมุ่งเน้น และติดตามผลการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 กระทรวงแรงงานได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านข้อมูลพื้นฐาน เพื่อการจัดระบบและการพำนักของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ (MOC) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศญี่ปุ่น 4 หน่วยงาน คือกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการจัดส่งและการรับแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ จากประเทศไทยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นให้เป็นไปอย่างราบรื่น แก้ไขปัญหาในการส่งและการรับแรงงาน และปัญหาของการพำนักอยู่ในญี่ปุ่นของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ อันเป็นการคุ้มครองแรงงานซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ 
    

โดยกำหนดสาขาอาชีพของแรงงานที่มีทักษะเฉพาะในเบื้องต้นไว้ 14 สาขาอาชีพได้แก่ การบริบาล การจัดทำความสะอาดอาคาร การทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลและเครื่องมือสำหรับประกอบอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเครื่องจักร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสารสนเทศ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง การต่อเรือและอุตสาหกรรมเครื่องจักรเรือ การซ่อมแซมรถยนต์และการบำรุงรักษา อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมโรงแรม เกษตรกรรม การประมงและการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมบริการ  ซึ่งในระยะแรกประเทศญี่ปุ่นจะเปิดรับใน 4 สาขาอาชีพ คือ (1) งานบริบาล (2) งานอุตสาหกรรมก่อสร้าง (3) งานจัดการทำความสะอาดอาคาร และ (4) งานเกษตรกรรม โดยมีระยะเวลาการทำงานสูงสุด 5 ปี
    

แจงกติกาใหม่ส่งแรงงานทักษะไทยไปญี่ปุ่น

แจงกติกาใหม่ส่งแรงงานทักษะไทยไปญี่ปุ่น

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการจัดหางาน มีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการจัดส่งแรงงานไทยไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้การดำเนินแนวทางการจัดส่งแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ     ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด แต่เนื่องจากการปฏิบัติ     การจัดส่งแรงงานทักษะเฉพาะของไทยและประเทศญี่ปุ่น มีความแตกต่างจากระบบการอนุญาตผู้ฝึกงานเทคนิค      ซึ่งเป็นระบบเดิม ทั้งสองประเทศเพิ่งจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ 
    ดังนั้น             กรมการจัดหางานจึงจัดการประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานกรณีการจ้างแรงงานที่มีทักษะเฉพาะไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นให้กับภาคเอกชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้สามารถปฏิบัติงานตามแนวทางการจัดส่งแรงงานที่มีทักษะเฉพาะได้ ซึ่งจะเป็นการจุดประกายและสร้างความตระหนัก ให้องค์กรผู้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เห็นถึงความสำคัญของการจัดส่งแรงงานไทยที่มีทักษะเฉพาะไปทำงานใน 14 สาขาอาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่แรงงานไทยมีโอกาสในญี่ปุ่น และเป็นช่องทางการขยายจำนวนแรงงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีองค์กรผู้ส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ภายใต้โครงการฝึกปฏิบัติงานเทคนิคไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมจำนวน 51 องค์กร
    

“เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายการรับคนเข้าเมือง เพื่อให้ทันกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ  จึงมีแผนกำหนดสถานะของการพำนักอาศัยใหม่ให้แก่แรงงานต่างชาติ เป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะ เพื่อดึงดูดกำลังแรงงานต่างชาติให้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ก่อสร้าง      ภาคบริการโรงแรม และการบริบาลผู้สูงอายุ  โดยที่ผ่านมา รัฐบาลมีการส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมาย ในรูปแบบรัฐจัดส่งผ่านโครงการจัดส่งผู้ฝึกงานเทคนิคคนไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น กับองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติประเทศญี่ปุ่น (IM Japan) ซึ่งที่ผ่านมาแรงงานไทยได้รับความสนใจเป็น   อย่างมาก เนื่องจากมีทักษะการทำงานที่ดี มีความขยัน อดทน อย่างไรก็ดี กระทรวงแรงงานจะเร่งหามาตรการเสริม    เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะแรงงานไทย จะได้เพิ่มโอกาสในการไปทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับต่อไป ” นายสุชาติฯ กล่าว

แจงกติกาใหม่ส่งแรงงานทักษะไทยไปญี่ปุ่น