ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ “นิด้า” และผู้เชี่ยวชาญของหลักสูตร คุณรัชภูมิ จงภักดี, คุณธงชัย ปิยสันติวงศ์, คุณทรงพจน์ สายสืบ ร่วมจัดงาน Open House และแถลงข่าวโครงการอบรมทางวิชาการหลักสูตรสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่หรือ RE-Junior by NIDA รุ่นที่ 2
“ทางนิด้ามีความพร้อมที่จะพัฒนาเชิงวิชาการด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่” ผศ. ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักวิจัย สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เผยว่า โครงการอบรมทางวิชาการหลักสูตรสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่หรือ RE-Junior by NIDA จัดขึ้นเป็นรุ่นที่ 2 โดยรุ่นที่ผ่านมาได้รับความสนใจและประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในแง่ของวิชาการที่ได้รับรวมถึงการสร้างเครือข่ายในวงการอสังหาริมทรัพย์
ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เผยต่ออีกว่า โครงการนี้จะสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ให้ประสบผลสำเร็จและสร้างเครือข่ายในวงการอสังหาริมทรัพย์ โดยตลอดหลักสูตรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีประสบการณ์ตรง เพื่อนำไปเป็นแนวทางและต่อยอดการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายทรงพจน์ สายสืบ คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยว่า ทางสมาคมฯ รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตร ซึ่งนโยบายของสมาคมฯเรามุ่งเน้นการให้ความรู้ในด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างอยู่แล้ว การได้ถ่ายทอดถือได้ว่าช่วยผูุ้ประกอบการโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้มีองค์ความรู้ที่ดีและถูกต้องรวมทั้งเท่าทันต่อการออกแบบในยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำเอา Universal Design มาปรับใช้ ตลอดจนเรื่องของกฏหมาย
โครงการอบรมทางวิชาการหลักสูตรสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่หรือ RE-Junior by NIDA รุ่นที่ 2 จัดการเรียนการสอนโดยวิทยากรและคณาจารย์จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ นำโดยอาจารย์กีรติ ศตะสุข ซึ่งขณะนี้เปิดรับสมัครแล้วมีกำหนดเปิดเรียนวันที่ 7 ธันวาคม 2562 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณกีรติ ตั้งก้องเกียรติ โทรศัพท์ : 080-588-8069 หรือ Official LINE : @reprobynida
“การสร้างฐานความรู้ในด้านอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็เหมือนการตอกเสาเข็มให้กับธุรกิจนี้มีความแข็งแรง เพราะอุตสาหกรรมดังกล่าวถือเป็นรากฐานในการพัฒนาธุรกิจต่างๆอย่างต่อเนื่องในอนาคต”ผศ.ดร.ประดิษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย