เข้มสินเชื่อเกษตร-โรงสี! หวั่นหนี้เสียทะลัก เหตุรายได้เกษตรกรตกต่ำ

30 พ.ค. 2561 | 13:05 น.
อัปเดตล่าสุด :30 พ.ค. 2561 | 20:05 น.
543
300561-1228 app-BAN04_THAILAND-THAKSIN_0816_03

แบงก์ยังคุมเข้มปล่อยกู้โรงสี-เกษตร เหตุหนี้เสียยังอ่อนไหว เสี่ยงเพิ่มขึ้น ... 'กรุงเทพ' ยัน! ไม่ตัดขายหนี้ทิ้ง เน้นกลุ่มปรับตัวใช้นวัตกรรม ส่วน 'ไทยพาณิชย์' รับคุมพอร์ตเกษตร-สื่อ หลังเดินหน้าปรับโครงสร้างหนี้ กดเอ็นพีแอลเหลือ 10% ด้าน 'กรุงไทย' ดูแลลูกค้าใกล้ชิด ดึงระบบ EWS ช่วยเคาะความเสี่ยง

จากรายงานภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 1 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะเห็นว่า ภาคเกษตรกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงถึง 6.5% จากที่ติดลบ 1.3% ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกลับลดลงถึง 12.3% ตามการลดลงของราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรโดยรวมลดลง 4.8%


MP24-3369-A


นายศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารไม่มีแนวคิดตัดขายหนี้ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เพราะเป็นนโยบายธนาคารที่จะบริหารจัดการหนี้เอง ซึ่งจะทำให้ได้ราคาดีกว่าตัดขาย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องระมัดระวัง ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถปรับตัวได้ เช่น กลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร โดยเฉพาะปศุสัตว์ ที่มีความอ่อนไหวกับราคาสินค้า จากราคาเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่ลดลงค่อนข้างมาก ประกอบกับสินค้าในปัจจุบันมีมากกว่าความต้องการจริงของผู้บริโภค ทำให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ขณะที่ กลุ่มโรงสีข้าวอาการเริ่มทรงตัว

ส่วนกลุ่มยังคงมุ่งเน้น จะเป็นเอสเอ็มอีที่มีความสามารถในการแข่งขัน ใช้นวัตกรรมและใช้เครื่องจักรใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจและแข่งขันในตลาดได้ เนื่องจากเอสเอ็มอีเหล่านี้จะมีต้นทุนที่ถูกลง มีการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีโอกาสการแข่งขันที่ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ ส่วนสินเชื่อในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา ยังคงทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม

 

[caption id="attachment_285718" align="aligncenter" width="326"] ศิริเดช เอื้องอุดมสิน รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ศิริเดช เอื้องอุดมสิน
รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)[/caption]

"ตอนนี้ห่วงทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ไม่ปรับตัว ไม่มีนวัตกรรม และไม่ยอมเปลี่ยนผ่านตัวเอง อาจถูกผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันได้ อย่างผลิตเสื้อผ้า ผลิตของใช้ต่าง ๆ ที่เผชิญกับคู่แข่งภายนอกอย่าง 'จีน' ที่เข้ามาเป็นผู้ผลิตสินค้าเครื่องใช้รายใหญ่ จะเห็นว่าราคาสินค้าเครื่องใช้เหล่านี้ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้แข่งขันยาก กลุ่มพวกนี้ต้องปรับตัว"

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดลูกค้า SME และผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดย่อม บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ธนาคารให้ความระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อยังคงเป็นกลุ่มเกษตร กลุ่มเกี่ยวเนื่องเกษตร เช่น ปุ๋ย รวมถึงกลุ่มโรงสีข้าวและมีเดีย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ค่อนข้างสูง โดยโรงสีข้าวปัจจุบัน มีเอ็นพีแอลอยู่ที่ราว 10% จากยอดสินเชื่อคงค้างของกลุ่มโรงสีประมาณ 1.4 พันล้านบาท ถือว่ายังสูงมาก หากเทียบกับเอ็นพีแอลของทั้งพอร์ตเอสเอ็มอีกลุ่มที่มียอดขายไม่เกิน 500 ล้านบาท มีเอ็นพีแอลเฉลี่ยเพียง 7.6% ส่วนมีเดียปัจจุบันมีเอ็นพีแอลเฉลี่ยอยู่ที่ 8% จากพอร์ตคงค้างไม่ถึง 1 พันล้านบาท

 

[caption id="attachment_285719" align="aligncenter" width="152"] พิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดลูกค้า SME และผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดย่อม บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ พิกุล ศรีมหันต์
รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดลูกค้า SME และผู้บริหารสูงสุดลูกค้าธุรกิจขนาดย่อม บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์[/caption]

นอกจากระมัดระวังในการปล่อยกู้ใหม่ให้กับกลุ่มเหล่านี้มากขึ้นแล้ว ยังต้องควบคุมพอร์ตสินเชื่อไม่ให้มากเกินไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารได้บริหารจัดการหนี้กลุ่มโรงสีข้าว ทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ช่วยเหลือ หรือ ลูกค้ารีไฟแนนซ์ออกไป ทำให้เอ็นพีแอลไม่น่าจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อต่อไป เพื่อไม่ให้เห็นปัญหากับแบงก์ในอนาคต

ส่วนกลุ่มที่จะมุ่งเน้นการเติบโตในปีนี้จะอยู่ใน 7 อุตสาหกรรมหลัก ที่ขยายตัวสอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น ท่องเที่ยว อาหาร รีเทล เทเคคอม โลจิสติกส์ และก่อสร้าง แม้ว่าสินเชื่อในช่วง 3-4 เดือน จะทรงตัว โดยพอร์ตสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 3.6 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเติบโตที่ตั้งไว้ 7% หรือคิดเป็นการปล่อยสินเชื่อใหม่ราว ๆ 1 แสนล้านบาท


appMP33-3134-A

"กลุ่มที่ระวังยังเป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียสูง ๆ เช่น เกษตร โรงสี แม้ว่าตอนนี้เราจะแก้ปัญหาไปได้ค่อนข้างดี เหลือหนี้มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งปีนี้เราจะเน้นโตใน 7 อุตสาหกรรมหลัก ตามการโตของเศรษฐกิจ"

 

[caption id="attachment_284494" align="aligncenter" width="377"] คุณปฏิเวช ปฏิเวช สันตะวานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานธุรกิจขนาดกลาง บมจ.ธนาคารกรุงไทย[/caption]

ด้าน นายปฏิเวช สันตะวานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานธุรกิจขนาดกลาง บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า กลุ่มโรงสีข้าวยังเป็นกลุ่มที่ธนาคารดูแลอย่างใกล้ชิด แม้ว่าที่ผ่านมา ค่อนข้างจะมีปัญหา แต่ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการฟื้นตัว เนื่องจากธนาคารมีระบบที่เรียกว่า EWS หรือ Early Warning System ที่จะตรวจจับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ธนาคารสามารถบริหารจัดการพอร์ตได้ดีขึ้น โดยทั้งปีตั้งเป้าเติบโตสินเชื่ออยู่ที่ 1.5 เท่าของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) หรือ เติบโตอยู่ที่ 4-6%


……………….
เซกชัน : การเงิน โดย ฐานเศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,369 วันที่ 27-30 พ.ค. 2561 หน้า 24+23

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
คลอด "สินเชื่อเกษตรประชารัฐ" 9 หมื่นล้าน! ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร
กระทรวงเกษตรฯเตรียมชง ครม.หนุนสินเชื่อเกษตรแปลงใหญ่อังคารนี้(3พ.ค.59)

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว