14 ปี "เฟด" ปรับดอกเบี้ยอย่างไรในช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ

19 ก.ย. 2567 | 11:03 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ธ.ค. 2567 | 16:05 น.

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างไรบ้างในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการเมือง

ทุกๆ 4 ปี สหรัฐฯ จะเข้าสู่ช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นของการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ในขณะที่ผู้คนจับตามองการหาเสียงและนโยบายของผู้สมัคร มีอีกหนึ่งตัวแสดงสำคัญที่กำลังทำงานอย่างหนักอยู่เบื้องหลัง นั่นคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ "Fed"

ล่าสุด การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5 % เป็นการตัดสินใจที่ใกล้เคียงที่สุดที่ธนาคารกลางเคยเข้าสู่การผ่อนคลายนโยบายการเงินในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ แม้ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยจะไม่ค่อยคงที่ในช่วงปีเลือกตั้ง แต่การเริ่มต้นลดอัตราดอกเบี้ยใหม่ ไม่ถึง 10 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้งเคยเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือในปี 1976 และ 1984

เลือกตั้งไม่ได้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย

ธนาคารกลางของสหรัฐฯ เป็นหน่วยงานรัฐบาลกลางอิสระ และประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ และผู้กำหนดนโยบายคนอื่นๆ มักกล่าวว่าการพิจารณาด้านการเมืองรวมถึงการใกล้เข้ามาของการเลือกตั้งไม่ได้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยแต่อย่างใด

“นี่คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่สี่ในตำแหน่งของผม” พาวเวลล์กล่าวในการแถลงข่าวหลังการประชุมนโยบายของเฟดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม โดยย้ำว่าสิ่งที่ทำก่อน ระหว่าง หรือหลังการเลือกตั้งจะต้องพิจารณาจากข้อมูล แนวโน้ม และความสมดุลของความเสี่ยง ไม่ใช่พิจารณาจากสิ่งอื่น

ไม่ใช่ทุกคนจะเชื่อเฟด

โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน กล่าวเมื่อต้นปีนี้โดยคิดว่าเฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งวันที่ 5 พฤศจิกายน ขณะที่ทรัมป์กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่าประธานาธิบดีควรมีสิทธิ์พูดเกี่ยวกับการตัดสินใจของเฟด

รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต กล่าวเพียงว่าจะเคารพความเป็นอิสระของเฟด ในฐานะประธานาธิบดีจะไม่ก้าวก่ายการตัดสินใจของเฟดเด็ดขาด เธอกล่าวเมื่อเดือนที่แล้ว

อัตราดอกเบี้ยในปีเลือกตั้ง

เฟด เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในทุกปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ยกเว้นเพียงสองครั้งนับตั้งแต่ปี 1972 โดยการดำเนินการของเฟดมีทั้งการขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นใน 5 ปีที่มีการเลือกตั้ง และลดลงใน 6 ปี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่เริ่มขึ้นหนึ่งปีหรือมากกว่านั้นก่อนปีเลือกตั้ง

ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่หรือพรรคที่ควบคุมทำเนียบขาวชนะการเลือกตั้งซ้ำในสี่จากห้าปีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนวันเลือกตั้ง

ข้อยกเว้นเกิดขึ้นในปี 2000 เมื่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ ไม่สามารถรักษาทำเนียบขาวให้กับพรรคเดโมแครต และจอร์จ ดับเบิลยู บุช นำพรรครีพับลิกันกลับมาครองอำนาจ อัตราดอกเบี้ยภายใต้การนำของประธานเฟด อลัน กรีนสแปน ในปีนั้นเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนตุลาคม แม้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 5 เดือนก่อนการเลือกตั้ง

ขณะเดียวกันผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่หรือพรรคที่ควบคุมทำเนียบขาวชนะการเลือกตั้ง 5 จาก 6 ครั้งในปีที่อัตราดอกเบี้ยลดลง

ข้อยกเว้นคือในปี 1996 เมื่อบิล คลินตัน จากพรรคเดโมแครตชนะการเลือกตั้งสมัยที่สอง อัตราดอกเบี้ย ภายใต้การนำของกรีนสแปน ลดลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเดือนมกราคมถึงวันเลือกตั้ง แม้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในปีเลือกตั้งก่อนวันลงคะแนนคือ 2.56 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1984 เมื่อเฟดภายใต้การนำของพอล วอลเกอร์ ยังคงสู้กับเงินเฟ้อสูง โรนัลด์ เรแกน จากพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมากที่สุดในปีเลือกตั้งจนถึงวันเลือกตั้งคือ 2.75 เปอร์เซ็นต์ในปี 2008 เมื่อประธานเฟดเบน เบอร์นันเก กำลังลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก บารัค โอบามา นำพรรคเดโมแครตกลับมาครองทำเนียบขาว

ปีเลือกตั้งประธานาธิบดีเพียงสองครั้งนับตั้งแต่ปี 1972 ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคือในปี 2012 และ 2016 โอบามาชนะการเลือกตั้งซ้ำในครั้งแรก และทรัมป์ชนะในครั้งที่สองเพื่อนำพรรครีพับลิกันกลับมาครองทำเนียบขาว

14 ปี \"เฟด\" ปรับดอกเบี้ยอย่างไรในช่วงเลือกตั้งสหรัฐฯ

การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งสุดท้ายในปี 2020 ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดของ COVID-19 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ เจอร์โรม พาวเวลล์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสองครั้งในเดือนมีนาคมปีนั้นลง 1.50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับใกล้ศูนย์ โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครตเอาชนะทรัมป์ไปอย่างหวุดหวิดในการเลือกตั้งครั้งนั้น