6 เดือนหลังจากนี้ ทั้งธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐ ต่างพากันขานรับนโยบายรัฐบาล ลดดอกเบี้ย 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และกลุ่มเปราะบาง เป็นการเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน โดยเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) ,อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ (Prime Rate) และอัตรากำไรอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR)
ฐานเศรษฐกิจ รวบรวมลูกหนี้แต่ละประเภทที่ได้รับอานิสงส์จากการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ มีรายละเอียดและความแตกต่างดังนี้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR – Minimum Retail Rate)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ซึ่งดอกเบี้ยชนิดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับตลาดและการบริหารของธนาคาร ทำให้สามารถคาดเดาหรือวางแผนได้ยาก เป็นที่นิยมในสินเชื่อที่มีระยะเวลาการผ่อนชำระที่แน่นอน และยังเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าธนาคารชั้นดี ที่ไม่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้
อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ (Prime Rate)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้าสำหรับการกู้ซึ่งเป็นเงินบาท (Prime Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ EXIM BANK ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรือ MRR ของธนาคารพาณิชย์
อัตรากำไรอ้างอิงสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR)
หมายถึง อัตรากำไรและส่วนลดที่บริษัทจะใช้อ้างอิงกับการให้สินเชื่อประเภทมีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปสำหรับลูกค้ารายย่อย
อัตราดอกเบี้ยใหม่ หลังลดลง 0.25%ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR)
อัตราดอกเบี้ย Prime Rate
อัตรากำไรสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR)