TTB กำไรสุทธิ 1.8 หมื่นล้าน ปี 66 โต 30% คุมเข้มพอร์ตสินเชื่อ

19 ม.ค. 2567 | 16:04 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ม.ค. 2567 | 17:01 น.

TTB โชว์กำไรสุทธิปี 66 โต 30% ยืนเหนือ 1.84 หมื่นล้านบาท จากผลการดำเนินงานหลักและคุณภาพสินทรัพย์ที่ควบคุมได้ ขณะที่ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย ขยายตัว 3.24% เทียบจากผลตอบแทนที่ดีขึ้นตามแผนปรับเปลี่ยนสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อ พร้อมคุมเข้มพอร์ตสินเชื่อ

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด(มหาชน) หรือ TTB แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ในปี 2566 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 18,462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
30%
เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากผลการดำเนินงานหลักและคุณภาพสินทรัพย์ที่ควบคุมได้ ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการ
ดำเนินตามกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน รวมถึงสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการหมุน
เวียนสภาพคล่อง จากสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปยังสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้น

โดยเพื่อการรองรับการแข่งขันด้านเงินฝากในปี 2567 ธนาคารจึงดำเนินกลยุทธ์เติบโตฐานเงินฝากในไตรมาส 4/2566 เพื่อเติมสภาพ
คล่องที่เริ่มครบกำหนดภายหลังจากการทยอยทำ Pre-funding มาตั้งแต่ไตรมาส 1/2565 โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 เงินฝากรวมอยู่ที่
1,387 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลงเล็กน้อย 1% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี (YTD) ด้วยอัตราผลตอบแทนที่สูง
ธนาคารจึงเลือกใช้บัญชีเงินฝากประจำ  Up and Up เพื่อดึงลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าปัจจุบันของบัญชีเงินฝาก No-Fixed ให้ได้
รับผลตอบแทนที่สูงกว่า

ส่งผลให้เงินฝากประจำเติบโต 91% YTD และในทางกลับกันเงินฝาก No-Fixed ลดลง 33% YTD ในส่วนของเงินฝากเชิงกลยุทธ์หลัก
เช่น All-Free ยังคงสามารถเติบโต 4% YTD ตามแผนที่วางไว้ ธนาคารจะยังมุ่งมั่นบริหารจัดการฐานเงินฝากอย่างระมัดระวังพร้อมกับ
ใช้ประโยชน์จาก Digital platform เพื่อรักษาระดับผลตอบแทนโดยรวมต่อไปในอนาคต

ทีทีบียังคงขยายฐานสินเชื่ออย่างระมัดระวังโดยเน้นเติบโตสินเชื่อที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งหมุนเวียนสภาพคล่องที่ได้รับกลับคืนจากการ
ปล่อยสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปปล่อยสินเชื่อรายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างสินเชื่อสำหรับผู้บริโภค ทั้งนี้ สินเชื่อรวม ณ สิ้น
เดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 1,328 พันล้านบาท ลดลง 4% YTD ในขณะที่การปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสินเชื่อไปยังสินเชื่อรายย่อยที่ให้
ผลตอบแทนสูง ดำเนินไปได้ดีตามที่วางไว้การลดลงของสินเชื่อในไตรมาสนี้

และเป็นผลไปตามกลยุทธ์การนำสภาพคล่องจากสินเชื่อธุรกิจที่ผลตอบแทนต่ำกว่าไปเติบโตสินเชื่อในกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนขึ้นบน
ความเสี่ยงที่เหมาะสม เป็นผลให้สินเชื่อรายย่อยผลตอบแทนสูงเติบโตได้ตามเป้า นำโดยสินเชื่อรถแลกเงิน (Cash your car) เพิ่มขึ้น
24% YTD สินเชื่อบ้านแลกเงิน (Cash your home) โต 20% YTD สินเชื่อส่วนบุคคล โต 21% YTD และสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 18%
YTD เพื่อรักษาคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อธนาคารจึงยังคงให้ความสำคัญกับการเติบโตสินเชื่อโดยเน้นฐานลูกค้าเดิมและลูกค้าที่มี
ประวัติการชำระเงินที่ดี รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก Digital platform เพื่อเพิ่มผลตอบแทนรวมภายใต้กรอบความเสี่ยงที่เหมาะสม

ด้วยกลยุทธ์การปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสม เพื่อเสริมแผนการใช้สภาพคล่องและบริหารจัดการงบดุลให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพในช่วงภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้ธนาคารมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยและ NIM ที่เติบโตได้ดี
โดยรายได้ดอกเบี้ยในรอบ 12 เดือน ปี 2566 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากผลตอบแทนบนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิด
รายได้ที่ปรับตัวดีขึ้นแรงกดดันของฝั่งต้นทุนทางการเงิน

ด้านส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (NIM) ขยายตัวได้ดีเช่นกัน ที่ 29 เบสิสพอยท์ (bps) เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน มาอยู่ที่ 3.24% เทียบ
กับ 2.95% ในรอบ 12 เดือนของปีก่อน จากผลตอบแทนที่ดีขึ้นตามแผนปรับเปลี่ยนสัดส่วนของพอร์ตสินเชื่อแผนการบริหารพอร์ต
เงินลงทุน และแผน pre-funding เงินฝาก ที่ช่วยรักษาอัตรากำไรด้านดอกเบี้ย

ทั้งนี้ ในปี 2566 การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยยังคงมีความท้าทาย ลดลง 3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ส่วนใหญ่มาจาก
การรับรู้กำไรจากการซื้อคืนตราสารหนี้ AT1 บางส่วนในปี 2565 ในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการค่อนข้างทรงตัวเมื่อ
เทียบกับปีก่อนหน้าโดยรายได้ค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อและบัตรเครดิตยังคงเติบโตได้ดี ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมแบงก์แอ
สชัวรันส์และค่าธรรมเนียมกองทุนยังคงชะลอตัวตามสภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งนี้ รายได้รวมจากการดำเนินงานสำหรับ 12 เดือน
ปี 2566 เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน มาอยู่ที่ 70,961 ล้านบาท

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทีทีบีให้ความสำคัญกับการเติบโตสินเชื่อคุณภาพและปรับปรุงพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตาม
คุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิด เป็นผลให้สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ในระดับคงที่และการก่อตัวของหนี้เสียอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ โดยสินเชื่อ
ขั้นที่ 3 อยู่ที่ 41,006 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2566 ลดลงจากสิ้นปี 2565 และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 2.62% เป็นไปตาม
กรอบเป้าหมายที่วางไว้

ด้วยสถานะการเงินที่แข็งแกร่งจึงเอื้อให้ธนาคารสามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยงหรือเพิ่มระดับ LLR ผ่านการตั้ง
สำรองฯ พิเศษเป็นจำนวน 4,886 ล้านบาท เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต เป็นผลให้ในรอบ 12 เดือน ปี 2566 ธนาคารตั้ง
สำรองฯ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 22,199 ล้านบาท หากไม่รวมสำรองพิเศษ ระดับสำรองฯ อยู่ที่ 17,313 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อที่ 128 bps อยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด

ขณะเดียวกันอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 155% ณ เดือนธันวาคม 2566 เทียบช่วงเวลา
เดียวกันกับปีก่อนที่ 138% หลังค่าใช้จ่ายสำรองฯ และผลประโยชน์ทางภาษี ทีทีบีมีกำไรสุทธิที่ 18,462 ล้านบาทสำหรับ 12 เดือน ปี
2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ 8.2% จาก  6.6%
ของรอบ 12 เดือน ปี 2565