กำไรแบงก์ Q1/66 คาดเพิ่มขึ้น QoQ และ YoY "BBL"โตเด่นสุด

31 มี.ค. 2566 | 08:45 น.
อัปเดตล่าสุด :31 มี.ค. 2566 | 09:21 น.

บล.กสิกรไทย คาดกำไร Q1/66 แบงก์ 7 แห่งอยู่ที่ 4.22 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 13% ( QoQ) และ 4% (YOY ) แรงหนุนจากต้นทุนต่อรายได้ลดลง และส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิสูงขึ้น คาด BBL โตเด่นสุด

 

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย คาดกำไรรวมไตรมาส1/2566 ของธนาคารทั้ง 7แห่งภายใต้การวิเคราะห์จะอยู่ที่ 42,194 ล้านบาทเพิ่มขึ้น
13%(QoQ)และ 4% (YOY) แรงหนุนจากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลง (QoQ) และส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) สูงขึ้น (YoY) โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ (credit cost)ไตรมาส 1/2566 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามหนี้เสีย (NPL) และ NIM จะลดลงเล็กน้อย QoQ  จากผลกระทบของฤดูกาล

 

กำไรแบงก์ Q1/66 คาดเพิ่มขึ้น QoQ และ YoY \"BBL\"โตเด่นสุด

คาดว่าจะมีเพียง BBL เท่านั้นที่จะมีกำไรเพิ่มขึ้น 16.5% QoQ  และ 23.9% YoY จากการขยายตัวของ NIM และอัตราส่วนต้นทุน/รายได้และ credit cost ที่ลดลง ขณะที่เราคาดว่า TISCO จะเป็นธนาคารเดียวที่รายงานกำไรที่อ่อนแอ QoQและ YoY เล็กน้อยที่ 2 % จากรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ย (non-NII) ที่คาดว่าจะอ่อนแอลง ธนาคารส่วนใหญ่จะรายงานการเติบโตของกำไร QoQ จากอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ที่ลดลง ขณะที่คาด TTB  BBL และ KTB เท่านั้นที่จะรายงานกำไรที่เติบโต YOY

สินเชื่อรวมไตรมาส 1/ 2566 คาดทรงตัว หากอิงจากข้อมูลสินเชื่อรายเดือนของเดือน ม.ค.-ก.พ. คาดว่าสินเชื่อคงที่ในไตรมาส 1/2566 จากการชำระคืนเงินกู้กลุ่มธุกิจส่วนใหญ่จากสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งจะหักล้างการเติบโตของสินเชื่อรายอยที่เพิ่มขึ้น คาดสินเชื่อรวมของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 11.57 ล้านล้านบาท ในไตรมาส 1/2566

อย่างไรก็ตาม กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักสำรองฯ (PPOP) คาดจะเติบโต 6% QoQ และ 7.6% YOY เป็น 8.97 หมื่นล้านบาท หนุนจาก NIM ที่สูงขึ้น YoY จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานเพิ่มขึ้น และอัตราส่วนต้นทุน/รายได้ทีลดลง QoQ จากผลกระทบตามฤดูกาล คาดว่า BBL จะรายงานการเติบโตของ PPOP ที่แข็งแกร่งและโดดเด่นในไตรมาส 1/2566 เมื่อเทียบกับธนาคารอื่น

ผลกระทบเชิงบวกจากการประชุม กนง.(วันที่ 29 มี.ค.66) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.75% เมื่อวันที่ 29 มี.ค.66  มองผลกระทบเชิงบวกจากแถลงการณ์ของ กนง.ดังนี้

  • 1) กนง.มีแนโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปในระยะใกล้นี้ ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้ และส่งผลดีต่อ NIM โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับขึ้นสำหรับ MLR และ MOR มากกว่า MRR 
  • 2) กนง.คาดว่า GDP ปี 2566-67 จะเติบโต 3.6%-3.8% หนุนโดยการเติบโตของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และความกังวลด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่เริ่มผ่อนคลายลง 

 

  • 3) กนง.ปรับประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นเป็น 28-35 ล้านคนในปี 2566-67 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นรายได้จากลูกค้าที่อยู่ภายใด้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของกลุ่มธนาคาร 
  • 4) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเริ่มอ่อนแอลงในปี 2566 ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ยังมี upside risk ต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจาก pent-up cost ที่ส่งผ่านจากธุรกิจไปยังผู้บริโภค และ
  • 5) กนง.มีมุมมองเช่นเดียวกับเรา ที่ว่าความไม่แน่นอนของสถาบันการเงินทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารพณิชย์ของไทยในวงจำกัด เนื่องจากอัตราส่วน BIS ที่แข็งแกร่งของกลุ่มธุรกิจที่ 19.4% LCR ที่ 197% และอัตราสำรองหนี้สูญ (coverage ratio ) ที่ 172% ในปี 2565 โดยมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารต่างประเทศในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทย ได้แก่ ความไม่แน่นอนของเศษฐกิจโลก และวิกฤตของกลุ่มธนาคารในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

เลือก TTB และ KTB หุ้นเด่น

บล.กสิกรไทย ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มธนาคาร โดยเลือก TTB และ KTB เป็นหุ้นเด่น กลุ่มธนาคารจะเป็นกลุ่มหลักที่ได้รับประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมูลค่าหุ้นยังคงอยู่ในระดับต่ำ อิงตาม PBV ของตลาดที่ 0.62 เท่า (-1.5SD) ซึ่งได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของภาคธนาคารโลกเท่านั้น