กรุงไทยอัดงบ 1.2หมื่นล้านบาทต่อปีหนุน “อินฟินิธัส” พัฒนาแพลตฟอร์ม

14 ธ.ค. 2565 | 05:28 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ธ.ค. 2565 | 06:46 น.

กรุงไทยอัดงบปีต่อปี 1.2หมื่นล้านบาท หนุน “ อินฟินิธัส”พัฒนา-สร้างแพลตตฟอร์ม เล็งต่อยอด “เป๋าตังเปย์” ซุปเปอร์วอลเล็ต ปล่อยู้ ดิจิทัลเลนดิ้ง”

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  หลังจากแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง”ประสบความสำเร็จมีฐานลูกค้า 40ล้านคน  ธนาคารยังเห็นโอกาสพัฒนา “เป๋าตัง” ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยมุ่งขยายฐานผู้ใช้งานกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่มต้นทำงานที่มีเพียง 30% บนแอปฯเป๋าตังเป็นหลัก และเพื่อให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง

 

กรุงไทยอัดงบ 1.2หมื่นล้านบาทต่อปีหนุน “อินฟินิธัส” พัฒนาแพลตฟอร์ม

 

“เป๋าตังเปย์” จึงเป็นมิติใหม่ของแอป “เป๋าตัง” ซึ่งถูกออกแบบและพัฒนาโดยทีมคนรุ่นใหม่ INFINITAS NEXT GEN TEAM ภายใต้แนวคิด “เปย์ไปมีแต่ได้” ครอบคลุมทั้งบริการโอนเงิน เติมเงิน สแกนจ่ายผ่านคิวอาร์พร้อมเพย์ได้ทุกธนาคาร และทุกร้านค้าทั่วไทย รวมถึงใช้ชำระบิลค่าน้ำไฟโทรศัพท์ บัตรเครดิต ประกัน หรือ ค่าธรรมเนียมหน่วยงานภาครัฐ

 

“ คอนเซ็ปต์ที่ทีมงานรุ่นใหม่ INFINITAS NEXT GEN TEAM คิดขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งก้าวทำให้ “เป๋าตัง”โตขึ้นไปจาก “ซุปเปอร์แอปที่ก้าวไปสู่ “ซุปเปอร์วอลเลต” คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 3ปี  

 

ทั้งนื้ นิยามของ “ซุปเปอร์วอลเล็ต” คือ  1. ตอบโจทย์ ทุกสิ่งอย่างที่สามารถใช้จ่ายในทุกวัน  2.เรื่องการยอมรับจากผู้ใช้บริการ อย่างสม่ำเสมอ(Active) และ “เป๋าตังเปย์”คาดหวังจะเป็นส่วนหนึ่งหรือเติมเต็มของชีวิตคนรุ่นใหม่"  

 

เมื่อ “ซุปเปอร์วอลเล็ต”สามารถเติบโตเป็นอีกหนึ่งกล้ามเนื้อสำคัญของแอป “เป๋าตัง”ที่จะให้เป็น Thailand Open Digital Platformสำหรับตอบโจทย์คนไทยได้อย่างแท้จริง

 

นายผยงกล่าวเพิ่มเติมว่า  "แอปเป๋าตัง"นั้น เริ่มจากการตอบโจทย์เรื่องสวัสดิการพื้นฐานในดำรงชีวิตวันต่อวัน  วันนี้ได้ยกระดับขึ้นมาตอบโจทย์เรื่องไลฟ์สไตล์ สำหรับคนรุ่นใหม่  ที่สำคัญที่สุด “เป๋าตังเปย์” ได้สะท้อนวิวัฒนาการไอเดียของคนรุ่นใหม่ในไทย ซึ่งเป็นความภูมิใจนวัตกรคนรุ่นใหม่หรือNext Generationของอินฟินิธัสบายกรุงไทย

 

“เป๋าตังเปย์” นอกจากฟีเจอร์เน้นความสะดวกแล้ว  ที่สำคัญคือ สามารถเป็นเครื่องมือบริหารจัดการสุขภาพทางการเงินของผู้ใช้ “ เป๋าตังเปย์” ทุกมิติรวมถึงเป็นเครื่องมือให้ความรู้ทางการเงินและเงินออมของตัวเองหรือกำหนดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

“ จุดเด่นของฟีเจอร์  “เป๋าตังเปย์” นอกจาก  ความสะดวก  ที่สำคัญที่สุด เป็น “วอลเล็ต”เดียวในประเทศไทยที่ Open ย้อนหลังกลับไปเมื่อหลายปีก่อนกรุงไทยบอกว่าจะสร้างThailand Open Digital Platform วันนี้กำลังOpenอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นหัวใจ

อย่าง “เพลย์การ์ด”ที่ตอบโจทย์เรื่องความสะดวกการใช้ประโยชน์ ไม่ว่า  กิน  เที่ยว  เดินทาง สามารถตอบโจทย์ได้ด้วยความสะดวก รู้วัตถุประสงค์ของการใช้จ่าย”

 

สำหรับเป้าหมายเบื้องต้นปี2566 คาดว่าจะมีผู้ใช้ 5ล้านคน ที่สำคัญทุกย่างก้าวต้องตอบโจทย์และความความมั่นใจคนรุ่นใหม่ให้ได้  โดย “เป๋าตัวเปย์”สามารถเชื่อมบริการระหว่างประเทศได้  เพราะเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานพร้อมเพย์  ซึ่ง “เป๋าตังเปย์”ใช้ระบบOpen QR Code ที่สามารถต่อยอดใน Digital  Connectivityได้ 

 

ฉะนั้นแค่ร้านค้าคนละครึ่ง 1.6ล้านร้านค้า  ซึ่งอยู่ในอีโคซิสเต็ม   หลังจากนี้ ร้านค้าบนห้างฯก็จะรวมอยู่ในนี้ด้วย  จึงสามารถใช้ได้หลากหลายและตอบโจทย์ได้ทั้งหมด  ประกอบการมี VISA เป็นพันธมิตร  จึงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจอนาคตที่ไร้พรมแดน

 

 นายผยงกล่าวเพิ่มเติมว่า เบื้องต้นคาดว่าปีหน้าจะมีผู้ใช้ "เป๋าตังเปย์" จำนวน  5ล้านราย  แต่ด้านการใช้จ่ายนั้นหากดูความสำเร็จจากแอป “เป๋าตัง” มียอดการใช้จ่ายและการลงทุนกว่า 1แสนบาท สำหรับการลงทุนแต่ละประเภททั้งพันธบัตรรัฐบาล  หุ้นกู้ดิจิทัล หรือทองคำ  ซึ่งการต่อยอด “เป๋าตังเปย์” เป็นการเติมเต็ม ไม่ได้เหมาเข่ง แต่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน

 

ในแง่ของการใช้จ่ายนั้น เบื้องต้นขอให้มีการใช้จ่ายจริงจากผู้ใช้บริการ 5ล้านคนก่อน โดยอยากเติบโตพร้อมกับกระแสการเติบโตของคนรุ่นใหม่   ส่วนแนวโน้มในอนาคต ยังมีแผนอยู่ในโรดแมปที่จะต่อยอดออกมาเป็นระยะ  รวมถึงการปล่อยกู้ /เครดิต /ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง เหล่านี้อยู่ในโรดแมปทั้งหมด 

 

ส่วนเรื่องดิจิทัลเลนดิ้งนั้น ปัจจุบันทางทีมงานได้ดำเนินการอยู่แล้วเพียงแต่ยังไม่ประกาศความสำเร็จ  อย่างไรก็ตามอนาคตจะขยายไปให้บริการในแอปและในวอลเล็ตด้วย น่าจะเห็นได้ในปีหน้า

 

ต่อข้อถามเป้าหมายการลงทุนนั้น นายผยงกล่าวว่า ธนาคารกรุงไทยมีงบประมาณในการลงทุนสร้างแพลตฟอร์มก้าวสู่โลกอนาคต ปีละ 1.2หมื่นล้านบาทบวกลบ  ซึ่งเป็นงบประมาณปีต่อปี  เพราะการพัฒนาต้องมีนวตกร  เรื่องที่จะตอบโจทย์มูลค่า และมีพันธมิตร ส่วนอินฟินิธัสเป็นผู้พัฒนาเป็นหลัก