โจทย์สำคัญของการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ปี 2565นี้ จะมีหัวข้อหลักของการประชุม คือ เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) สะท้อนความพยายามในการผลักดันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิกไปสู่ทิศทางแห่งความยั่งยืน
หนึ่งในแนวทางการผลักดันให้เกิด Inclusive Growth จะต้องอาศัยการสนับสนุนให้กลุ่มคนต่างๆ ของสังคมเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ (Financial Inclusion) บนความคาดหวังว่า การได้รับเงินทุนที่เพียงพอ ในต้นทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง และรวดเร็ว จะช่วยให้บุคคลหรือกิจการเหล่านั้น สามารถขยายการลงทุนและเพิ่มโอกาสทางรายได้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
เมื่อเจาะเฉพาะบริบทของการเข้าถึงบริการทางการเงินใน APEC นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม ในมิติของการเข้าถึงบริการสินเชื่อรวมถึงบัตรเครดิตหรือเดบิตนั้น ไทยยังคงต่ำกว่าภาพรวมของ APEC ซึ่งเป็นโจทย์ที่ไทยสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ แม้ว่าไทยจะมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงกว่าหลายประเทศใน APEC แต่การเพิ่มอัตราการเข้าถึงทางการเงิน (Financial Access) ในฝั่งสินเชื่อสำหรับกลุ่มที่มีข้อจำกัดต่างๆ (Unserved และ Underserved) ก็ยังมีความสำคัญและจำเป็น
เนื่องจากข้อมูลจาก World Bank ชี้ว่า อัตราการใช้บริการสินเชื่อจากผู้ให้บริการด้านสินเชื่อในระบบของไทยอยู่ที่ 30.4% ต่ำกว่าภาพรวมของ APEC ที่ 38.2% เหตุผลสำคัญตามผลสำรวจการเข้าถึงบริการทางการเงินภาคครัวเรือนของธปท. ปี 2563 สะท้อนว่า มาจากข้อจำกัดด้านสถานะทางการเงินหรือรายได้ไม่เพียงพอ ไม่รู้จักไม่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์สินเชื่อ และไม่กล้าไปติดต่อสถาบันการเงิน เนื่องจากกลัวถูกปฏิเสธ ขณะที่ มีประชากรไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะยังไม่ใช้ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เนื่องจากยังไม่จำเป็นต้องใช้ (Self-Exclusion)
ภาพต่างๆ ข้างต้น ย้ำว่า ขณะที่ทางการไทยและฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยนั้น ก็คงต้องเดินเกมเพิ่มอัตราการเข้าถึงสินเชื่อในระบบไปพร้อมๆ กัน โดยแนวทางที่สามารถดำเนินการได้ ยกตัวอย่างเช่น