ผ่านโยบายการเงินไทย พร้อมแค่ไหนหลังเศรษฐกิจปีหน้าเผาจริง

04 ต.ค. 2565 | 16:24 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ต.ค. 2565 | 23:34 น.

เปิดนโยบายการเงิน และมาตรการทางด้านการเงินของไทย มีความพร้อมแค่ไหนในการรองรับวิกฤต หลังจากมีการประเมินเศรษฐกิจปีหน้าเผาจริง ไปฟังรายละเอียด และข้อมูลชุดสำคัญจาก “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการ ธปท. ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ

การดำเนินนโยบายและมาตรการทางด้านการเงิน ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก หลังจากเจอกับสถานการณ์วิกฤตซ้อนวิกฤต ทั้งการระบาดของไวรัสโควิด-19 การชะลอตัวของเศรษฐกิจกิจโลก และสงครามความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 

 

โดยการดำเนินมาตรการและนโยบายการเงินของไทย จำเป็นต้องวางแผนรองรับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดในอนาคต 

 

ล่าสุด ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวถึงแนวการดำเนินนโยบายทางด้านการเงินเอาไว้ บนเวทีงานสัมมนา Thailand Economic Outlook 2023 เรื่องเศรษฐกิจไทย ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจโลก จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ไว้อย่างน่าสนใจ

 

บริบทเศรษฐกิจล่าสุด ข้อมูลโดย ธปท.

โดยจากบริบทเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ผู้ว่าการ ธปท. ระบุถึง การดำเนินนโยบายไว้ดังนี้

 

ด้านนโยบายการเงิน 

  • ปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจ (Gradual & Measured]
  • เศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้น เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลัก แรงกดดันด้านอุปสงค์ยังจำกัด
  • หากเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนจากที่เคยคาดไว้ ก็ต้องพร้อมปรับขนาด และเงื่อนไขเวลาของการปรับดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมต่อไป

 

มาตรการทางการเงิน

  • ถอนมาตรการแบบกว้างและครอบคลุมเกือบทุกกิจการ (Broad-based) สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น เช่น ไม่ต่อมาตรการลด FIDF fee ที่จะครบ กำหนดสิ้นปี 65
  • ยังมีมาตรการที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แก้หนี้ระยะยาว และ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้

 

การดำเนินนโยบายการเงิน ข้อมูลโดย ธปท.

ส่วนการดำเนินนโยบายทางการเงินของไทยนั้น ที่ผ่านมามีข้อสงสัยต่าง ๆ ผู้ว่าการ ธปท. จึงของไขข้อสงสัยในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

 

1.ไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย “ช้าเกินไป” และ “น้อยเกินไป” หรือไม่?

  • ไม่ช้า : เศรษฐกิจไทยพื้นช้าเทียบต่างประเทศ / เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลัก แรงกดดันด้านอุปสงค์จำกัด 
  • ไม่น้อยไป : เศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว และยังมีกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องดูแลด้วยมาตรการเฉพาะจุด

 

2.ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯ ที่กว้างขึ้น จะทำให้เงินทุนไหลออกจนเงินบาทอ่อนค่าลงมาก และเงินทุนสำรองฯ ลดลงเพราะต้องใช้พยุงค่าเงินบาท?

  • ไม่ : เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อเงินทุน เช่น การฟื้นตัว / เสถียรภาพเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน / ตั้งแต่ ต้นปี ไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ (3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) / บาทอ่อนค่าจากดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าเป็นหลัก สอดคล้องกับสกุลภูมิภาค / เงินทุนสำรองฯ ลดลง ส่วนใหญ่จากการตีมูลค่าสินทรัพย์กลับเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ

 

3. บาทอ่อนค่าที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หมายความว่าประเทศขาดเสถียรภาพหรือไม่?

  • ไม่ : เสถียรภาพต่างประเทศแข็งแกร่ง เงินทุนสำรองฯ สูง โดยไทยอยู่อันดับ 12 ของโลก / % GDP อันดับ 6 / ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดกลับมาเกินดุลปี 66 ( 3,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ / 0.7% ของ GDP)

 

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายทางการเงินของไทย ข้อมูลโดย ธปท.