"เศรษฐพุฒิ" ผู้ว่าธปท.ไขปมนโยบายเงิน ถอนมาตรการวงกว้าง-คงมาตรการเฉพาะจุด

04 ต.ค. 2565 | 12:17 น.
อัปเดตล่าสุด :05 ต.ค. 2565 | 00:39 น.

"เศรษฐพุฒิ" ผู้ว่าธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่องและทั่วถึงมากขึ้นชูภาคท่องเที่ยว-การบริโภคแรงส่งหลัก "ไขปม"นโยายการเงินไทย"ปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมถอนมาตรการในวงกว้างคงมาตรการเฉพาะจุด  เหตุเศรษฐกิจเริ่มฟื้นยังมีลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวใน งานสัมมนา Thailand economics Outlook 2023 ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพ ธุรกิจในหัวข้อ "นโยบายด้านการเงิน กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน"  เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมโดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องและทั่วถึงมากขึ้นโดยธปท.ประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัว 3.3% ปีหน้า 3.8%

 

โดยมีแรงส่งหลักจากภาคการบริโภคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวโดยคาดจำนวนนักท่องเที่ยวปีนี้อยู่ที่ 9.5 ล้านคนและปีหน้าเพิ่มเป็น 21 ล้านคนขณะที่รายได้แรงงานปรับดีขึ้นทั้งรายได้เกษตรกรและรายได้นอกภาคเกษตร โดยเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ระดับ ก่อนโควิด ปลายปีนี้หรือต้นปีหน้าด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูงแต่จะกลับสู่เป้าหมายที่ระดับ 1 ถึง 3% ในปี 2566 โดยสิ้นปีนี้ จะอยู่ที่ 6.3%

 

เพราะเสถียรภาพด้านต่างประเทศเข้ม แข็งโดยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นอยู่ที่ 3.2 เท่า โดยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลกและสูงเป็นอันดับ 6 เมื่อเทียบกับ GDP

 

"บริบทเศรษฐกิจ ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลักแรงกดดันด้านอุปสงค์ยังจำกัดแต่หากเศรษฐกิจเงินเฟ้อเสถียรภาพระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนจากที่เคยคาดไว้ การดำเนินนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติเพื่อ Smooth Take off ต้องปรับแบบค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจ ธปท.พร้อมกับขนาดเงื่อนไขของการปรับดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสมต่อไป"

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อของไทยจะมีบริบทแตกต่างจากประเทศอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มากจากปัจจัยการปรับขึ้นจากพลังงานน้ำมัน   แต่จะค่อยๆคลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติราวกลางปีหน้า ภายใต้กรอบธปท.ที่ไม่เกิน3%

 

“สิ่งที่กังวลคือเงินเฟ้อทั่วโลกสูงขึ้นมากแต่บ้านเรามองเงินเฟ้อน่าจะคลี่คลายในปีหน้าซึ่งปีนี้สูงขึ้น7% ที่เราต้องค่อยปูพรมแนวนโยบายดำเนินการ ”

\"เศรษฐพุฒิ\" ผู้ว่าธปท.ไขปมนโยบายเงิน ถอนมาตรการวงกว้าง-คงมาตรการเฉพาะจุด

ที่ผ่านมามักมีคำถามจากหลายส่วนว่าเหตุใด ธปท.จึงไม่ใช้มาตรการแก้ปัญหาเงินเฟ้อรูปแบบเดียวกับต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา ดร.เศรษฐพุฒิ อธิบายว่า ปัญหาของแต่ละประเทศแตกต่างกันพร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของไทย ที่ว่า ไทยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย “ช้าเกินไป” และ “น้อยเกินไป หรือไม่?

คำตอบคือไม่ช้าเพราะ บริบทของประเทศไทยต่าง จากประเทศอื่น คือเศรษฐกิจไทยฟื้นช้าเทียบต่างประเทศ  เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยอุปทานเป็นหลัก แรงกดดันด้านอุปสงค์จํากัด

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 ขณะอัตราการขึ้นของดอกเบี้ยไม่น้อยไปเพราะเศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว และยังมีกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องดูแลด้วยมาตรการเฉพาะจุด เช่นมาตราการ3กันยายน การรวมหนี้ทุกส่วนเป็นก้อนเดียว เพื่อปรับโครงสร้างยืดระยะเวลาการชำระให้ยาวออกไป

 

คำถามที่ว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯ ที่กว้างขึ้น จะทําให้เงินทุนไหลออกจนเงินบาทอ่อนค่าลงมาก และเงินทุนสํารองฯ ลดลงเพราะต้องใช้พยุงค่าเงินบาท? ประเด็นนี้ ไม่เป็นลักษณะเช่นนั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อเงินทุน เช่น การฟื้นตัว,เสถียรภาพเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

 

และ ตั้งแต่ต้นปี ไทยยังมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ (3.5 พันล้านดอลลาร์ ) , บาทอ่อนค่าจาก ดอลลาร์สหรัฐ( USD)  แข็งค่าเป็นหลัก สอดคล้องกับสกุลภูมิภาค ,เงินทุนสํารองฯ ลดลง ส่วนใหญ่จากการตีมูลค่าสินทรัพย์กลับเป็น USD  นอกจากนี้กรณีค่า บาทอ่อนค่าที่ 38 บาท/USD หมายความว่าประเทศขาดเสถียรภาพหรือไม่?

 

ดร.เศรษฐพุฒิ ยืนยันว่า ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะเสถียรภาพต่างประเทศแข็งแกร่ง เงินทุนสํารองฯ สูง อันดับ 12 ของโลก และ % GDP อันดับ 6  ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดกลับมาเกินดุลปี 66 (3.8 $bn / 0.7% ของ GDP )

 

“ ค่าบาทอ่อน เกิดจากปัจจัยเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งค่าเงินบาทไทยอ่อนค่าอยู่ในระดับปานกลาง อยู่ที่12% จีนอยู่ที่11% ขณะดอลลาร์อยู่ที่17-18%  “  

 

สำหรับ  Beyond 2023 ... smooth takeoff แล้วจะทําอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยโตยั่งยืน?ดร.เศรษฐพุฒิ มองว่า ต้องปรับหนี้ครัวเรือนลดสู่ระดับที่ยั่งยืน ยกตัวอย่าง  ปี 53 หนี้ครัวเรือน 60% ของ GDP / ปี 62   80%  Q1ปี64  91%  ล่าสุด Q2ปี65 88%   สำหรับทางออกต้องแก้แบบครบวงจร (ก่อนก่อหนี้-ขณะเป็นหนี้-มีปัญหาชําระหนี้ ,ทําถูกหลักการ [Do's vs Don'ts]  ,มาตรการไม่ปูพรม ,ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ , ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ , ลูกหนี้-เจ้าหนี้ร่วมมือ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา รวมถึงต้องทำให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

 

ส่วนภาคการเงินช่วย facilitate ให้เศรษฐกิจเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน การลงทุนโครงสร้างฟื้นฐานคมนาคมเพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจที่จะได้รับอานิสงค์ และการลงทุนขยายด้านดิจิทัลพร้อมเพย์ฯลฯเชื่อมโยงกับประเทศทั่วโลก โดยเริ่มจากประเทศสิงคโปร์

 

อย่างไรก็ตามระดับความเสี่ยงจากการอ่อนค่าของเงินบาทเงินเฟ้อ โลก พบว่า ประเทศไทยเสี่ยงสูง 1 ใน 3 ของแรงงานไทยอยู่ภาคเกษตร , 40% ของการส่งออกอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ซึ่งน่าจะได้รับผลกระทบ

ต่อข้อถามเรื่องส่วนต่างดอกเบี้ยทำให้เงินบาทอ่อนค่า จากเงินทุนไหลออกหรือไม่ ตอบเลยว่าไม่ เพราะปัจจุบันยังไม่เห็นเงินทุนไหลออกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเงินทุนไหลเข้าไทยรวมแล้วอยู่ที่ 3.5 พันล้านดอลาร์ แม้ว่าในเดือนกันยายนจะมีเงินไหลออกบ้างราวกว่า 600 ล้านดอลลาร์สกรัฐซึ่งไม่ได้เป็นการไหลออกที่น่ากังวล

 

ขณะเดียวกัน ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่ลดลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.3-2.4 แสนล้านดอลลาร์ พบว่ามาจากการที่สกุลอื่นๆ ในทุนสำรองฯ และเมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จะทำให้มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ลดลง

 

แต่ยอมรับว่าธปท.มีการเข้าไปดูแลค่าเงินบาทในบางจังหวะ เพราะธปท.ไม่ต้องการเห็นความผันผวนแรงเกินไปเร็วเกินไป แต่การเข้าไปไม่ได้เข้าไปเพื่อไปฝืนตลาด หรือยันให้อยู่ระดับที่ธปท.ต้องการ เพราะรู้ดีว่าทำไม่ได้ เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก และไทยก็มีบทเรียนจากปี 40 ชัดเจน ว่าอะไรที่ไปฝืนตลาดมากๆ จะทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น

 

โดยสุรปเศรษฐกิจไทยจะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการอุปโภคบริโคภายในประเทศ รวมถึงหากปีหน้าท่องเที่ยวฟื้นเชื่อว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติเหมือนช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด