กสิกรไทย จับตาเงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 38 บาทใน 1เดือนข้างหน้า

24 ก.ย. 2565 | 14:22 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2565 | 21:32 น.
699

กสิกรไทยประเเมินภายใน 1 เดือนข้างหน้าเงินบาทต่อดอลลาร์ มีโอกาสอ่อนค่าอยู่ที่ 36.50 และอาจจะทดสอบ 38 บาทต่อดอลลาร์ก่อนพลิกกลับ "แข็งค่า"ที่ระดับ 35บาท/ดอลลาร์ปลายปี2565-ลุ้นเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเหตุเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงเงินเฟ้อ

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าหลังจาก ธนาคารกลางสหรัฐเฟสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75 สู่ระดับ 3.00 ถึง 3.25% คาดว่าช่วงที่เหลือยังจะปรับดอกเบี้ยขึ้นต่อเนื่อง  ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินและธนาคารกลางทุกประเทศที่จะต้องทยอยปรับดอกเบี้ยตามเช่นเดียวกับไทย

 

 อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างประเทศประมาณ 94% ที่เหลือเป็นปัจจัยในประเทศ  โดยเฟดจะขับเคลื่อนค่าเงินของโลกยิ่งส่วนต่างดอกเบี้ยกว้างขึ้น  ซึ่งทุกการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดราว 0.25%จะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าราว 0.38 สตางค์

" ภายใน 1 เดือนข้างหน้าจะเห็นเคลื่อนไหวการเคลื่อนไหวของเงินบาทต่อดอลลาร์อยู่ที่ 36.50 และอาจจะทดสอบ 38 บาทต่อดอลลาร์ได้ แต่ยังคงมุมมองค่าเงินบาทปลายปีจะกลับมาอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์บนสมมุติฐานว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาช่วยเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัด และลุ้นว่าเฟดจะเปลี่ยนจุดยืนกลับไปมองเงินเฟ้อเป็นภาวะชั่วคราวหรือไม่ จากที่ผ่านมาเฟดเปลี่ยนจุดยืนว่าเงินเฟ้อเป็นภาวะถาวร จากที่เคยมองว่าเงินเฟ้อเป็นภาวะชั่วคราวและยอมรับเศรษฐกิจจะถดถอย "

กสิกรไทย จับตาเงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 38 บาทใน 1เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดทุก 0.25% จะเพิ่มภาระดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณ 170,000 ล้านซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนถึงภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ  อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามต่อไปว่ายาที่เฟสใช้ในการดึงเงินเฟ้อลงสามารถประสบความสำเร็จหรือไม่ ซึ่งผลสำรวจระบุว่ายิ่งปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นฝั่งสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นความเจ็บปวดที่อาจมีต้นทุนมากเกินไปและในปีหน้าอาจจะมีการปรับนโยบายการเงิน

 

 สำหรับความเห็นต่อ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมเดือนกันยายนนี้ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจไทยยังไม่พร้อมเท่าที่ควรแต่เพื่อสกัดเงินเฟ้อ คาดว่าภายในสิ้นปีดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ที่ระดับ 1.25% ต่อปีโดยปรับมุมมองจากตอนแรกที่ประเมินไว้แค่ 1.00%

 

ต่อข้อถามถึงฟันด์โฟลว์นั้นนายกอบสิทธิ์กล่าวว่า ในส่วนของเงินทุนเคลื่อนย้ายทั้งในส่วนของหุ้นและในส่วนของพันธบัตร อาจจะไม่ตอบรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดหรือไม่อยากรับรู้ผลขาดทุน จึงเป็นสิ่งที่ชะลอการตัดสินใจในขณะที่การถือครองพันธบัตรในมือนักลงทุนต่างชาติไม่ได้แตกต่างจากต้นปี นอกจากนี้ถ้ามองในแง่อัตราการเติบโตของ GDP ไทยน่าจะสูงกว่า GDP สหรัฐและไทยเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตช้าน่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ปลอดภัยทำให้นักลงทุน ไม่ตัดสินใจขายสถานะของหุ้นและพันธบัตร

 

กสิกรไทย จับตาเงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 38 บาทใน 1เดือนข้างหน้า