SCB กำเงินสด 1.78 หมื่นล้าน พร้อมลุยต่อธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หลังจบ Bitkub

26 ส.ค. 2565 | 11:33 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ส.ค. 2565 | 18:47 น.
1.2 k

จับตา ยานแม่"เอสซีบี เอกซ์ "กำเงิน 1.78 หมื่นล้าน พร้อมลุยธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต่อยอด New -S Curve ในกลุ่ม หลังดีล SCBS - BITKU จากกันด้วยดี โบรกมองหนุนราคาหุ้น SCB หลังคลายล็อก มองมีโอกาสทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเอง บวกปัจจัยเศรษฐกิจฟื้น ดอกเบี้ยขาขึ้น หนุน

วานนี้ กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCB) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า บอร์ด บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS ) บริษัทในเครือ ได้ยกเลิกธุรกรรมการเข้าซื้อหุ้นใน บจก.บิทคับออนไลน์ (BITKUB) สัดส่วน 51% มูลค่าราว 1.78 หมื่นล้านบาท โดยระบุเนื่องจาก BITKUB แต่ยังมีบางประเด็นกับทาง กลต. ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องของระยะเวลาในการหาข้อสรุป ดังนั้นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจึงตัดสินในยกเลิกธุรกรรมในครั้งนี้ 


อย่างไรก็ดีนายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SCB  ระบุช่วงหนึ่งว่า ทั้ง SCB และบล.ไทยพาณิชย์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ธุรกิจในด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจและภาคการเงินของประเทศไทย


บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ระบุว่า กรณี SCBS ประกาศยกเลิกดีลการเข้าลงทุนใน Bitkub มองว่าเป็นข่าวบวกสำหรับ SCB เพราะถือเป็นการทำให้ธนาคารปลดตัวเองออกมาจากประเด็นลบที่กดดันราคาหุ้นมานาน ทั้งนี้ การยกเลิกดีลนี้ไม่ได้ทำให้ประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายของเรามีการเปลี่ยนแปลง โดยยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” SCB บนราคาเป้าหมายที่ 133 บาท

 


ปลดตัวเองจากประเด็นลบที่กดดัน


มองว่าการล้มดีลนี้ถือเป็นข่าวบวกกับ SCB เพราะถือว่าธนาคารได้ปลดตัวเองออกมาจากความยุ่งยาก และประเด็นที่ตลาดกังวลค้างคามานาน ซึ่งตลาดมองว่าเป็นการดีลการลงทุนนี้ค่อนข้างแพง อีกทั้งการละเมิดข้อกำหนด ก.ล.ต. ของ Bitkub ในอดีตที่ผ่านมา อาจจะทำให้ชื่อเสียงของ SCB ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยในช่วงกลางปีที่ผ่านมานี้ ก.ล.ต. ได้สั่งปรับ Bitkub จากการสร้างมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในตลาด ถึงแม้ว่าความผิดนี้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน แต่สะท้อนถึงความน่าสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงานและธรรมาภิบาลของ Bitkub


เดินหน้าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลต่อ


ถึงแม้ว่า SCB จะยกเลิกข้อตกลงการเข้าลงทุนใน Bitkub แต่เราไม่คิดว่า SCB จะนำเงินลงทุนก้อนนี้ไปจ่ายเป็นเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้นอย่างที่ตลาดคาดไว้ แต่เราเชื่อว่า SCB น่าจะเดินหน้าหาช่องทางขยายธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจการธนาคารแบบดั้งเดิม  โดยอาศัยการดำเนินงานและการพัฒนาจากภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ SCBS (SCB securities) ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาดซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัลสำหรับ cryptocurrency และ digital token จาก ก.ล.ต. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564

 

ซึ่งแม้ว่า SCB อาจจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมา แต่มีแนวโน้มว่าจะใช้เม็ดเงินการลงทุนที่น้อยกว่าดีล Bitkub แน่นอน ด้วยธนาคารมีรากฐานแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และภาพลักษณ์ที่โปร่งใสของ SCB ทำให้เรามองว่า SCB จะขยายกิจการไปสู่ธุรกิจนี้ได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้การยกเลิกดีลซื้อ Bitkub ไม่ได้ทำให้ประมาณการกำไร และราคาเป้าหมายของเราเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” SCB และคงราคาเป้าหมายเอาที่ 133 บาท

 

ด้านบล.เอเซียพลัส ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ ( 26 ส.ค.) ว่าที่ SCBS ยกเลิกซื้อ"บิทคับ ออนไลน์"  ทำให้ความไม่ชัดเจนของธุรกรรมนี้คลี่คลายลง หนุนราคาหุ้น SCB วานนี้ปิดบวกราว 6% เทียบกับ SET Index +0.73% DOD

 

ซื้อ กับ ไม่ซื้อ แตกต่างกันอย่างไร?

 

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯ ไม่ได้รวมกำไรของ BITKUB ไว้ในประมาณการปี 2565 (สัดส่วนกำไรสุทธิ 1H65 คิดเป็นสัดส่วน 52% ของประมาณการ ปี 2565 – 2567 ) จึงยังคงประมาณการเดิม

โดยต้องติดตามว่าบริษัทฯ จะนำเงินสด 1.78 หมื่นล้านบาทไปบริหารจัดการในรูปแบบใด อาทิเช่น เพิ่มนโยบายการจ่ายเงินปันผล, ซื้อหุ้นคืน เพื่อยกระดับ ROE (1H65 ที่ 9.1%) อีกทั้งไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเกณฑ์ Digital Asset Business limit ที่กำหนดมูลค่าเงินลงทุน ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน (ร่างฯ อยู่ระหว่างรอประกาศอย่างเป็นทางการ) 

 

รายละเอียดตาม Industry update 8 ก.ค. 65 (LINK) หรือนำไปต่อยอดการเติบโตใน บ. ย่อย ของยานแม่ เช่น CARDX, AUTOX เพื่อรุกธุรกิจสินเชื่อจำนำรถยนต์รวมถึง Alpha X ขยายตลาดสินเชื่อรถยนต์หรูกับ บมจ. มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น(เอเชีย) หรือ MGC (จำหน่ายรถยนต์ BMW, Mini, Rolls-Royce ฯลฯ) ซึ่งปัจจุบัน MGC อยู่ระหว่างยื่น Filling เพื่อเสนอขาย IPO (จดทะเบียนในกลุ่มยานยนต์) 

 

ทำให้ฝ่ายวิจัย ฯ มองว่ากรณีที่ MGC ระดมทุนแล้วเสร็จ น่าจะเริ่มเห็นการขยายตัวของสินเชื่อกลุ่มรถยนต์หรูชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงต่อยอดในธุรกิจ New S-Curve อื่นๆ อย่าง SCB10X 

 

ในอีกด้านการล้มเลิกธุรกรรมในครั้งนี้ แม้หากพิจารณากำไรสุทธิปี 2564 ของ BITKUB อยู่ที่ 2.55 พันล้านบาท (80 ล้านบาทในปี 2563) คิดกำไรตามสัดส่วนการถือหุ้นที่ SCB เคยจะเข้าซื้อจะอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 3% ของประมาณการปี 2565 - 67 แต่หากพิจาณามูลค่าการซื้อขาย Digital Asset (DA) ในไทยพบว่า ก.ค. 65เท่ากับ 7.1 หมื่นล้านบาท ลดจากจุดสูงสุดของปี 2564 ช่วง พ.ย. 64 ที่ 2.5 แสนล้านบาทประมาณ 72% ภาพรวมจึงมองว่าแม้ธุรกรรมเกิดขึ้น ผลบวกต่อประมาณการจำกัดมาก


อีกทั้ง SCBS มีใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) จาก ก.ล.ต. อยู่แล้ว มีความเป็นไปได้หากสภาวะตลาด DA ผันผวนลดลง ทาง SCBS อาจเริ่มต้นธุรกิจเอง โดยอาศัยจุดเด่นจากการเป็น บ. ย่อย ของ SCB ที่มีความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุน หลังช่วงที่ผ่านมามีข่าวด้านลบเกิดขึ้นกับ Exchange รายหนึ่ง 

 

ยังน่าสนใจ

 

อิง GGM กำหนด ROE ระยะยาวที่ 10.2% และ COE ที่ 10.1% (RF ที่ 2% ใกล้เคียงพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี สอดคล้องกับการทำประมาณการกำไร 3 ปี) ให้ PBV ที่ 1 เท่า ได้ FV ปี 2565 ที่ 140 บาท คงแนะนำ"ซื้อ" ชอบเพราะจุดยืนด้าน Fin tech ชัดเจนและการรุกธุรกิจใหม่ในกลุ่มสินเชื่อ High Yield 

 

ขณะที่ราคาหุ้นถือว่า Laggard กลุ่มฯ ปรับฐาน13% YTD เทียบ SET Index ลบ 0.85% YTD และ KTB (+26% YTD), KBANK (+11%YTD) รวมทั้ง BBL (+14.4% YTD) จากประเด็น BITKUB ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้ราคาหุ้น SCB ปรับฐานในช่วงที่ผ่านมา (2 พ.ย. 64 ที่มีข่าวธุรกรรม BITKUB ราคาหุ้น SCB อยู่ที่ 125 – 130 บาท) 

 

เชื่อว่าหลังความกังวลธุรกรรม BITKUB คลี่คลาย กอปรกับภาพแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และทิศทางอัตราดอกเบี้ยกำลังเป็นขาขึ้น สวนทางPBV ซื้อขายที่ 0.8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ปี 2564 ที่ 0.87 เท่า ซึ่งเกิด COVID-19 ในไทย ทำให้ราคาหุ้นมีโอกาสลุ้น Outperform กลุ่มฯ พร้อมคาด Div Yield ราว 4% ต่อปี  :  คลิกอ่านเพิ่มเติม