ธปท.หารือETDAหนุน Co-Sandboxพัฒนา Digital IDนิติบุคคล

24 พ.ค. 2565 | 02:41 น.
อัปเดตล่าสุด :25 พ.ค. 2565 | 00:45 น.

ธปท.เผยอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางร่วมกับETDAจัดตั้ง Co-Sandbox เปิดช่องผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์/นวัตกรรมทดสอบ หวังลดภาระแต่ละหน่วยงาน ระบุปริมาณธุรกรรมชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็น 330 ครั้งต่อคนต่อปี ขณะที่ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์แล้วเกือบ 70ล้านบัญชี

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากธปท.เปิดให้มีการทดสอบในRegulatory Sandbox โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจและตื่นตัวนำนวัตกรรมมาทดสอบจำนวน 78โครงการ

 

ประกอบด้วย  โครงการมาตรฐานการชำระเงิน(Standardized QR Code for Payment)ทั้งประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโอน/ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์และร้านค้ารายย่อยมีช่องทางรับชำระเงินด้วย

 

ซึ่งQR Codeสามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เนื่องจากต้นทุนต่ำในการวางจุดบริการอีกทั้งหลายโครงการของภาครัฐก็นำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงการระบาดของโควิด-19

 

 

2.การนำเทคโนโลยีBlockchainมาใช้เพื่อลดเวลา ลดต้นทุนและลดขั้นตอนดำเนินงาน เห็นได้จากทั้ง 2บริการคือ

 

2.1.บริการออกหนังสือค้ำประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-LG Blockchain)ส่วนใหญ่ช่วยลดเวลาเหลือเพียง 3ชั่วโมงหรือ 8ชั่วโมงขึ้นอยู่กับบริการและประเภทของลูกค้า แต่ถ้าใช้ระบบเดิมการออกหนังสือค้ำประกันต้องใช้เวลา 3-7วัน และ

 

2.2การโอนเงินระหว่างประเทศที่นำBlockchainมาใช้สามารถลดระยะเวลาเป็นกึ่งเรียลไทม์จากเดิมต้องใช้เวลา 3-5วัน

3.การนำBiometrics for e-KYCมาเริ่มใช้กับบริการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร  การพิสูจน์ยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม/ช่องทางออกไลน์และ

 

4.โครงการ P2P Lending Platformการปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนและผู้ลงทุนที่สนใจปล่อยกู้

 

ซึ่งมีบริษัทเข้าทดสอบ 4รายและได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังแล้ว 1รายโดยคืบหน้าให้บริการสินเชื่อและมีผลตอบรับค่อนข้างดีมูลค่าสินเชื่อประมาณ 57ล้านบาทจำนวน 800สัญญาคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรวมอยู่ที่ 7%จากเพดานสูงสุดกำหนดไม่เกิน 15%

 “ ขณะนี้มีผู้ประกอบการออกจากSandboxแล้ว 38ราย (QR Code 18ราย Blockchain 9 ราย  Biometrics 10 ราย และP2P Lending Platform 1ราย) และจะออกอีก 10รายในไตรมาส2ของปีนี้ส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆหรือ NDID  

 

นอกจากนี้จะมีแนวปฎิบัติหรือGuidelineสำหรับให้ผู้ประกอบการรายใหม่นำไปปฎิบัติในเร็วๆนี้ เช่น APIซึ่งได้ทำเฮียริ่งไปแล้ว  ขณะเดียวกันธปท.อยู่ระหว่างร่วมกับสพธอ.หรือETDA ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลด้าน NDID โดยมีการพูดคุยถึงการจัดตั้ง Co-Sandbox เพื่อรับนวตกรรมของผู้ประกอบการของหน่วยงานกำกับอื่นๆที่มีบริการคาบเกี่ยวกัน

ธปท.หารือETDAหนุน Co-Sandboxพัฒนา Digital IDนิติบุคคล

โดยกำลังพิจารณา  พัฒนา ศึกษาแนวทางร่วมกัน เช่นการพัฒนา “ดิจิทัลไอดี”สำหรับนิติบุคคล รวมถึงการหารือและพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กับกลต.และธปท.เพื่อกำหนดกรอบแนวทางและหลักเกณฑ์ Virtual Bank  และ Digital Currency ที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกคนมีพื้นที่ในการทดสอบใน Regulatory Sandbox ในอนาคต”  

 

สำหรับสถิติบริการโอนหรือชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ณ กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ปริมาณการทำธุรกรรมชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็น 330 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งเติบโตก้าวกระโดดจากเดิมอยู่ที่ 60 ล้านครั้งต่อคนต่อปี

 

 ขณะที่คนลงทะเบียนผูกบัญชีกับอินเทอร์เน็ตกับโมบายแบงกิ้งอยู่ที่ 125-126 ล้านบัญชี จุดวาง QR Code ปัจจุบันอยู่ที่ 7.2 ล้านจุด    และการลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์แล้ว 69.5ล้านบัญชี (รวมบัตรประชาชนกับหมายเลขโทรศัพท์)  

 

ปริมาณธุรกรรมโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 39.6ล้าน มูลค่าเฉลี่ยต่อรายการประมาณ 90%ของธุรกรรมอยู่ที่ 600 บาทต่อรายการ และยอดวงเงินต่ำกว่า 100 บาทต่อรายการมีจำนวนเพิ่มขึ้นสะท้อนการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

         

อย่างไรก็ตามสถิติการใช้บริการ NDID  ปัจจุบันมีหน่วยงานเข้าร่วมแล้ว 94หน่วยงาน  ผู้ลงทุเบียนใช้งาน NDIDแล้ว 5.1ล้านราย  เปิดบัญชีเงินฝากผ่าน NDIDสำเร็จแล้ว 7.5แสนบัญชี และขอข้อมูลเครดิตNCBเพื่อสมัครสินเชื่อแล้ว 8.1ล้านรายการ  โดยระยะต่อไปอยู่ระหว่างทำสัญญาดิจิทัลสามารถส่งผ่านช่องทางออนไลน์และจะมีบริการต่อเยอดเพิ่มเติม 

สำหรับบริการออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ e-L/G on Blockchain มีธนาคารข้าร่วมทั้งสิ้น 18 ราย บริษัทและบริษัทในเครือรวม 23 บริษัท ปริมาณธุรกรรมการออกหนังสือ e-L/G ทั้งสิ้น 6.5 หมื่นใบคิดเป็นมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมและกำลังจะออกจากการทดสอบอีก 10 ราย

นางสาวสิริธิดากล่าวเพิ่มเติมว่า  กว่า 4ปีที่ผ่านมา  พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่เข้ามาทดสอบใน Regulatory Sandbox ของธปท.เป็นธนาคารเป็นหลัก ธปท.จึงเพิ่มความหลากหลายของผู้ประกอบการ

 

เช่น สนับสนุนผู้ประกอบการที่เป็น Fintech ecosystemให้สามารถเข้ามาทดสอบได้จริง   ซึ่งผู้ประกอบการได้เรียนรู้เรื่องการกำกับ หรือดูแลความเสี่ยงของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในนวัตกรรมใหม่ๆ 

 

ต่อมาในปี 2562 ธปท.ได้ปรับปรุงยืดหยุ่นเพิ่ม โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการหรือธนาคารจัดตั้งOwn Sandbox เพื่อนำผลิตภัณฑ์  ,นวัตกรรมทดสอบในองค์กรของตัวเอง  โดยกำหนดให้จัดทำกรอบดำเนินการ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

 

  นวัตกรรมเพื่อกำกับความเสี่ยงและคัดกรองนวัตกรรมที่เหมาะสมและ ผู้ประกอบการหรือธนาคารต้องรายงานผลธปท.ทราบทุกปี โดยธปท.จะมีการติดตามผลการทดสอบด้วย

 

 ขณะเดียวกันในส่วนอของ Regulatory Sandbox ของธปท.ได้ปรับเป็นการทดสอบสำหรับโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหรือกฎหมายกำหนดให้ทดสอบที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก เช่น P2P Lending Platform เป็นต้น