ถอดรหัส แม่ทัพใหม่ บสย. “สิทธิกร ดิเรกสุนทร”

02 ก.พ. 2565 | 15:39 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.พ. 2565 | 22:40 น.

ถอดรหัสแม่ทัพ บสย.คนใหม่ “สิทธิกร ดิเรกสุนทร” ประกาศพร้อมลุยภารกิจ “ค้ำประกันสินเชื่อ“ ยุคดิจิทัล กับแนวคิด “TCG Fast & First ” รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร  กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เปิดเผยว่า โจทย์ใหญ่ในวันนี้คือ โลกเปลี่ยนเร็ว โมเดลแบบเดิมไม่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจในอนาคต เห็นได้จากจุดเปลี่ยนของโลกการเงิน ในยุคดิจิทัล สู่โมเดลและโครงสร้างใหม่บนโลกธุรกิจ ก้าวไปข้างหน้าด้วยการพลิกโฉมสู่  Fintech Company

นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร  กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

 

ดังนั้น  “TCG Fast & First” รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs  โดยใช้ Digital เป็นตัวขับเคลื่อน จึงเป็นแนวคิดการพลิกโฉมองค์กรที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมๆ กับการปลุกพลังภายในองค์กร ด้วยกรอบและแนวทางที่ชัดเจนตามที่วางไว้ ซึ่งได้แก่ 

  1. วาง Position ใหม่ของ บสย. ให้ “ก้าวไปดักรอข้างหน้า” ในการให้บริการและการดูแลลูกค้า SMEs  เพื่อไปสู่การเป็นที่หนึ่งในใจ SMEs
  2. นำ Digital Technology เป็นเครื่องมือในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการของ บสย. ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ขายที่เป็นกลุ่มฐานราก ตลอดจนกลุ่มอาชีพอิสระ และกลุ่มผู้ค้าขาย Online  
  3. ขยาย 2 บทบาทตามภารกิจหลักของ บสย. คือ
  • การเป็น Credit Enhancer ในการเพิ่มศักยภาพการกู้ยืมของ SMEs จากการทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันสินเชื่อ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสินเชื่อ และลดการพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ
  • การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) โดยศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) และ “โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน” ซึ่ง บสย. ทำงานร่วมกับ ธปท. ในการเป็นผู้ให้บริการคำปรึกษาแก้ไขปัญหาธุรกิจ และแนะนำบทบาทของ บสย. ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อและการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งเป็นการช่วยลดปัญหาการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันที่สูงเกือบ 90% ของ GDP ให้มีแนวโน้มชะลอตัวลง 

4. ขับเคลื่อนองค์กรด้วย 3 กลยุทธ์ใหม่ 3 - New  ได้แก่

N1: New Engine ทำการตลาดผลิตภัณฑ์แบบรายกลุ่มลูกค้า “Segmentation” หรือเป็นการนำเสนอ Product by Segment โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมลงตัว (Portfolio Mix) ระหว่างผลิตภัณฑ์ค้ำประกันเชิงพาณิชย์ของ บสย. (Commercial Product) กับผลิตภัณฑ์ค้ำประกันที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ (PGS9) ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Hybrid Products

 

นอกจากนี้จะขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่ม Supply Chain โดยเริ่มจัดทำโครงการ Sand Box ในการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่ม Supply Chain ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพันธมิตรของ บสย.

N2: New Culture สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่ บสย. จะต้อง รวดเร็ว รอบคอบ เป็นที่หนึ่งในใจ SMEs “TCG Fast & First” ซึ่งจะมีความรวดเร็วอย่าง Fintech Company และมีความรอบคอบเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน

N3: New Business Model โดยสร้าง Digital Platform ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง (Gateway) เชื่อมโยง บสย. กับสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการแต่ละ Platform แบบ O2O หรือ Online to Online Lending ให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกและมากขึ้นผ่านระบบ Online

 

 

โดยกลยุทธ์ทั้ง 3 - New จะอยู่บนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานองค์กร คือ 4Ps ได้แก่

  1. Product ที่มีการบริหารแบบ Portfolio Mix และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อแบบ Segmentation เจาะกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองลักษณะและความต้องการของ SMEs ที่ตรงจุดมากขึ้น
  2. Process ที่มีการทำงานแบบ Automation ที่สามารถสร้างการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. People คือการพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมองค์กร แบบ Fast & First เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร (Core Competency) ใหม่เพิ่มขึ้น เป็น Future Skill จากการ Upskill และ Reskill บุคลากรในองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีการเปลี่ยนผ่านของคน 3 รุ่นในองค์กรที่อยู่ร่วมกัน ได้แก่ กลุ่ม Analog กลุ่ม Computer และกลุ่ม Digital 
  4. Platform คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital Gateway ที่สามารถเชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเข้ากับระบบต่าง ๆ ที่สถาบันการเงินมีการพัฒนาและใช้ในปัจจุบัน อาทิ e-KYC e-NCB e-Statement เพื่อให้ บสย. ก้าวไปสู่การให้บริการผ่าน Digital Touchpoint ที่เป็นกุญแจไปสู่การทำธุรกรรมใหม่ ๆ ภายใต้การยอมรับของลูกค้า และได้มาตรฐานตามการบริหารจัดการ Good Governance ที่ดี ในกระแสของโลกดิจิทัลแบบยั่งยืน

       

นี่คือ แนวคิดการขับเคลื่อนองค์กร บสย. สู่ดิจิทัล แพลตฟอร์ม เพื่อเตรียมพร้อมองค์กร ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ไทยในทุกมิต ในยุคดิจิทัล