บิ๊กอินเตอร์โกลด์ แนะนักลงทุน ทองต้องลงถึงไหน? ถึงจะเรียกว่า "ขาลง”

01 ก.ค. 2564 | 15:18 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ก.ค. 2564 | 22:45 น.
603

นายคุณธีรรัฐ จุฑาวรากุล กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์โกลด์ โกลด์เทรด จำกัด วิเคราะห์ ราคาทองคำไม่ควรจะลงไปต่ำกว่า 1675 ดอลลาร์สหรัฐฯต่ออนซ์ จากการประชุม FOMC ที่ผ่านมา

นายธีรรัฐ กล่าวว่า จากการประชุมของ FOMC (Federal Open Market Committee) หรือคณะกรรมการตลาดเสรีกลางที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)บอกว่าจะมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม จากที่คิดไว้คือปี 2567 จะเลื่อนมาเป็นปี 2566 และอาจขึ้นดอกเบี้ยถึง 2 ขั้น นั่นทำให้หลายคนอาจกังวล เพราะเราเคยมีบทเรียนมาก่อนในสมัยปี 2554 ที่ทองได้ขึ้นไปทำจุดสูงสุดบริเวณ 1,920 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ แล้วหลังจากนั้นราคาทองคำก็เป็นขาลงมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เฟดประกาศลดปริมาณการทำ QE และสุดท้ายเฟดก็ขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด ซึ่งเวลาระยะเวลาการลงของทองคำในสมัยนั้นกินเวลาถึง 4 ปีด้วยกัน หากนับจากวันที่ทำจุดสูงสุด ซึ่งทำให้คนไทยเจ็บปวดเป็นเวลานาน 

นายธีรรัฐ วิเคราะห์ต่อว่า แต่หากเราเข้าใจพื้นฐานของทองคำแล้วว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ทองขึ้นหรือลง ความจริงแล้วทองคำไม่ได้มีความสัมพันธ์กับดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อด้วย อธิบายง่ายๆ คือ “ทองคำชอบเงินเฟ้อ แต่ไม่ชอบอัตราดอกเบี้ย นั่นหมายความว่าหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย แต่เงินเฟ้อขึ้นแรงกว่า แบบนี้ทองก็ยังขึ้นอยู่ดี บิ๊กอินเตอร์โกลด์ แนะนักลงทุน ทองต้องลงถึงไหน? ถึงจะเรียกว่า \"ขาลง” ครับ”

ยกตัวอย่าง หากใครจำได้ เราจะพบว่าในปี 2554-2558 ช่วงนั้นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ 1-3% ทั้ง ๆ ที่เฟดพิมพ์เงินออกมามาก นั้นเป็นเพราะช่วงนั้นเกิดการล้มละลายของธนาคารยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ทำให้เกิดหนี้สูญจำนวนมาก นั่นหมายความว่า การที่เฟดพิมพ์เงินเข้ามา ไม่ได้ทำให้เงินในระบบโตขึ้นเท่าไหร่ เพราะเงินที่เติมเข้ามาเพียงเติมส่วนของหนี้เสียจำนวนมาก ทำให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ

นายธีรรัฐกล่าวว่า เงินที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบทุกวันนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อถึงระดับ 5 - 6% ซึ่งทางเฟดเองก็ได้แต่ย้ำว่าเงินเฟ้อที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นจะมาเพียงแค่ชั่วคราว แต่อย่างไรก็ดีเฟดก็เคยคาดการณ์เกี่ยวกับเงินเฟ้อผิดมาแล้วในอดีตกับการเกิดเงินเฟ้อรุนแรงในปี 2483-2493

นายธีรรัฐ ทิ้งทายว่า เรามองว่าโอกาสที่เงินเฟ้อจะพุ่งสูงมีโอกาสเกิดได้มาก ดังนั้นแนวโน้มราคาทองคำไม่น่าจะลงไปมากอย่างที่ทุกคนกังวล ซึ่งการลง ณ วันนี้เกิดจากความไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะมาแค่ชั่วคราวจริงหรือไม่ ซึ่งหากเงินเฟ้อมาจริง กรณีที่เลวร้ายที่สุดคือทองคำไม่ควรลงไปต่ำว่า 1,675 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ เนื่องจากเป็นจุดที่ราคาเคยลงไปแตะหลังจากตลาดรับรู้ข่าวดีเรื่องการฉีดวัคซีน และข่าวดีทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งถ้าหากเกิดราคาทองลงไปต่ำกว่า 1,675ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ แปลว่าเงินเฟ้อที่กล่าวมาไม่มีอยู่จริง และนั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า “ขาลง” ของราคาทองคำโลกก็เป็นได้