ผ่า "งบประมาณปี 65" ประมาณการรายได้รายกระทรวง

20 พ.ค. 2564 | 17:33 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ค. 2564 | 18:12 น.
5.1 k

รายงานพิเศษ : ผ่า "งบประมาณปี 65" ประมาณการรายได้รายกระทรวง

ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูล งบประมาณ ปี 2565 จาก ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงบประมาณ เผยแพร่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ ของสำนักงบประมาณ https://www.bb.go.th 

ซึ่งท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยพบว่าส่งผลกระทบไปถึงรายได้ของแต่ละกระทรวง ซึ่งสำนักงบประมาณมีการ "ประมาณการรายได้" ของกระทรวงทั้งหมด 20 กระทรวง ระบุในร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2565 ที่มีทั้งกระทรวงที่ได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับงบประมาณ ปี 2564 ดังนี้

กระทรวงที่ประมาณการรายได้เพิ่มขึ้น (เรียงตามจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น) พบข้อมูล ดังนี้ 

 

กระทรวงยุติธรรม

  • เพิ่มขึ้น 1,868.8 ล้านบาท หรือ 99.5% 
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 3,747.04 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,878.24 ล้านบาท

กระทรวงมหาดไทย

  • เพิ่มขึ้น 634.86 ล้านบาท หรือ 18.92 ล้านบาท
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 3,990.35 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 3,355.49 ล้านบาท

กระทรวงแรงงาน

  • เพิ่มขึ้น 615.36 ล้านบาท หรือ 30.46%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,635.8 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,020.44 ล้านบาท

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • เพิ่มขึ้น 154.95 ล้านบาท หรือ 12.29%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ 1,415.36 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,260.41 ล้านบาท

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสร์ วิจัย และนวัตกรรม

  • เพิ่มขึ้น 130.68 ล้านบาท หรือ 12.96%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,138.83 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,008.15 ล้านบาท 

กระทรวงกลาโหม

  • เพิ่มขึ้น 126.43 ล้านบาท หรือ 19.57% 
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 772.35 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 645.92 ล้านบาท

สำนักนายกรัฐมนตรี  

  • เพิ่มขึ้น 108.94 ล้านบาท หรือ 12.22%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,000.12 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 891.18 ล้านบาท

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

  • เพิ่มขึ้น 23.38 ล้านบาท หรือ 56.57%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 64.71 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 41.33 ล้านบาท

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • เพิ่มขึ้น 44.7  ล้านบาท หรือ 5.43%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 867.66 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 822.96 ล้านบาท

กระทรวงที่ประมาณการรายได้ลดลง

กระทรวงการคลัง

  • ลดลง 213,405.44 ล้านบาท หรือ -7.51% 
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ 2,627,366.8 ล้านบาท 
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ 2,840.772.28 ล้านบาท

กระทรวงพลังงาน

  • ลดลง 14,807.62 ล้านบาท หรือ -24.05% 
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 46,768.02 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 61,575.64 ล้านบาท

กระทรวงการต่างประเทศ

  • ลดลง 6,758 ล้านบาท หรือ -96.19%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 268 ล้านบาท 
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 7,026 ล้านบาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

  • ลดลง 618.49 ล้านบาท หรือ -98.34%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 10.46 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 628.95 ล้านบาท

กระทรวงพาณิชย์

  • ลดลง 367.94 ล้านบาท หรือ -14%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,260.71 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,628.25 ล้านบาท

กระทรวงอุตสาหกรรม

  • ลดลง 274.25 ล้านบาท หรือ -11.40 ล้านบาท
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,131.94 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 2,406.19 ล้านบาท

กระทรวงศึกษาธิการ

  • ลดลง 26.62 ล้านบาท หรือ -3.98 ล้านบาท
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 642.97 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 669.59 ล้านบาท

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

  • ลดลง 24.07 ล้านบาท หรือ -50.24% 
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 23.84 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 47.91% 

กระทรวงสาธารณสุข

  • ลดลง 3.9 ล้านบาท หรือ -0.26 ล้านบาท
  • ปี 2565 ไประมาณการรายได้ จำนวน 1,495.85 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 1,499.75 ล้านบาท

กระทรวงวัฒนธรรม

  • ลดลง 2.29 ล้านบาท หรือ -7.06%
  • ปี 2565 ประมาณการรายได้ จำนวน 30.14 ล้านบาท
  • ปี 2564 ประมาณการรายได้ จำนวน 32.43 ล้านบาท

ผ่า \"งบประมาณปี 65\" ประมาณการรายได้รายกระทรวง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงสร้างงบประมาณปี 2565 มีสาระสำคัญสรุุปดังนี้้

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

  • จำนวน 3,100,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 185,962.5 ล้านบาท หรือลดลง 5.66% 
  • คิดเป็นสัดส่วน 17.87% ของผลิตภัณฑ์์มวลรวมในประเทศ

รายจ่ายประจำ

  • จำนวน 2,360,543 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 177,109.3 ล้านบาท (6.98%)
  • รายจ่่ายประจำคิดเป็นสัดส่วน 76.15% ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับ 77.23% ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง

  • จำนวน 596.7 ล้านบาท 
  • คิดเป็นสัดส่ว่น 0.02% ของวงเงินงบประมาณ

รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย

  • จำนวน 24,978.6 ล้านบาท
  • คิดเป็นสัดส่วน 0.81% ของวงเงินงบประมาณ

รายจ่ายลงทุน

  • จำนวน 624,399.9 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 24,910.3 ล้านบาท (3.84%) 
  • รายจ่ายลงทุุนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วน 20.14% ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับ 19.76% ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้

  • ได้จัดสรรไว้เป็นจำนวน 100,000 ล้านบาท 
  • เพิ่่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่่มขึ้น 1.01 
  • รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้คิดเป็นสัดส่วน 3.22% ของวงเงินงบประมาณ เทียบกับ 3.01% ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 
  • เป็นรายจ่ายลงทุุนกรณีการกู้เพื่่อการลงทุุนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10,518.2 ล้านบาท

สำหรับนโยบายงบประมาณ ปี 2565 เอกสารร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2565 ระบุว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจเพื่่อขับเคลื่่อนการพัฒนาประเทศตามยุุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิิด - 19 พ.ศ. 2564 – 2565 

แผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรููปประเทศ (ฉบับปรับปรุุง) นโยบายสำคัญของรัฐบาล ให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดผลอย่างเป็นรููปธรรม และสนับสนุุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่่อง โดยได้กำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดัังนี้้

1. ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุุล ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังและความจำเป็นของการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตวัอย่างมปีระสิทธิภาพ

2. ให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณแบบบููรณาการในทุุกมิติ ทั้้งมิติกระทรวง/หน่วยงาน มิติบููรณาการเชิงยุุทธศาสตร์ และมิติบููรณาการเชิงพื้้นที่่ให้มีความเชื่่อมโยงสอดคล้องสนับสนุุนซึ่่งกันและกันอย่่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน เพื่่อให้การขับเคลื่่อนการดำเนินงานของรัฐบาลเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรููปธรรม ส่่งผลให้การพัฒนาประเทศบรรลุุเป้าหมายตามที่่กำหนดไว้

3. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะระดับท้องถิ่นแก่ประชาชนให้มีคุุณภาพชีวิตที่่ดียิ่่งขึ้้น ลดความเหลื่่อมล้ำทางการคลังระหว่่างท้องถิ่่น รวมทั้้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้และประสิทธิผลการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น ซึ่่งสอดคล้องกับหลักการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น พ.ศ. 2542 และที่่แก้ไขเพิ่่มเติิม ที่่จะต้องให้มีการกระจายอำนาจเพิ่่มขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรููปรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่่น

4. เพิ่่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน ได้แก่ เงินงบประมาณของภาครัฐ เงินกู้การร่วมลงทุุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) การลงทุุนของรัฐวิสาหกิจ การลงทุุนโดยใช้้เงินจากกองทุุน และการลงทุุนจากต่างประเทศ รวมทั้้งให้หน่่วยรับงบประมาณที่่มีเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือ พิจารณานำเงินดังกล่าวมาใช้ดำเนินภารกิจของหน่วยงานเป็นลำดับแรก ควบคู่กับการพิจารณาทบทวนเพื่่อชะลอปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่่มีความสำคัญในระดับต่ำ หรือหมดความจำเป็น เพื่่อนำงบประมาณดังกล่าวมาสนับสนุุนนโยบายสำคัญ หรือโครงการที่่มีความสำคัญเร่งด่วนมีความพร้อมในการดำเนินการสููง 

เพื่่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ลดความเหลื่่อมล้ำทางสังคม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการขยายตัว รวมทั้้งให้ความสำคัญกับการนำผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และ 2564 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ

5. ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและความต้องการของประชาชน ทั้งในระดับชาติ ระดับพื้นที่ ภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด และท้องถิ่น รวมทั้งภารกิจ ที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ให้มีการกระจายอย่างเป็นธรรม มีความคุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน โดยยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเกิดผลสัมฤทธิ์ของประเทศ

6. ให้ความสำคัญกับสวัสดิการที่่จำเป็นสำหรับกลุ่มเปราะบางทางสังคม เพื่่อให้้มีรายได้เพีียงพอในการดำรงชีวิต และลดความเสี่่ยงจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 3,100,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.87 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพื่่อให้หน่วยรับงบประมาณมีงบประมาณรายจ่ายเพียงพอในการขับเคลื่่อนนโยบายและยุุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยมีประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 2,400,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.84 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และกำหนดวงเงินกู้เพื่่อชดเชยการขาดดุุลงบประมาณ จำนวน 700,000 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 4.04 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่่งการขาดดุุลงบประมาณจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่่ไม่ส่งผลกระทบต่อวินัยและฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว

ที่มา สำนักงบประมาณ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :