เช็กที่นี่ สินเชื่อใหม่ธนาคารรัฐ 4.7แสนล้านช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติโควิด-19

14 เม.ย. 2563 | 15:39 น.
อัปเดตล่าสุด :16 เม.ย. 2563 | 12:43 น.
12.7 k

แบงก์ชาติ เปิดแพ็กเกจสินเชื่อใหม่แบงก์รัฐ ช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤษโควิด  ครอบคลุมประชาชนทั่วไป เกษตรกร และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงินรวม 4.7 แสนล้าน

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สรุปมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และ COVID-19 เกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับลูกค้า ของสถาบันการเงินของรัฐ หรือที่เรียกกันว่าแบงก์รัฐ พบว่ามีการจัดวงเงินสินเชื่อใหม่คิดเป็นวงเงินรวม 471,000  ล้านบาท

แบ่งเป็นสินเชื่อใหม่สำหรับประชาชนทั่วไป วงเงินรวม 75,000 ล้านบาท และสินเชื่อใหม่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs  อีก 3396,000 ล้านบาท

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและประชาชนอย่างใกล้ชิด 

ธปท. ได้สั่งการให้สถาบันการเงิน และสถาบันการเงินของรัฐ (สง.) ให้ช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด19 ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับมาตรการที่สถาบันการเงินประกาศเป็นเพียงมาตรการขั้นต่ำของแต่ละแห่งเท่านั้น ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น ลดดอกเบี้ย ถ้ายังชำระค่างวดตามมาตรการใหม่ไม่ได้

นอกจากนี้ ธปท.ได้รวบรวมข้อมูลโครงการสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินของรัฐ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ซึ่งเป็นโครงการตามที่ ครม. เคยมีมติ หรือบางโครงการ สถาบันการเงินของรัฐออกเพิ่มเอง โดยหวังว่าจะช่วยเยียวยาลูกหนี้ให้สามารถผ่านพ้นสภาวะที่ยากลำบากนี้ไปได้
 

สำหรับสินเชื่อใหม่สำหรับประชาชนทั่วไปวงเงินรวม 75,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับเกษตรกรและครอบครัว ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธกส.) วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อราย 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.1 % ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน ปลอดชำระเงินงวด 6 งวดแรก อายุสัญญา 2ปี เริ่ม: 15 เม.ย-30 ธ.ค. 2563

2.สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับผู้มีอาชีพอิสระฯ ของธนาคารออมสิน กำหนดคุณสมบัติผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต้องมีอายุ 20 ปี 70 ปี รายได้ไม่เกิน 30,000บาทต่อเดือนวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อราย 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.1 % ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน ปลอดชาระเงินงวด 6งวดแรก อายุสัญญา 2ปี เริ่ม 15 เม.ย.-30 ธ.ค. 63

3.สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลระทบจากไวรัสโควิด-19 คุณสมบัติผู้กู้ อายุ  20 ปี ถึง 65 ปี ต้องไม่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อราย 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 % ต่อเดือน ต้องมีบุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกัน อายุสัญญา 3ปี เริ่ม: 15 เม.ย. 30-ธ.ค. 63

4.สินเชื่อบัตรเครดิต GSB Refinance ของธนาคารออกสิน สำหรับผู้ที่ต้องการ refinance สินเชื่อและไม่มีประวัติค้างชาระเกิน 30 วัน ผ่อนชำระดี 12เดือน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท วงเงินต่อราย 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 8.5-10.5 % ต่อปี ไม่ต้องมีหลักประกัน อายุสัญญา 4ปี เริ่ม 1 มี.ค. -30 มิ.ย. 63

เช็กที่นี่ สินเชื่อใหม่ธนาคารรัฐ 4.7แสนล้านช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติโควิด-19

สนใจสมัครสินเชื่อ คลิกเลย

ส่วนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs วงเงินรวม 396,000 ล้านบาท ครอบคลุมทั้งลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ที่จ่ายชำระทุกธนาคารได้ตามปกติหรือ ทำการปรับโครงสร้างนี้แล้วจ่ายชำระหนี้ได้ปกติ ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ค้าส่ง ค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิตอื่น โดยมีธนาคารออมสิน  ธนาคารกรุงไทย เอสเอ็มอีแบงก์ ธกส. เอ็กซิมแบงก์  บสย. เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อ ดังนี้

1.Transformation Loan เสริมแกร่ง SMEs ของธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ให้กับ SMEsในธุรกิจSupply Chain ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว อัตราดอกเบี้ย 4 % ต่อปี กู้ผ่านธนาคารออมสินวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท กู้ผ่านสถาบันการเงินอื่นอีก 5,0005 ล้านบาท เปิดบริการถึง 18 ธ.ค. 63

2.สินเชื่อประชารัฐสร้างไทย ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน และบสย.ปล่อยกู้ให้ SMEsหรือ SMEs Start up วงเงินต่อราย 10-100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปีใน 2 ปีแรก ค้ำประกันโดย บสย. วงเงินรวม 45,000 ล้านบาท

3.สินเชื่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ของธกส. สำหรับ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธกส. อัตราดอกเบี้ย 6 เดือนแรก 3 % ต่อปี หลังจากนั้น MRR/MLR วงเงินต่อรายไม่เกิน 200,000 บาท วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท

4. สินเชื่อ GSB SMEs Extra Liquidity เป็นสินเชื่อระยะยาวสำหรับ SMEs ที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง วงเงินต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ไม่ต่ากว่า MLR -1% ปลอดชำระเงินต้น 1ปี อายุสัญญา 6 ปี

โครงการนี้กำหนดให้ลูกหนี้ต้องมีกำไรในรอบ 1 ปี และมีประวัติการชำระหนี้ดีตามเงื่อนไข หรือหากเคยทำการปรับโครงสร้างหนี้แล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ได้ โดยมีบสย. และบุคคลค้ำประกัน วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท

5. สินเชื่อSoft loan สำหรับ SMEs ของธนาคารออมสินและบสย. สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 วงเงินต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2 % ต่อปี อายุสัญญา 2ปี มี บสย. ค้ำประกัน วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท กู้ผ่านธนาคารออมสินโดยตรง และอีก 45,000 ล้านบาทกู้ผ่านสถาบันการเงินอื่น

6.สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ของธนาคารออมสิน อยู่ระหว่างกำหนดเงื่อนไขวงเงิน 10,000 ล้านบาท

7. สินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต SMEs ที่นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศ ดำเนินการโดยเอ็กซิมแบงก์ และบสย. วงเงินต่อราย 100 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-2  2% ปี ปีที่ 3-5 Prime rate -2%  ปีที่ 6-7 Prime rate หลักประกันขั้นต่ำ 40% และมี บสย. ค้ำประกันร่วมได้ วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

เช็กที่นี่ สินเชื่อใหม่ธนาคารรัฐ 4.7แสนล้านช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติโควิด-19

8.สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (LEL) ระยะที่ 3 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs แปรรูปอาหาร / ท่องเที่ยว/ ผู้ประกอบการใหม่ นวัตกรรม /ธุรกิจผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง ร้านธงฟ้าประชารัฐ ดำเนินการโดยเอสเอ็มอีแบงก์ วงเงินต่อราย บุคคลไม่เกิน 2 ล้านบาท ต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนนิติบุคคล ไม่เกิน 5 ล้านบาท มี บสย. ค้าประกัน วงเงินรวม 20,000ล้านบาท

สำหรับอัตราดอกเบี้ย บุคคล ปีที่ 1-3 MLR -1.875% ปีที่ 4-7 MLR  นิติบุคคลปีที่ 1-3 MLR -3.875%ปีที่ 4 7 MLR

9.สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash โดยเอสเอ็มอีแบงก์ สำหรับ SMEs รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ประกอบธุรกิจ ทัวร์ สปา ขนส่ง โรงแรม ร้านอาหาร วงเงินต่อราย 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 3 % อายุสัญญาไม่เกิน 5ปี วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท

10 สินเชื่อ SMART SMEs ของเอสเอ็มอีแบงก์ สำหรับบุคคลธรรมดาที่จดVAT/ นิติบุคคล เพื่อขยาย ปรับปรุงกิจการ เสริมสภาพคล่อง ธุรกิจผลิต บริการ ค้าส่งค้าปลีก วงเงินต่อราย ไม่เกิน 15 ล้านบาท วงเงินรวม 2 0,000 ล้านบาท

11.สินเชื่อ SMEs D HAPPY ของเอสเอ็มอีแบงก์รวมกับบสย. บุคคลธรรมดา นิติบุคคล เพื่อเสริมสภาพคล่อง ธุรกิจผลิต บริการ ค้าส่งค้าปลีก วงเงินต่อราย บุคคล ไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคล ไม่เกิน 15 ล้านบาท วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท

12.โครงการสินเชื่อกรุงไทย SMEs อัตราดอกเบี้ย เริ่มต้น 4% มีหลักประกัน หรือ บสย. ค้าประกัน วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท

12. กรุงไทย โครงการสินเชื่อกรุงไทย SMEs ของธนาคารกรุงไทย อัตราดอกเบี้ย เริ่มต้น 4% มีหลักประกัน หรือ บสย. ค้ำประกัน วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

สินเชื่อบัญชีเดียว SMEs ทำธุรกิจมาแล้ว 2 ปี วงเงินต่อราย 3 เท่าของหลักประกัน ระยะเวลา 7 ปี

สินเชื่อรักกันยาวๆ SMEs ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ทำธุรกิจมาแล้ว 3 ปีวงเงินต่อราย 100ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี ปลอดต้น 12 เดือน

สินเชื่อจ่ายดีทวีคูณ SMEs ที่ชำระปกติ แต่มีข้อจากัดด้านหลักประกัน ทำธุรกิจมาแล้ว 3ปี วงเงินต่อราย 3 เท่าของหลักประกัน ระยะเวลา 10 ปีฃ

สินเชื่อร้านธงฟ้าประชารัฐ สำหรับร้านธงฟ้าที่รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีที่ตั้งแน่นอน ทำธุรกิจมาแล้ว 2 ปี วงเงินต่อราย 20 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี

สินเชื่อธุรกิจ EEC 4.0 และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สำหรับ SMEs ในพื้นที่ EEC ทาธุรกิจมาแล้ว 3ปี วงเงินต่อราย 20 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี

สินเชื่อธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจเกษตรแปรรูป ซึ่งทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ทำธุรกิจมาแล้ว 3 ปี วงเงินต้อราย 1.5 เท่าของหลักประกัน ระยะเวลา 10 ปี

สินเชื่อธุรกิจ 10 S-Curve ทำธุรกิจมาแล้ว 3 ปี วงเงินต่อราย 3 เท่าของหลักประกัน ระยะเวลา 10 ปี

สินเชื่อ Robotics and Automation : เพื่อลงทุนในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำธุรกิจมาแล้ว 3 ปี ปล่อยกู้ 80%ของเงินลงทุน ระยะเวลา 7 ปี

สินเชื่อธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยว และ หรือธุรกิจต่อเนื่อง ทำธุรกิจมาแล้ว 2 ปี วงเงินต่อราย 3เท่าของหลักประกัน ระยะเวลา 2 ปี

สินเชื่อเพื่อชำระภาษีกรมสรรพากร ทำธุรกิจมาแล้ว 2 ปี วงเงินต่อราย 3 เท่าของหลักประกัน ไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี

สินเชื่อสำหรับคู่ค้าภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ รับเหมาก่อสร้างจัดซื้อ จัดจ้างกับภาครัฐ สินเชื่อครบวงจร หนังสือค้ำประกัน เงินทุนหมุนเวียน

เช็กที่นี่ สินเชื่อใหม่ธนาคารรัฐ 4.7แสนล้านช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติโควิด-19

13.สินเชื่อ SMEs เกษตรกร ดำเนินการโดย ธกส.และบสย. สำหรับบุคคล / เกษตรกร / ผู้ประกอบการ (นิติบุคคล) / สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเกษตรกร ตลอดห่วงโซ่มูลค่าสินค้าเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ลงทุน refinance จากสถาบันการเงินอื่นของรัฐ  วงเงินต่อรายตั้งแต่ 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

อัตราดอกเบี้ย บุคคล : ปีที่ 1-3 อยู่ที่ 4%  ปีที่ 4 เป็นต้นไป MRR-2 ส่วนนิติบุคคลดอกเบี้ยปีที่ 1-3 อยู่ที่ 4$ ปีที่ 4 เป็นต้นไป MLR โดยผู้กู้ต้องมีหลักประกัน หรือค้ำประกันโดย บสย. วงเงินรวม 50,000ล้านบาท

14.สินเชื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการดาเนินงานของสถาบันเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์การเกษตร รวบรวม แปรรูปผลิตผลการเกษตร วงเงินต่อราย ตามเงื่อนไขที่ธนาคาร กำหนด อัตราดอกเบี้ย MLR ไม่เกิน1 % ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

นอกจากนี้ยังมีโครงการค้ำประกันที่ดำเนินการโดย บสย. อีก 5 โครงการ ประกอบด้วย 

1. โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย สำหรับ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อใหม่ และได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2561 อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ฟรี 2 ปีแรก วงเงินค้าประกันสูงสุด 30 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาค้าประกันสูงสุด 10 ปี

2.โครงการ บสย. SMEs ดีแน่นอน สำหรับ SMEs ที่ได้สินเชื่อใหม่ อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปี ฟรี 2 ปีแรก วงเงินค้าประกันสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาค้าประกันสูงสุด 10 ปี

3.โครงการค้าประกันสินเชื่อรายย่อยสร้างอาชีพ(Micro3)  สำหรับ SMEs รายย่อย ค้าขาย บริการรับจ้าง และประกอบอาชีพอิสระ อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 2 % ฟรีปีแรก วงเงินค้าประกันสูงสุด 200,000 บาทต่อราย ระยะเวลาค้าประกันสูงสุด 10 ปี สถาบันการเงิน 8 แห่ง ได้แก่ 1.ธ.ไทยเครดิต, 2 ธ.ออมสิน, 3 ธ.กรุงเทพ,4 ธ.กรุงศรีอยุธยา, 5 ธกส.,6 ธ.ทิสโก้ 7 ธ.กรุงไทย และ 8.บจก.ไฮเวย์

4.โครงการขยายเวลาค้าประกันสินเชื่อ PGS 5-PGS 7 สำหรับ SMEs รายเดิมจาก PGS5 -PGS7 ที่ครบกำหนดอายุ และได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2561 โดยบสย. ปรับหลักเกณฑ์การจ่าย Claim ให้สถาบันการเงิน โดยไม่ต้องดำเนินคดีก่อน ไม่คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกัน ในช่วงเวลาที่ขยายการค้ำประกัน ยื่นขอก่อนหนังสือค้าประกันจะหมดอายุ 3 เดือน

5.Direct guarantee เกณฑ์พิจารณาตาม บสย. วงเงินค้าประกันสูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาค้าประกันสูงสุด 10 ปี ค่าธรรมเนียมตามระดับความเสี่ยงลูกค้า

นอกจากสินเชื่อของสถาบันการเงินของรัฐแล้วยังมีสินเชื่อใหม่ตามพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา วงเงิน500,000 ล้านบาทด้วย

เช็กที่นี่ สินเชื่อใหม่ธนาคารรัฐ 4.7แสนล้านช่วยลูกหนี้ฝ่าวิกฤติโควิด-19