สรรพากรย้ำ กฎหมายอีเพย์เมนต์ ไม่หวังรีดภาษีออนไลน์

21 มี.ค. 2562 | 15:17 น.
774

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 เป็นต้นไป

               นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ฐานะโฆษกกรมสรรพากรเผยว่า กรมสรรพากรจะใช้เวลาจากนี้ 180 วัน เพื่ออกกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48 ) พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกว่า ภาษีอีเพย์เม้นต์ โดยกฎหมายดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เสียภาษี โดยไม่ต้องยื่นรายการภาษีและนำส่งภาษีให้สรรพากรในภายหลัง

               ทั้งนี้ภายใต้กฎหมายดังกล่าวจะกำหนดให้สถาบันการเงินทำหน้าที่ยื่นแบบแทนผู้เสียภาษี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีที่ผู้จ่ายเงินเลือกจ่ายเงินผ่านตัวกลาง(เช่น ธนาคาร) โดยผ็เสียภาษีไม่ต้องยื่นรายการภาษีและนำส่งภาษีให้สรรพากรในภายหลัง และอีกส่วนเป็นการนำส่งใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e- Tax invoice และ e-Tax receipt ซึ่งต่อไปจะทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เป็นการนำส่งให้กรมสรรพากรทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย

สรรพากรย้ำ กฎหมายอีเพย์เมนต์ ไม่หวังรีดภาษีออนไลน์

นอกจากนั้นส่วนที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี/ธนาคาร หรือฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง/ปี/ธนาคาร ที่มียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป  โดยกำหนดให้รายงานข้อมูลดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรครั้งแรกภายในวันที่ 31 มี.ค. 2563 ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในปี 2562  ซึ่งหากผู้มีหน้าที่รายงานไม่ปฏิบัติตาม อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจลงโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และ ปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

               นายปิ่นสายกล่าวต่อว่า สรรพากรขอย้ำว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการรองรับการทำธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามนโยบาย National e payment  เพื่อให้สรรพากรได้รับข้อมูลมากที่สุดและสามารถแยกผู้เสียภาษีที่เป็นกลุ่มดีออกจากกลุ่มเสี่ยงได้ หากเป็นผู้ที่อยู่ในฐานภาษีและเสียภาษีอย่างถูกต้อง กรมสรรพากรจะได้ให้บริการที่ดีคือคืนเงินภาษีรวดเร็ว แต่หากเป็นกลุ่มเสี่ยง กรมสรรพากรจะเข้าประกบรายคนว่า เกิดจากอะไร ที่ยังไม่เสีย เพราะไม่รู้ว่าต้องเสียจะต้องทำให้ถูกต้องแต่ถ้าต้องเสียแล้ว แต่เจตนาหลีกเลี่ยงจะได้ดำเนินอีกขั้น

“เราไม่ได้มีเจตนาว่าจะต้องไปไล่เก็บภาษีจากผู้ค้าออนไลน์ เพราะทุกคนที่มีเงินได้มีหน้าที่เสียภาษีอยู่แล้ว แต่การที่เรามีข้อมูลมากขึ้น จะทำให้เราสามารถจัดการกับกล่มผู้เสียภาษีได้ชัดเจ สรรพากรย้ำ กฎหมายอีเพย์เมนต์ ไม่หวังรีดภาษีออนไลน์ นขึ้นและสามารถแยกคนดีกับคนไม่ดีออกจากกันได้ เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี”