กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับข้อสั่งการจาก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่มีหนังสือสั่งให้ กฟผ. ระงับการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สัญญาที่ 8/1 ในวงเงินงบประมาณ 7,250 ล้านบาท
ล่าสุดนายเทพรัศน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อรายงานแนวทางการบริหารจัดการลดผลกระทบ กรณีงานจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่านที่เหมืองแม่เมาะล่าช้า โดยระบุว่า
อ้างถึง หนังสือที่ กฟผ. S141000/4497 ลงวันที่ 23 มกราคม 2568
ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการจ้างเหมาขุด-ขนดินและถ่าน ที่เหมืองแม่เมาะสัญญาที่ 8/1 โดยวิธีพิเศษ (สัญญาที่ 8/1) และ กฟผ. ได้ดำเนินการพิจารณาอุทธรณ์แล้วเสร็จ
โดยได้นำเรียนท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รอง นรม./รมว.พน.) ตามหนังสือทิอ้างถึง ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการ
ลงนามสัญญากับผู้ชนะการคัดเลือก เนื่องจากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีงานจ้างเหมาขุด - ชนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะของ กฟผ. ที่แต่งตั้งโดยรอง นรม./รมว.พน. ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จนั้น
ขอเรียนว่า กฟผ. จะพยายามบริหารการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินที่สำรองไว้ในช่วงฤดูฝนเพื่อผลิตไฟฟ้าไปพลางก่อน ปริมาณถ่านหินที่เตรียมไว้สำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะในช่วงฤดูฝนปี 2568 สามารถนำมาใช้ล่วงหน้าได้ 4 เดือน
ตั้งแต่กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2568 โดยผลกระทบต่อกำลังการผลิตของโรงโรงไฟฟ้าสรุปไต้ดังนี้
กำลังการผลิตที่ลดลง 1,400 เมกะวัตต์/วัน ต่อเนื่องไปจนกว่าจะได้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการ รวมถึงต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มเติมในการเตรียมถ่านสำรองให้มีปริมาณเพียงพออีกครั้ง (ไม่น้อยกว่า 4 เดือน)
ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ต้องคำนวณจาก LNG มาทดแทนกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะการนำเข้า LNG แบบ Spot ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กกพ. และต้องใช้เวลาในการดำเนินการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 45 วัน